โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    วิเคราะห์ภูมิปัญญาพระพุทธศาสนากับการสร้างภูมิปัญญาสากล
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษAn Analysis Wisdom of Buddhism and the Creation Wisdom of Universal
  • ผู้วิจัยพระณรงค์ อรุโณ (โตแป้น)
  • ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.สุนทร สุขทรัพย์ทวีผล
  • ที่ปรึกษา 2พระครูพิพิธจารุธรรม, ผศ. ดร.
  • วันสำเร็จการศึกษา06/08/2024
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/51247
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 111

บทคัดย่อภาษาไทย

วิทยานิพนธ์เรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ศึกษา คือ (1) เพื่อศึกษาปัญญาในคัมภีร์พระพุทธศาสนา (2) เพื่อศึกษาวิธีการพัฒนาปัญญาในคัมภีร์พระพุทธศาสนา (๓) เพื่อวิเคราะห์ภูมิปัญญาพระพุทธศาสนากับการสร้างภูมิปัญญาสากล ศึกษาข้อมูลปฐมภูมิจากพระไตรปิฎก ข้อมูลทุติยภูมิจากเอกสาร ตำรา วารสาร รายงานวิจัยรวมถือสื่อออนไลน์ เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า

ปัญญาในคัมภีร์พระพุทธศาสนา เป็นธรรมชาติที่รู้ชัด รู้แจ้ง รู้จริง รู้ทั่ว ความรู้ที่ระเอียดลึกซึ้ง แยกแยะดีชั่ว รู้จักบาปบุญคุณโทษ รู้จักประโยชน์ที่จะเกิดขึ้น รู้จักโทษที่กระทำลงไป รู้จักเหตุรู้จักผล และวิเคราะห์ว่าสิ่งไหนควรทำสิ่งไหนไม่ควรทำ ปัญญาในระดับโลกิยปัญญา คือปัญญาที่เกิดจากการฟังและการคิด ยังมีการเวียนว่ายตายเกิดในภพต่าง ๆ ส่วนปัญญาในระดับโลกุตตรปัญญา คือปัญญาที่เกิดจากการเจริญวิปัสสนาภาวนา รู้แจ้งชัดในไตรลักษณ์ สามารถกำจัดอวิชชาความไม่รู้ให้หมดสิ้นไป หลุดพ้นจากสังสารวัฏ ไม่กลับมาเป็นทุกข์อีก ดังนั้น ปัญญาทั้งหมด เมื่อปัญญาพัฒนาดีแล้ว ย่อมรอบรู้ในกองสังขาร มองเห็นสรรพสิ่งตามความเป็นจริง

ปัญญาที่ปรากฏในในคัมภีร์พระพุทธศาสนาและคัมภีร์อื่น ๆ มีความหมายว่า เป็นธรรมชาติที่รู้ชัด รู้แจ้ง รู้จริง รู้ทั่ว ความรู้ที่ระเอียดลึกซึ้ง แยกแยะดีชั่ว รู้จักบาปบุญคุณโทษ รู้จักประโยชน์ที่จะเกิดขึ้น รู้จักโทษที่กระทำลงไป รู้จักเหตุรู้จักผล และวิเคราะห์ว่าสิ่งไหนควรทำสิ่งไหนไม่ควรทำ โดยหลัก ๆ แล้ว มี 2 ระดับ คือ ปัญญาในระดับโลกิยปัญญา คือปัญญาที่เกิดจากการฟังและการคิด ยังมีการเวียนว่ายตายเกิดในภพต่าง ๆ ส่วนปัญญาในระดับโลกุตตรปัญญา คือปัญญาที่เกิดจากการเจริญวิปัสสนาภาวนา รู้แจ้งชัดในไตรลักษณ์ สามารถกำจัดอวิชชาความไม่รู้ให้หมดสิ้นไป ในเรื่องทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ การดับทุกข์ และวิธีการดับทุกข์ ดังนั้น ปัญญาทั้งหมด เมื่อปัญญาพัฒนาดีแล้ว ย่อมรอบรู้ในกองสังขาร มองเห็นสรรพสิ่งตามความเป็นจริง

