โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    กุศโลบายสร้างความสุขตามหลักพระพุทธศาสนาเถรวาท
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษAn Stratgic of Happy Creation in Theravada Buddhism
  • ผู้วิจัยพระใบฎีกาธนกฤต ธนลาโภ (กลมพุก)
  • ที่ปรึกษา 1พระครูพิพิธจารุธรรม, ผศ. ดร.
  • ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.สุนทร สุขทรัพย์ทวีผล
  • วันสำเร็จการศึกษา06/08/2024
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/51252
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 184

บทคัดย่อภาษาไทย

วิทยานิพนธ์เรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ศึกษา คือ (1) เพื่อศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับกุศโลบายความสุขตามหลักพระพุทธศาสนาเถรวาท (2) เพื่อศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับความสุขตามหลักพระพุทธศาสนาเถรวาท (3) เพื่อวิเคราะห์กุศโลบายสร้างความสุขตามหลักพระพุทธศาสนาในสังคมไทย ศึกษาข้อมูลปฐมภูมิจากพระไตรปิฎก ทุติยภูมิจากเอกสาร ตำรา รายงานวิจัย วารสาร รวมถึงสื่อออนไลน์ เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า

กุศโลบาย ความเป็นผู้ฉลาดในอุบายสร้างความสุขด้วยปัญญาตามแนวพระพุทธศาสนา แยกเป็น 2 ระดับ คือ (1) ความสุขของชาวบ้านหรือระดับโลกิยสุข (๒) ระดับพระอริยบุคคลหรือระดับโลกุตตรสุข แยกเป็น 2 ประเภท (1). สามิสสุข สุขอิงอามิส สุขอาศัยเหยื่อล่อ สุขจากวัตถุคือกามคุณ เกิดจากการได้สิ่งของ ได้กิน ได้ใช้ ได้ลาภ ได้ยศ (2).นิรามิสสุข สุขไม่อิงอามิส สุขไม่ต้องอาศัยเหยื่อล่อ สุขปลอดโปร่งเพราะใจสงบ หรือได้รู้แจ้งตามเป็นจริง เกิดจากการได้ศึกษาธรรม ได้รู้ธรรม ได้พบเห็นสิ่งอันเป็นมงคล เห็นความดี ความงาม จากการได้อิสรภาพ ปราศจากการถูกครอบงำ การสละได้จากความไม่ยึดติดในตัวตนและวัตถุ ได้เข้าใจความไม่เที่ยงแท้ของชีวิตและโลก มีสุข 3 ระดับ คือ (1) กามสุข ความสุขที่ยังเจือด้วยกามคุณ, (2) ฌานสุข ความสุขอย่างกลางเป็นโลกียสุขก็ได้ เป็นโลกุตตรสุขก็ได้ และ (3) นิพพานสุข สุขอย่างละเอียด สำหรับตัดรากสังสารวัฏ วงจรแห่งทุกข์ได้ วิธีปฏิบัติเพื่อให้เข้าถึงความสุขทั้ง 3 ระดับนั้น พึงปฏิบัติในศีล เจริญสมาธิ อบรมปัญญา กระจายไปใช้ให้ครอบคลุม 4 ด้าน คือ ด้านกาย ด้านจิต ด้านสัมคม และด้านปัญญา หรือแยกเป็นสุขของชาวบ้านอันเกิดจากการมีทรัพย์ การใช้ทรัพย์ การไม่เป็นหนี้สิน การไม่มีโทษฐานคดี ส่วนสุขของนักบวชอันเกิดจากการศึกษาปฏิบัติธรรมมุ่งสู่นิพพาน

