-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการพัฒนากิจกรรมส่งเสริมการรักษาศีล ๕ ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา โรงเรียนวัดประชุมราษฎร์ อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษA Development of Activities Supporting the Observation of Five Precepts of Elementary School Students, Wat Prachum Rat School, Lam Luk Ka District, Pathum Thani Province
- ผู้วิจัยนายพินิตย์ พิมพาเรือ
- ที่ปรึกษา 1พระมหาทวี มหาปญฺโญ, ผศ. ดร.
- ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.สมคิด เศษวงศ์
- วันสำเร็จการศึกษา22/08/2024
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
- ระดับปริญญาปริญญาเอก
- สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/51257
- ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 24
บทคัดย่อภาษาไทย
ดุษฎีนิพนธ์เรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและพฤติกรรมการรักษาศีล 5 ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา โรงเรียนวัดประชุมราษฎร์ 2) เพื่อพัฒนากิจกรรมส่งเสริมการรักษาศีล 5 ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา โรงเรียนวัดประชุมราษฎร์ และ 3) เพื่อนำเสนอและประเมินผลกิจกรรมส่งเสริมการรักษาศีล 5 ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา โรงเรียนวัดประชุมราษฎร์ อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี เป็นงานวิจัยแบบผสานวิธี คือ การวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ ขนาดกลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ผู้บริหาร ครู ผู้ปกครอง ผู้ทรงคุณวุฒิด้านพระพุทธศาสนาและด้านหลักสูตรการสอน จำนวน 79 รูป/คน และกำหนดขนาดกลุ่มเป้าหมายแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม แบบสังเกตพฤติกรรมและแบบประเมินก่อน ระหว่าง-หลังทำกิจกรรม สถิติที่ใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการสรุปผลแบบวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
สภาพปัญหาและพฤติกรรมการรักษาศีล 5 ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา โรงเรียนวัดประชุมราษฎร์ ด้านสภาพปัญหา ได้แก่ สถานศึกษายังไม่มีนโยบายนำกิจกรรมเสริมหลักสูตรมาใช้ประกอบแผนการจัดการเรียนรู้ 8 สาระ โรงเรียนอยู่ในสังกัดพื้นที่การศึกษาเขต 2 ตามหลักสูตรแกนกลางพื้นฐานการศึกษาในระดับท้องถิ่น และนักเรียนมีพฤติกรรมการรักษาศีล 5 คือ ศีลพร่อง ศีลด่างพร้อย ศีลขาด
ผลการพัฒนากิจกรรมส่งเสริมการรักษาศีล 5 ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา โรงเรียนวัดประชุมราษฎร์ แบ่งเป็น 4 ด้าน ได้แก่ กระบวนการพัฒนากิจกรรมใช้รูปแบบกิจกรรมส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ ขั้นตอนการพัฒนากิจกรรม อิงหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานในรูปแบบกิจกรรมเสริมหลักสูตร บูรณาการกับการจัดการเรียนรู้เชิงพุทธปัญญา ตามหลักไตรสิกขา หลักโยนิโสมนสิการภายใต้วิธีคิดแบบอริยสัจ 4 และครูผู้สอนเป็นกัลยาณมิตร กิจกรรมช่วยให้เกิดการเรียนรู้ทางเดินสายกลาง การออกแบบกิจกรรมเป็นแบบ Backward Design โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน กิจกรรมเชิงประสบการณ์ และกิจกรรมจากปัญหาเป็นฐาน มีการประเมินผลกิจกรรมตามแผนการจัดการเรียนรู้
ผลการนำเสนอและประเมินผลกิจกรรมส่งเสริมการรักษาศีล 5 การนำกิจกรรมเสริมหลักสูตรไปพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียน ๗ หน่วยการเรียนรู้ ด้วย FISHBONE LEARNING MODELจำนวน 4 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมการเลี้ยงปลา กิจกรรมการใช้สื่อเรียนรู้ กิจกรรมใบงาน กิจกรรมสมุดบันทึกการรักษาศีล ส่วนการประเมินผลกิจกรรม มีการประเมินผลความรู้พุทธิพิสัย ด้านทักษะกระบวนการ/ทักษะพิสัย คุณธรรม จริยธรรม และค่านิยม จิตพิสัยก่อนทำกิจกรรม ระหว่างทำกิจกรรม และหลังทำกิจกรรม ประสิทธิผลของกิจกรรมช่วยลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ไม่ให้เกิดความเบื่อหน่าย พัฒนาความฉลาดทางปัญญา (IQ) ทางอารมณ์ (EQ) และสร้างความฉลาดในการปรับตัว (AQ) กิจกรรมนี้ส่งเสริมการรักษาศีล 5 ของนักเรียนได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
In this dissertation, three objectives were purposely made: 1) to study the states of problem and behaviours concerning the observation of five precepts of Elementary school students, Wat Prachum Rat School, 2) to develop the activities supporting the observation of five precepts of Elementary school students, Wat Prachum Rat School, and 3) to propose and evaluate the results of activities supporting the observation of five precepts of Elementary school students, Wat Prachum Rat School, Lam Lukka District, Pathum Thani Province. This research employed the mixed method research methodology, the quantitative and qualitative research where the Elementary school students of level 4-6, administrators, teachers, guardians, Buddhist scholars and expertise in the curriculum were selected to be the target group which were 79 in numbers. The purposive sampling was chosen and the research tools were of interview forms and questionaries including observative forms of behaviours, the forms of pre-test, in-between-test and post-test were also used. The statistics used was of Percentage, Average, Standard Deviation and then the content analysis was made accordingly.
The research results considerably showed that:
1) In the states of problem and behaviours concerning the observation of five precepts of the Elementary school students, Wat Prachum Rat School, it showed that viewed from the states of problem, the educational institution does not have any policy in introducing the activities supporting the curriculum for managing the plan of learning as the school attaches to the Educational Service Area 2 in accordance with the Regional Basic Education Core Curriculum and students’ behaviours in the observation of five precepts indicated the imperfection of the required precepts with imperfect, blemish and violative aspects.
2) The results gained from the development of activities supporting the observation of five precepts of the Elementary school students, Wat Prachum Rat were classified into four aspects as follows: the process of the development of activities utilized one that supported the process of learning, the step of the development of activities attached to the Basic Education Core Curriculum where the form of activities was assigned to support the Curriculum which was integrated with the Buddhist wisdom management of learning accorded with the principles of Threefold training, Yonisomanasikãra running under the thinking method of Four Noble Truths and the teachers being regarded as the good friendship where the given activities lead to the realization of Middle Path. In this, the activities used the Backward Design by which they were made as the foundation of the experiencing activities and then the evaluation of its results were done in accordance with the plan for learning management.
3) When it comes to the results gained from the proposed and evaluated activities supporting the observation of five precepts, Fishbone Learning Model of seven kinds of subject becomes applicable through Fishbone Learning Model whereby the four numbers of activity were used; feeding fish, using media for learning, work sheet, notebook on the observation of precepts. As regards the evaluation of results gained from the assigned activities, the Cognitive domain, skills on the process/Psychomotor domain, morality, ethics, and value, and Affective domain were evaluated before initiating any activities, in-between activities and post-activities respectively. The effectiveness obtained from those activities helped students a lot where reduction of time to learning but understanding was added without bringing about sense of boring. Moreover, the intelligent quotient (IQ), emotional quotient (EQ) and adversity quotient (AQ) were also gradually developed. Suffice to say that such activities support the students’ observation of five precepts in the steady and sustainable manners accordingly.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|