วิธีการพัฒนาปัญญาในพระพุทธศาสนาจากคัมภีร์ต่าง ๆ ต้องเริ่มที่การฝึกฝนใจให้มีความเห็นและความคิดที่ถูกต้อง ที่เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ ปัจจัยความเกิดขึ้นแห่งสัมมาทิฏฐิ คือ ปรโตโฆสะ แหล่งความรู้ภายนอกตัวเราวที่ถูกต้อง มีเหตุผล เป็นประโยชน์ และโยนิโสมนสิการ แหล่งความรู้ภายใน เป็นการใช้ความคิดถูกวิธี คือ การกระทำในใจโดยแยบคาย มองสิ่งทั้งหลายด้วยความคิดพิจารณาสืบค้นถึงต้นเค้า สาวหาเหตุผลจนตลอดสายแยกแยะออกพิเคราะห์ดูด้วยปัญญาที่คิดเป็นระเบียบและโดยอุบายวิธีให้เห็นสิ่งนั้นๆ หรือปัญหานั้นๆ ตามสภาวะและตามความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัย เกิดการพัฒนาทั้งกาย วาจา การพัฒนาปัญญานั้นมีจุดมุ่งหมายเพื่อประโยชน์สุขทั้งต่อตนเอง ต่อผู้อื่น และต่อโลกที่เราอยู่อาศัยโดยมีลักษณะของการพึ่งพาซึ่งกันและกัน การฝึกฝนจะทำ ให้มนุษย์เห็นแก่ตัวน้อยลง เห็นคุณค่าและประโยชน์ของผู้อื่นมากขึ้น ผู้ฝึกตนจะมีความระวังในเรื่องศีลไม่คิดเบียดเบียนผู้อื่นและจะเบียดเบียนโลกน้อยลง ทำให้สภาพสังคมน่าอยู่มีความปลอดภัย บุคคลมีคุณภาพชีวิตที่ดีไม่ตกเป็นทาสของวัตถุ มีความเมตตา กรุณา เอื้อเฟื้อซึ่งกันและกัน หากบุคคลนั้นพากเพียรในการฝึกฝนตนเองไปอย่างไม่หยุดหย่อนก็สามารถพัฒนาปัญญาไปจนเห็นแจ้งต่อความจริงสูงสุดในทุกสรรพสิ่งซึ่งเป้าหมายสูงสุด กล่าวคือ นิพพาน

ภูมิปัญญาสากล จะมุ่งสู่สันติภาพโลก อริยมรรคมีองค์ 8 คือพุทธสันติวิธีในการสร้างสันติภาพโลกได้แก่ (1) ความเข้าใจที่ถูกต้อง มองตามสภาพจริงของปัญหา ไร้อคติต่อกัน เป็นการเปิดกว้างให้คนที่มีทัศนคติแตกต่างกันมามีส่วนร่วมในการตัดสินใจ (2) ความคิดที่ถูกต้อง จะสร้างสังคมที่สงบสุขและมีสันติภาพทั้งบุคคลและสังคมทั้งปวง (3) การใช้การสื่อสารที่ถูกต้อง สื่อสารด้วยข้อมูลที่เป็นจริงและมีความเมตตา (4) การแสดงท่าทีที่ถูกต้อง ทีที่เปี่ยมล้นด้วยความรักและเคารพกลุ่มบุคคล และให้โอกาสแก่คนที่แตกต่างได้มีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางของความเป็นอยู่ร่วมกันอย่างมีสันติภาพ (5) การดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง เน้นการใช้ชีวิตที่สอดคล้องกับธรรมและไม่คลาดเคลื่อนไปจากธรรม ให้การดำเนินชีวิตมีคุณค่าและมีความหมายมากยิ่งขึ้น (6) การเพียรพยายามที่ถูกต้อง จะช่วยสร้างแนวร่วมที่มั่นคงและยังทำให้เกิดความเข้าใจและความร่วมมือที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาสังคมที่ยั่งยืน (7) การมีสติและรับรู้ถึงความคิดของตนเองอย่างถูกต้อง เราจะสามารถกำกับทางคิดและกระทำให้เป็นไปในทิศทางที่สร้างสรรค์และสันติสุขขึ้น (๘) ความมุ่งมั่นในหนทางที่ถูกต้อง เป็นส่วนสำคัญของสันติวิธีทางศาสนาที่มุ่งหวังให้เกิดความสันติและควรเปิดใจต่อความหลากหลายและพร้อมรับฟังเพื่อหาทางออกที่เป็นที่พึงพอใจทั้งฝ่ายตนเองและคู่กรณี มีโมเดลองค์ความรู้ว่า “พระพุทธศาสนาสร้างสันติภาพภายนอก ภายในตัวเรา”