แนวคิดเกี่ยวกับความสุขตามหลักพระพุทธศาสนา คือ ความไม่มีโรคเป็นลาภอันสูงสุด (อาโรคฺยปรมา ลาภา) ระดับสูงสุดคือการเข้าถึงนิพพาน ดังคำว่า  “นิพพานํ ปรมํ สุขํ” อันเกิดจากการสิ้นกิเลส หักกรรมแห่งสังสารวัฏ ไม่กลับมาเป็นทุกข์อีกดังพระอรหันต์ทั้งหลาย ในส่วนความสุขสำหรับชาวบ้านทั่วไปนั้น จัดเป็นความสุขระดับโลกีย์หรือความสุขของชาวบ้านมีกันเกิดจากการความรัก ความสามัคคี ดังคำว่า สุขา สงฺฆสฺส สามคฺคี สิ่งมีชีวิตทุกชนิดปรารถนาความสุขทั้งนั้น การรักษาศีล ย่อมได้ความสุข 3 ประการ คือ  (4) ได้ความสรรเสริญ (3) ได้โภคสมบัติ (3) หลังตายแล้ว ไปสู่สุคติ โลกสวรรค์ ความสุขที่ได้ทัศนานุตริยพุทธศาสนสถาน 4 ตำบล ที่ประสูติ ที่ตรัสรู้ ที่แสดงปฐมเทศนา และที่ดับขันธปรินิพพาน ได้อานิสงส์ทั้งในโลกนี้และโลกหน้าในคำว่า “กุลบุตรใดไปนมัสการสังเวชนียสถาน 4 ตำบลด้วยศรัทธา เขาผู้นั้น เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์” อาการของผู้มีความสุขย่อมบันเทิงในโลกนี้ บันเทิงในโลกหน้าและบันเทิงในโลกทั้งสอง เมื่อจัดองค์รวมความสุขแล้วย่อมได้ สุขกาย สุขใจ สุขทางสังคม และสุขที่ได้ปัญญา

การประยุกต์กุศโลบายสร้างความสุขตามหลักพระพุทธศาสนา ระดับชาวบ้านสร้างได้ด้วยการทำกิจกรรมร่วมกันตามแนวอปริหานิยธรรม อันเป็นธรรมไม่เสื่อม มีแต่ความเจริญฝ่ายเดียว เช่น ในชุมชนจัดงานประเพณีปักธงชัย ทุกคนจะมีจิตสำนึกให้ความร่วมมือด้วยการ (1) หมั่นประชุมกันเนืองนิตย์, (2 พร้อมเพรียงกันประชุม พร้อมเพรียงกันเลิกประชุม พร้อมเพรียงกันทำกิจที่พึงทำ, (3) ไม่บัญญัติสิ่งที่มิได้บัญญัติไว้, (4) เคารพนับถือผู้ใหญ่ เห็นถ้อยคำของท่านว่าเป็นสิ่งอันควรรับฟัง, (5) ไม่ข่มเหงหรือฉุดคร่าขืนใจกุลสตรี, (6) เคารพสักการะบูชาเจดีย์ อนุสาวรีย์บรรพบุรุษ และ (7) จัดให้ความอารักขา คุ้มครอง ป้องกัน อันชอบธรรม แก่พระอรหันต์ทั้งหลาย ถือว่าการทำกิจกรรมร่วมกันนั้นเป็นกีฬา คือ ยาวิเศษ สามารถแก้กองกิเลสแห่งทิฏฐิมานะให้เป็นคน ความสุขอันเกิดจากการทำหน้าทางสังคมด้วยทิศ 6 คือ เคารพพ่อแม่ อาจารย์ อนุเคราห์บุตรภรรยา มิตรสหาย คนงาน เข้าฟังธรรมดับสมณพราหมณ์ มีโมเดลองค์ความรู้ว่า ‘โอบอ้อมอารี วจีไพเราะ สงเคราะห์ปวงชน วางตนพอดี’  

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

The entitled thesis is consisted of following objectives;- (1) to study of concept concerning stragety of happy creation, (2) to study of concept concerning happiness in Buddhism and (3) to analyze the stragety of happy creaction in Buddhism for Thai society. It is studied the primary source from Tipiṭaka and the secondary source from a text, journal, research report including medias. This is documentary research. Its analysis of data is descriptive.

