-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 เพื่อส่งเสริมสุขภาวะของชุมชน ตำบลบ้านเดื่อ อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษAn Application of the Principles of Sanghavatthu 4 for Enhancing the Health of Community in Ban Dau Subdistrict, Maung District, Nongkhai Province
- ผู้วิจัยพระครูสัทธาธรรมาภิรม ปสนฺโน (แซ่ตั้ง)
- ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.บุญส่ง สินธุ์นอก
- ที่ปรึกษา 2พระมหาไพฑูรย์ สิริธมฺโม, ดร.
- วันสำเร็จการศึกษา13/08/2024
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/51271
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 303
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ (1) เพื่อศึกษาหลักสังคหวัตถุ 4 ในพระพุทธศาสนา (2) เพื่อศึกษาสภาพการส่งเสริมสุขภาวะของชุมชนตำบลบ้านเดื่อ อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย และ(3) เพื่อการประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 เพื่อส่งเสริมสุขภาวะของชุมชน ตำบลบ้านเดื่อ อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพโดยการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 25 คน/รูป วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ข้อเสนอข้อมูลเชิงพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า
หลักสังคหวัตถุ 4 ในพระพุทธศาสนา ประกอบด้วย 1. ทาน การให้ การเสียสละ การแบ่งปันเพื่อประโยชน์แก่คนอื่น ช่วยปลูกฝังให้เป็นคนที่ไม่เห็นแก่ตัว แบ่งปันกัน 2. ปิยวาจา การพูดจาด้วยถ้อยคำไพเราะอ่อนหวาน จริงใจ ไม่พูดหยาบคายก้าวร้าว พูดในสิ่งที่เป็นประโยชน์ เหมาะกับกาลเทศะ พูดดีต่อกัน 3. อัตถจริยา ช่วยเหลือกัน และ 4. สมานัตตตา คือ การปฏิบัติตนเสมอต้นเสมอปลาย การทำตัวให้เข้ากันได้ เป็นเพื่อนร่วมทุกข์ร่วมสุขกัน ไม่เอาเปรียบ ร่วมเผชิญ และแก้ปัญหาเพื่อประโยชน์สุขร่วมกัน จากการสัมภาษณ์ประชาชนในพื้นที่พบว่า ประชาชนส่วนมากไม่ค่อยเข้าใจในข้อหลักของธรรมะในแต่ละข้อของสังคหวัตถุ 4 แต่การทำของประชาชนซึ่งจากการวิเคราะห์แล้วมีความสอดคล้องกับหลักสังคหวัตถุทุกข้อ
สภาพการส่งเสริมสุขภาวะของชุมชนตำบลบ้านเดื่อ อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย เป็นการจัดการปัญหาของชุมชน ในแต่ละด้าน ดังนี้ (1) ด้านกายภาพ 1. สภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและสะอาด 2. การสร้างและบำรุงรักษาสิ่งอำนวยความสะดวกด้านสุขภาพ 3. การส่งเสริมการออกกำลังกายและกิจกรรมทางกาย 4. การจัดการอาหารและโภชนาการ 5. การจัดการโรคและการป้องกันโรค 6. การส่งเสริมสุขภาพจิตและการสนับสนุนทางสังคม (2) ด้านศีล 1. การเคารพสิทธิและความเท่าเทียม 2. การให้ข้อมูลและการตัดสินใจด้วยความสมัครใจ 3. การปฏิบัติที่ถูกต้องตามหลักจริยธรรม 4. การสนับสนุนและส่งเสริมสุขภาพจิต 5. การส่งเสริมความซื่อสัตย์และความรับผิดชอบ 6.การส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรมในชุมชน 7. การป้องกันและลดความรุนแรง (3) ด้านจิต 1. การสนับสนุนสุขภาพจิต 2. การสร้างความเชื่อมั่นและความหวัง 3. การส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ดีในชุมชน 4. การจัดการความเครียดและความวิตกกังวล 5. การส่งเสริมการดูแลตนเองทางจิตใจ 6. การให้การสนับสนุนในเวลาวิกฤติ 7. การส่งเสริมการพัฒนาทางจิตวิญญาณ (4) ด้านปัญญา 1. การให้การศึกษาและการสร้างความรู้ 2. การสนับสนุนการคิดวิเคราะห์และการตัดสินใจ 3. การใช้เทคโนโลยีและข้อมูลในการจัดการสุขภาพ 4. การวิจัยและการพัฒนาความรู้ใหม่ 5. การสร้างแนวทางและนโยบายด้านสุขภาพที่มีประสิทธิภาพ 6. การเสริมสร้างศักยภาพในการเรียนรู้ตลอดชีวิต 7. การประยุกต์ใช้ปัญญาในการแก้ไขปัญหาสุขภาพ
การประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 เพื่อส่งเสริมสุขภาวะของชุมชน ตำบลบ้านเดื่อ อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย ประกอบด้วย (1) ทาน 1. การบริจาคอาหารและสิ่งของ 2. การให้ความรู้และการศึกษาเกี่ยวกับสุขภาพ 3. การให้บริการทางการแพทย์ฟรีหรือในราคาที่เข้าถึงได้ 4. การสร้างพื้นที่และสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับการออกกำลังกาย 5. การส่งเสริมสุขภาพจิตและการสนับสนุนทางจิตใจ 6. การส่งเสริมการใช้ชีวิตอย่างมีสุขภาพดี 7. การสนับสนุนการดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วย (2) ปิยวาจา 1. การให้คำแนะนำเชิงสุขภาพ คือ ปิยวาจาสามารถใช้เพื่อแนะนำแนวทางการดูแลสุขภาพที่ดี 2. การสร้างการตระหนัก คือ การใช้ปิยวาจาเพื่อเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี 3. การสนับสนุนกิจกรรมสุขภาพ คือ การใช้ปิยวาจาเพื่อสนับสนุนและสร้างกิจกรรมที่ส่งเสริมสุขภาพ (3) อัตถจริยา เพื่อการส่งเสริมสุขภาพเน้นไปที่การกระทำที่เป็นไปตามค่านิยมหรือหลักการที่ถือว่าเป็นที่ยอมรับในสังคมเพื่อสุขภาพที่ดีของบุคคลหรือชุมชน นี่เป็นตัวอย่างบางประการดังนี้ 1. ความซื่อสัตย์ 2. ความเท่าเทียม 3. ความเป็นธรรม 4. ความเอื้อเฟื้อ 5. ความเสมอภาค (4) สมานัตตตา เพื่อการส่งเสริมสุขภาวะ คือทำตนเสมอต้นเสมอปลาย ปฏิบัติสม่ำเสมอกันในชน ทั้งหลาย และเสมอในสุขทุกข์โดยร่วมรับรู้ร่วมแก้ไข ตลอดถึงวางตนเหมาะแก่ฐานะ ภาวะ บุคคล เหตุการณ์และสิ่งแวดล้อม ถูกต้องตามธรรมในแต่ละกรณี การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าที่ของรัฐได้มีการปฏิบัติสม่ำเสมอ
