-
ชื่อเรื่องภาษาไทยศึกษาแนวทางการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีบุญบั้งไฟ ตามแนวอปริหานิยธรรม
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษA Study of Guideline for the Preservation of Bang Fai Tradition according to Aparihaniyadhamma
- ผู้วิจัยพระมานะ ฐิตมโน (ยิ่งยวด)
- ที่ปรึกษา 1พระครูสิริรัตนานุวัตร, รศ. ดร.
- ที่ปรึกษา 2ดร.เจริญ มณีจักร์
- วันสำเร็จการศึกษา06/08/2024
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/51245
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 2,532
บทคัดย่อภาษาไทย
วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ศึกษา คือ (1) เพื่อศึกษาประวัติความเชื่อความเป็นมาและพิธีกรรมประเพณีบุญบั้งไฟ (2) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมในการสืบสานประเพณีบุญบั้งไฟ (๓) เพื่อวิเคราะแนวทางในการอนุรักษ์ตามหลักออปริหานิยธรรม ฯ เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ศึกษาข้อมูลชั้นปฐมภูมิ ใช้พระไตรปิฎก เอกสารชั้นทุติยภูมิ ใช้หนังสือ เอกสาร และรายงานวิจัย ใช้พื้นที่วิจัย ต.บึงกอก อ.เนินมระปราง จ.พิษณุโลก เก็บรวบรวมข้อมูลเอกสารสำคัญ ๆ สร้างแนวคิด ทฤษฎีประเพณีบั้งไฟพร้อมผลกระทบต่อสังคม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา (Description)
ผลการวิจัยพบว่า
ประเพณีบั้งไฟ เป็นความเชื่อที่ชาวอีสานยึดถือปฏิบัติกันมาตั้งแต่โบราณกาล บรรพบุรุษได้ถือสืบทอดด้วยการร่วมกันอนุรักษ์ สืบสานต่อกันมาถึงคนรุ่นหลัง ชาวอีสานมีความเชื่อเทพพญาแถน เทพเจ้าแห่งฝนด้วยการจุดบั้งไฟไปให้ถึงพญาแถนขอฝน ตามที่พญาแถนโปรดเพื่อเทพบันดาลให้ฝนตกทำเกษตรกรรม ประเพณีบั้งไฟต้องการความมีส่วนร่วมของชุมนุมทำกิจกรรม มีความสนุกสนานรื่นเริงว่า ความสามัคคีให้เกิดสุข (สุขา สงฺฆสฺส สามคฺคี) ตามแนวอปริหานิยธรรม 7 ประการและแนวทางอนุรักษ์ 5 ด้าน คือ ด้านอนุรักษ์ประเพณีโบราณ ด้านอนุรักษ์รูปแบบประเพณี ด้านอนุรักษ์กิจกรรมในงานประเพณีด้านการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และ ด้านการส่งเสริม การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ที่เชื่อมโยงกับประชาคมอาเซียน
ชุมชนในพื้นที่วิจัย ต.บึงกอก มีความเชื่อ ความนับถือ ถือเทพพญาแถนด้วยการไหว้ให้ดี พลีให้ถูกด้วยบั้งไฟ ต่อเทพพญาแถนที่โปรดบั้งไฟ เกิดมีแหล่งจริยธรรมความสามัคคีในชุมชน และได้จัดงานประเพณีบุญบั้งไฟเป็นประจำปีทุกปีในช่วงเดือนพฤษภาคมซึ่งเป็นช่วงก่อนที่จะลงมือทำนา หากหมู่บ้านใดไม่จัดบุญบั้งไฟก็อาจก่อให้เกิดภัยพิบัติ เช่น โรคภัยไข้เจ็บ หรือทุพภิกขภัยแก่ชุมชนได้ การมีส่วนร่วของชาวบ้านตำบลบึงกอก อำเภอบางระกำอย่างมากและให้ความสำคัญกับเอกลักษณ์และอัตลักษณ์ การร่วมแรงร่วมของของชาวบ้านตำบลบึงกอก อำเภอบางระกำจัดประเพณีบั้งไฟ สร้างคุณค่าทางจิตใจ สร้างความรัก ความสามัคคี อัตลักษณ์ชุมชนนำไปสู่มูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจแก่ชุมชนตำบลบึงกอก อำเภอบางระกำ ดังกล่าว
การประยุกต์ใช้แนวทางสามัคคีตามแนวอปริหานิยธรรม มีหมั่นประชุมกันเนืองนิตย์ พร้อมเพรียงกันประชุม เป็นต้น จะก่อให้เกิดความรัก มีสันติภาพ สามารถนำแนวคิดไปประยุกต์ใช้กับหน่วยงาน และองค์ต่าง ๆ เพื่อแก้ปัญหาความเข้าใจผิด ปิดช่องว่างแห่งโทษภัยในองค์กร หมู่บ้าน กลุ่มประชาชนอีกด้วย มีกระบวนการประยุกต์ใช้ 6 องค์ประกอบ คือ (1) ศึกษาข้อมูล (2) กำหนดทิศทาง/เป้าหมาย (3) สร้างระเบียบ/ข้อบังคับ (4) จิตคิดสร้างสรรค์ (5) ทดลองใช้อย่างมีประโยชน์ (6) เผยแพร่ต่อสังคม โดยสร้างโมเดลองค์ความรู้ในคำว่า “ตำนานพญาแถน, ชายแดนประเพณี, เศรษฐกิจดีบั้งไฟ, ใส่ใจวัฒนธรรม, ชุ่มฉ่ำด้วยฝนเทพ, ยาวิเศษสามัคคี”