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

The entitled thesis is consisted of following objectives;- (1) to study of wisdom in the Buddhist scriptures, (2) to study of the methods for intellectual development and (3) to analysis of Buddhist wisdom and the creation of universal wisdom. It is studied the primary source from Tipiṭaka and the secondary source from a text, journal, research report including medias. this is documentary research and its analysis is descriptive. 

The results of the research are as follows:-

The word of Wisdom in Buddhism appeared in Tipiṭaka and other scritures means clear, true, insightful knowledge including detail, deep knowledge. The wisdom distinguishes good and evil, sin and merit, benefit, non-benefit. The wisdom Knows the effect of punishment you've done. The wisdom Knows reason, result and analyzes what should be done and what should not be done. Mainly, the 2 levels of wisdom are Lokiyapññã, it is Wisdom arised from listening, thinking. It is yet rebirth in any existencein. Another one, Lokuttarapaññã, it is the wisdom over senses arised from insight development. It is realized in the Three Characteristics being able to eradicate ignorance or the lack of essential knowledge concerning knowledge of suffering, of the cause of suffering, of the cessation of suffering, - of the path leading to the cessation of suffering. Therefore, all of wisdom are developed as well. It knows clear all thing and sees them as they really are.

The developing method of wisdom in Buddhism from scriptures begins to train thought for right opinion called Right View (Sammãḍiṭṭhi) seeing the Four Noble Truths, Actions and results of them. The arising factors of Right View (Sammãḍiṭṭhi) is outer factors (Paratoghosa) as the outer source of knowledge being right, reasonable, benefit and non benefit. Another one, inner factors (yonisomanasikãra) as the inner source of knowledge. It is reasoned attention, systematic attention, analytical thinking, critical reflection, thinking in terms of specific conditionality, thinking by way of causal relations or by way of problem-solving which is the factor belonging to the category of insight or wisdom. It leads to 3 doors of life; a body, speech, mind. The development of wisdom is aimed at the benefit of oneself and others and the world where we live togheter. The practice will make humans be less selfish, appreciative others more. Practitioners will be careful about the precepts, will not think of encroaching on others, and will encroach on the world less. It makes good social conditions for living. A person has a good quality of life, is not enslaved to objects. Be kind, generous to each other. At the same time, if a person perseveres in self-training continuously, he can develop wisdom until he lightens in the highest truth in all things leading to the highest goal namely;- nippãna.

The universal wisdom towards the world peace. The Buddhist theory is the Noble Eightfold Path for creating the world peace, i.e. – (1) Right View, it creats correct understanding in suchness without bias. To open the door for people with different viewpoints to participate in decision making, (2) Rith Thought, it helps to create a peaceful society with peace for both individuals and society as a whole, (3) Right Speech, it is correct communication. It is communication with truthful information and kindness, (4) Right Action, it shows the correct work with emphasis and respect group people. This provides opportunities for people with differences to participate in determining the direction of living together in peace, (5) Rith Livelihood, it focuses life living with the Dhamma and does not deviate from it. To make life more valuable and meaningful, (6) Right Effort, it is correct effort ot build a stable coalition and also creates more effective understanding and cooperation in solving problems and developing a sustainable society, (7) Right Mindfulness, it is mindful and being aware of your own thoughts correctly. This will be able to direct our thoughts and actions in a more creative and peaceful direction and (8) Right Concentration, it commitments to the right path. It is an important part of religious peace aiming for the world peace and open diversity being ready to listen in order to find a solution that is satisfactory to both one's side and the other party. Its model of knowledge factor is ‘the Peace Built by the Outer and Inner Side of Oneself”.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