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The purposes of this research are; (1) to study the principles of Sangahavatthu 4 in Buddhism (2) to study the state of enhancing the health of the community in Ban Dau Subdistrict, Muang District, Nongkhai Province and (3) to apply the principles of Sangahavatthu 4 for enhancing the health of the community in Ban Dau Subdistrict, Muang District, Nongkhai Province. The qualitative methodology is applied by studying the documents and related researches including the in depth of interviews from the 25 key informants and analyze the data by using descriptive analysis.
The results of the research are found as follows The principles of Sangahavatthu 4 consist of 1 ) Dana means giving, charity and charity for the benefit of others by cultivating the selflessness 2 ) Piyavaca is to speak in the polite words, sweet words, sincerity, not to speak bad words, speak in useful words, suitable for time and space 3) Atthacariya is to assist each other and 4) Samanatata is to practice in equal treatment, adjust themselves for each other, participation in happiness and suffering, not to take advantage of each other, to face and solve the problems for the benefits together. From interviewing people in location, it is found that majority of people do not understand the Dhamma principles in each item of Sangahavatthu 4 but from their performance from the analysis, it is agreeable with every item of Sangahavatthu.
The state of enhancing the community health in Ban Dau Subdistrict, Maung District, Nongkhai Province is the management of community in each aspect, that is, 1) the physical aspect: (1) the state of environment with safety and clean (2) to build and maintain facilities in the health aspect (3) to enhance the physical exercise and physical activities (4) to manage food and nutrition (5) to manage the disease and disease protection (6) to enhance the spiritual health and the social support 2) the aspect of precept: (1) to respect the right and equality (2) to give data and to make decision with real heart (3) to practice in the right way in accordance with morality (4) to support and enhance the spiritual health (5) to enhance the honest and responsibility (6) to enhance the virtue and morality in community (7) to protect and decrease violence 3) the spiritual aspect: (1) to support the spiritual health (2) to create the belief and hope (3) to enhance good relationship in community (4) to destroy the strain and anxiety (5) to support to take care of oneself in the aspect of mentality (6) to enhance in the time of emergency (7) to enhance to develop the soul. 4) in the aspect of wisdom, (1) to give education and create the knowledge (2) to enhance the analytical thought and decision (3) to apply technology and data in the management of the physical health (4) the research and development of new knowledge (5) to build up the guideline and policy in the aspect of an effective health (6) to create the potentiality in learning for the long run.
The application of Sangahavatthu 4 for enhancing the health state of community in Ban Dau Subdistrict, Maung District, Nongkhai province consists of 1) Dana: (1) to donate food and properties (2) to give knowledge and education about the health (3) to give service in the medicinal way or in the appropriate price (4) to create the places and facilities for physical exercise (5) to enhance the spiritual health and the spiritual support (6) to support spending life with good health (7) to support to take care of the aging and patients 2) Piyavaca (1) to give health advices, that is, Piyavaca can be applied for advising the guideline in the way of taking care of good health (2) to create the realization, that is, to disseminate the data related to the health and good living (3) to support the health activities, that is, to apply Piyavaca for enhancing and creating the activities to enhance the health 3) Atthacariya for enhancing the health by focusing on action in accordance with virtue or the principles as accepted in society for good health for individual or community . These are some examples as follows: 1) the honest 2) the equality 3) the justice 4) generosity 5) the equality 4) Samanattata: to enhance the health state, that is, to practice in even and equal treatment and treatment in equality in the community and equal in happiness and suffering by participating to solve through out putting oneself appropriate in status, state, person, events, and environment in the right way in each case. The practice of the state officials always has been done rightly.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|