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The entitled thesis is consisted of following objectives;- (1) To study the history, beliefs and rituals of the Bang Fai tradition, (2) To study of participation in the continuing of the Bang Fai tradition and (3) To analyze guidelines for preservation it according to Aparihãniyadhamma. This is the qualitative research of method. Its data is studied two sources;- a primary data focusing Tepiṭaka and the Secondary source focusing books, documents, research reports, journal’s titles, informations. Its area is Tambol Buengkok, Nuenmaprang district, Phitsanulok. The discovery of important source leading concept, theory about Bang Pai tradition with social impact. The analysis of data is descriptive.
The results of the research are as follows:-
The Bang Fai tradition comed from belief of Isan Thai people adhering since ancient times. Because of the ancestors have passed on this tradition throught the preservation and inheritanceto for young gerneration. The Isan people velieve in Deva Phyathaen as deva of rain through this ceremony of Bang Fai reaching deva Phyathaen as deva likes is and then deva gives rain for farming and agriculture. This tradition is required participant for activity and enjoying in the love and harmony of people all over country to pay belief and worship to Phrayathaen as the rain god. This harmony makes the people happy (Sukkhã Saṅghassa Sãmaggĩ) being followed Aparihãniyadhamma-7 and the 5 sides of conservation;- (1) the preservation of ancestor tradition, (2) the preservation of forming tradion, (3) the preservation of activity, (4) the preservation of tourism and (5) the preservation for tourist promotion conneting ASEAN.
The community of research area;- Tambol Buengkok takes faith, respect and give favourite sacrifice to the deva-Phyathan through the Bang Fai traidition becoming the source of morality as harmony of people; Buengkok, Bangrakam. The people provide the Bang Fai tradition yearly during a month of May before farming for requiring the rain from deva Phyathaen. If any village does not provide this. That may be dangerious crisis i.e. desease, starving etc. The participation of villagers in Buenng kok, Bangrakam in this tradition makes mental value, love, harmony, self identity and then leads to more economy for this community as mentioned.
It is found that the application of Aparihãniyadhamma from the Bang Fai tradition in the first two titles;- regular meeting for conversation leading solving many problems, coporating meeting etc. Not only application for love, harmony, but also for association, village, group people. In which, the 6 processes of application are; - (1) data study, (2) guidelive of desination, (3) rule, regulation, (4) mental creation, (5) testing for benefit and (6) public propagation. Its model of knowedge factor is;- the Legend of Phayathaen, the Border of High Tradition, the More Economy, Exciting Culture, To Be Juicy in the Rain of Deva, Secret Medecine of Harmony.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|