โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การเจริญสติที่มีผลต่อการตระหนักรู้ในตนเองตามแนวพุทธจิตวิทยาของผู้เข้าปฏิบัติธรรม
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษMindfulness Development Impacting to Buddhist Psychology Based Self-Awareness of Dhamma Practitioners
  • ผู้วิจัยนางสาวโชติกา วงศ์อนวัช
  • ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.สุวัฒสัน รักขันโท
  • ที่ปรึกษา 2รศ. ดร.กมลาศ ภูวชนาธิพงศ์
  • วันสำเร็จการศึกษา22/08/2024
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/51274
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 52

บทคัดย่อภาษาไทย

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวคิดการเจริญสติและการตระหนักรู้ในตนเองตามแนวพุทธจิตวิทยา 2) เปรียบเทียบผลก่อนและหลังการเจริญสติที่มีต่อการตระหนักรู้ในตนเองตามแนวพุทธจิตวิทยาของผู้ปฏิบัติธรรม 3) นำเสนอผลการเจริญสติที่มีต่อการตระหนักรู้ในตนเองตามแนวพุทธจิตวิทยาของผู้ปฏิบัติธรรม การวิจัยนี้ใช้วิธีวิจัยแบบกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลัง กลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มผู้ปฏิบัติธรรมในโครงการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานของสถาบันวิปัสสนาธุระ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตำบลลำไทร อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 45 คน จากการคำนวณขนาดตัวอย่างประชากรจำนวน 165 คน ด้วยโปรแกรม G*Power และสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เข้าปฏิบัติธรรมจำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เชิงลึก สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมุติฐานด้วยสถิติ t-test

ผลการวิจัยพบว่า

1. ผลการศึกษาแนวคิดการเจริญสติและการตระหนักรู้ในตนเองตามแนวพุทธจิตวิทยา พบว่า การเจริญสติตามแนวพุทธจิตวิทยาเป็นการพัฒนาทักษะทางด้านจิตใจ การอยู่กับปัจจุบันขณะ ซึ่งประกอบด้วยการยอมรับ ความใส่ใจ การตระหนักรู้ เมื่อบุคคลผ่านกระบวนการพัฒนาทางจิตย่อมส่งผลโดยตรงต่อการมีสติและการตระหนักรู้ด้านต่าง ๆ ทั้งในตนเองและสภาพแวดล้อมภายนอก ผลการตระหนักรู้ในตนเองตามแนวพุทธจิตวิทยาเป็นผลจากการใช้หลักโยนิโสมนสิการในการกำหนดระลึกรู้สิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริงด้วยวิธีพิจารณาอย่างแยบคายในการรู้เท่าทันอารมณ์ ความนึกคิดของตนเอง สามารถรับรู้สิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับตนเองได้ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่นำไปสู่การพัฒนาตนเองให้ดีขึ้น

2. การเปรียบเทียบผลก่อนและหลังการเจริญสติที่มีต่อการตระหนักรู้ในตนเองตามแนวพุทธจิตวิทยาของผู้ปฏิบัติธรรม พบว่า โดยภาพรวม การตระหนักรู้ในตนเองหลังการทดลองมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนทดลอง อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.57, SD = 0.33) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ระดับการตระหนักรู้ในตนเองหลังการทดลองทุกด้าน มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการทดลอง

3. ผลการเจริญสติที่มีต่อการตระหนักรู้ในตนเองตามแนวพุทธจิตวิทยาของผู้ปฏิบัติธรรม พบว่า ผู้เข้าร่วมปฏิบัติธรรมมีการตระหนักรู้ในตนเองตามแนวพุทธจิตวิทยาสูงขึ้นกว่าก่อนเข้าร่วมปฏิบัติธรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งในภาพรวมและในรายด้านทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ ด้านอารมณ์ของตนเอง ด้านการประเมินตนเองได้อย่างถูกต้องตามความเป็นจริง ด้านความมั่นใจในตนเอง ด้านคิดแบบคุณค่าแท้คุณค่าเทียม และด้านเร้าคุณธรรม นอกจากนี้ผลลัพธ์หลังเข้าร่วมปฏิบัติธรรม สะท้อนให้เห็นว่า การนำวิธีการเจริญสติไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ทำให้มีการตระหนักรู้ในตนเองเพิ่มสูงขึ้น

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

The objectives of the study consisted of 1) to study the concept of mindfulness and Buddhist psychology-based self-awareness; 2) to compare the effects before and after mindfulness development on Buddhist psychology-based self-awareness of the Dhamma practitioners; and 3) to present the effects of mindfulness development on Buddhist psychology-based self-awareness of the Dhamma practitioners. This study was a quasi-experimental one group with pre- and post-test design in nature. The sample group consisted of 45 Dhamma practitioners who joined the Vipassana meditation project at the Vipassanadhura Institute, Mahachulalongkornrajavidyalaya University, Lam Sai Sub-district, Wang Noi District, Ayutthaya Province, during April 12-16, 2024. The sample size was calculated from a population of 165 people using the G*Power program. An in-depth interview was also conducted with 9 Dhamma practitioners. The tools for data collection included a questionnaire and and in-depth interview. The statistics used in the research consisted of percentage, mean, standard deviation, and t-test was employed to prove hypotheses.

The findings of the study were as follows:

1. A study of concept of mindfulness development and Buddhist psychology-based self-awareness revealed that Buddhist psychology-based mindfulness development was the developing of mental skills and present-moment awareness encompassing acceptance, attention, and awareness. When individuals underwent this mental development process, it directly affected their mindfulness and awareness in various aspects, both internally and in relation to their external environment. The effects of Buddhist psychology-based self-awareness was the applying of the principle of Yonisomanasikara (wise reflection) in mindfully recognizing things as they truly are. This was achieved through careful consideration in being cognizant of one's emotions and thoughts, enabling individuals to perceive various occurrences within themselves. This awareness was essential for leading to self-improvement.

2. The comparison of the effects before and after mindfulness development on Buddhist psychology-based self-awareness of the Dhamma practitioners showed that overall, the self-awareness score after the experiment was higher than before the experiment, reaching the highest level (= 4.57, SD = 0.33). When considering individual aspects, it was found that the level of self-awareness after the experiment was higher than before the experiment in all aspects.

3. The effects of mindfulness development on Buddhist psychology-based self-awareness of the Dhamma practitioners showed that the Dhamma practitioners possessed the Buddhist psychology-based self-awareness higher than before the Dhamma practice at a statistical significance level of .05. This improvement was observed both overall and in all five specific areas including awareness of one's emotions, reality-based accurate self-assessment, self-confidence, distinguishing between real value and unreal value, and moral stimulation. Furthermore, the effects after participating in the Dhamma practice reflected that applying mindfulness methods in daily life led to an increase in self-awareness.

 

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