The results of the research are as follows:-

The stragety is cleverness towards technics created by wisdom in Buddhism. It is divided 3 levels;- i.e. (1) happiness for common people or called Lokiyasukkha, (2) happiness for a noble man or Lokuttarasukkha. It is divided 2 kinds;- i.e. (1) Sãmissukkha, sensual happiness with things, it depends on seductions, it arises from sensual thing, from getting any thing, from eating, from using, from what is received, from some rank, (2) Nirãmissukkha, happiness independent of material things or sensual desires, spiritual happiness. this happiness does not depend on any thing, not seductions, that is transaparency of peaceful mind or from realization of truth, from study of Dhamma, from knowledge of Dhamma, from seeing blessing one, from seeing good, beauty, from being freedom without covering, from being free from non-attachment in oneself and any thing, from understanding impermanence of life and the world. There are 3 levels;- i.e. (1) Kãmasukkha, the happiness is mixed by sensual things, (2) Jhãnasukkha, it is middle happiness, ii may be Lokĩsukkha or Lokuttarasukkha and (3) Nippãnasukkha, it is sensibility for eradication of rebirth as the cycle of suffering. The 3 ways of treatment for approach of happiness are the treatment in Sila, Meditation, Wisdom. These should be applied to cover 4 sides of life, i.e. body, mind, society and wisdom. In which, it is dided the happiness of common people coming from to have prosperity, to chare it, not to be indepth and inlawful. The happiness of monk comes from Dhamma treatment towards Nippãna.

The concept concerning happiness of Buddhism is “to free from desease is the highest lucky”. The highest level is Nippãna in the word of “Nippãna is the highest happiness” this comes from disdefilement, from the eradication of rebirth, not to eturn to suffering again as noble men. For happiness of common people is sensual happiness coming from love, harmony in the word of ‘harmony of team makes happiness’. Sila treatment will be got 3 levels of happiness, - i.e. (1) to receive praise, (2) to get property and (3) after death, he goes to happy area, heaven. These are happiness from blessing sight in 4 Buddhist areas;- i.e. the place of brith, of Enlightenment, of the first sermon and place of death. Anly one goes to the 4 ones, after death,. they go to happy area, heaven. These are happiness in this world and next world. The state of happiness for any one enjoys in this world and next or the both. In which, holistic happiness is the happiness of boy, mind, society and wisdom.

    The application of stragety of happy creation in Buddhism, for common people created by activity together according to Aparihãniyadhamma, things leading never to decline but only to prosperity; conditions of welfare as republic as such the community of people provides the festival of Pakthongchai (Arising of Flag). Every one has conscious to participate in this Dhamma;- i.e. (1) (to hold regular and frequent meetings, (2) to meet together in harmony, disperse in harmony, and do their business and duties in harmony, (3) to introduce no revolutionary ordinance, or break up no established ordinance, but to abide by the original or fundamental Vajjĩdhamma norm and principles, (4) to honor and respect the elders among the vajjĩdhamma and deem them worthy of listening to, (5) the women and girls of the families are to dwell without being forced or abducted, (6) to honor and worship the Vajjian shrines, monuments and objects of worship, both central and provincial, and do not neglect those righteous ceremonies held before for them and (7) to provide the rightful protection, shelter and support for the Arahants and wish that the Arahants who have not come may enter the realm and those who have entered may dwell pleasantly therein. The activity is regarded as sport as divine medicine to be able to eradicate defilements as  conceit or dogma towards a full man. The happiness comes from social duty as 6 directions;- i.e. to pay respect for parent, lecture, welfare to a child, a wife, friend, worker and to meet a monk for Dhamma listening. Its model of knowledge factor is ‘Helpfulness, Nice Speech, People Welfare and Self Moderation’.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