-
ชื่อเรื่องภาษาไทยบูรณาการหลักปุรัตถิมทิศที่มีต่อสถาบันครอบครัว กรณีศึกษา มารดาบิดากับบุตรธิดา ตำบลทรายมูล อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษIntegration of the Principles of the Puratthima Direction with Family Institutions: A Case Study of Parents and Children in Sai Mun Subdistrict, San Kamphaeng District, Chiang Mai Province
- ผู้วิจัยพระอธิการบุญชัย ปญฺญาธโร (กันธะวัง)
- ที่ปรึกษา 1รศ. ดร.เทพประวิณ จันทร์แรง
- ที่ปรึกษา 2ดร.วิโรจน์ วิชัย
- วันสำเร็จการศึกษา23/08/2024
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/51279
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 36
บทคัดย่อภาษาไทย
งานวิจัย เรื่อง บูรณาการหลักปุรัตถิมทิศที่มีต่อสถาบันครอบครัว กรณีศึกษา มารดาบิดากับบุตรธิดา ตำบลทรายมูล อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาแนวคิดและบทบาทความสัมพันธ์ของมารดาบิดาที่มีต่อบุตรธิดาและบุตรธิดาที่มีต่อมารดาบิดาตามหลัก ปุรัตถิมทิศในพระพุทธศาสนา 2. เพื่อบูรณาการหลักปุรัตถิมทิศที่มีต่อสถาบันครอบครัว กรณีศึกษา ตำบลทรายมูล อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ 3. เพื่อนำเสนอแนวทางการบูรณาการปุรัตถิมทิศที่มีต่อสถาบันครอบครัว กรณีศึกษา ตำบลทรายมูล อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่รวบรวมข้อมูลจากเอกสาร (Document) และจากการสัมภาษณ์ จำนวน 22 รูป/คน
ผลการวิจัยพบว่า แนวคิดและบทบาทความสัมพันธ์ของมารดาบิดาที่มีต่อบุตรธิดาและบุตรธิดาที่มีต่อมารดาบิดาตามหลักปุรัตถิมทิศในพระพุทธศาสนา มารดาบิดาเป็นผู้ที่มีความสำคัญมากต่อบุตรธิดา จึงควรยกย่องคุณงามความดีของท่าน เปรียบดั่งพรหมด้วยท่านเป็นผู้มีคุณธรรม คือ พรหมวิหาร และยังเป็นบูรพาจารย์คนแรกของบุตรธิดาที่คอยอบรมสั่งสอนให้กับบุตรธิดาในทุกๆ ด้าน
บูรณาการหลักปุรัตถิมทิศที่มีต่อสถาบันครอบครัว โดยบูรณาการผ่าน 3 หน่วยงาน คือ 1. หน่วยงานภาครัฐ เพื่อมอบนโยบายในการเชื่อมความสัมพันธ์ของสถาบันครอบครัวและชุมชนในเขตการปกครอง 2. หน่วยงานคณะสงฆ์ที่อยู่ในชุมชน ซึ่งเป็นหน่วยงานใกล้ชิดสถาบันครอบครัวและชุมชนที่สุดเพื่ออบรมขัดเกลาให้ข้อคิดในการฝึกจิตใจของคมในชุมชน 3. สถาบันครอบครัวเป็นต้นกำเนิดของงานวิจัยโดยตรงและสำคัญอย่างยิ่งในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีของสมาชิกในครอบครัว สร้างความรักความอบอุ่นให้คำแนะนำให้โอกาสที่ดีเหมาะสมกับสภาพความเป็นอยู่ของครอบครัวในปัจจุบันต่อไปถึงอนาคตได้อย่างถูกต้องและมั่นคงต่อไป
มีการเสนอแนวทางบูรณาการภาคปฏิบัติโดยผ่านแนวทาง 3 หน่วยงาน คือ 1. แนวทางภาครัฐได้แก่ เทศบาลตำบลสันกำแพงที่รับผิดชอบในพื้นที่ปกครองสนับสนุนนโยบายการบริหารงานสู่ภาคปฏิบัติไปยังสถาบันครอบครัวให้สิทธิและโอกาสในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีแก่ครอบครัวโดยการจัดกิจกรรมอบรมเสริมความรู้ความเข้าใจของครอบครัวและสนับสนุนการสร้างรายได้ในชุมชน 2. แนวทางผ่านสถาบันพระสงฆ์ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรงและใกล้ชิดกับสถาบันครอบครัวในชุมชนที่สุด โดยจัดกิจกรรมผ่านทางพระพุทธศาสนา เช่น อบรมธรรมะให้กับอุบาสกอุบาสิกา จัดกิจกรรมร่วมกับชุมชนในเทศกาลท้องถิ่น เช่น สงกรานต์ วันเข้าพรรษา วันวิสาขบูชา 3. แนวทางผ่านสถาบันครอบครัว ซึ่งคือว่าเป็นสถาบันที่ทำการศึกษาวิจัยโดยตรงจัดให้มีกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์ร่วมกันในครอบครัว เช่น ทำอาหารร่วมกัน ทานอาหารร่วมกัน จัดกิจกรรมร่วมกันในครอบครัวบางโอกาสก็หาโอกาสพักผ่อนนอกสถานที่ เช่น ท่องเที่ยวสถานที่ธรรมชาติ ทำบุญในโอกาสที่เหมาะสมเป็นต้น
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The research study, titled "Integration of the Principles of the Puratthima Direction with Family Institutions: A Case Study of Parents and Children in Sai Mun, Subdistrict, San Kamphaeng District, Chiang Mai Province," aims to: 1. Examine the concepts and roles of relationships between parents and children according to the Puratthima principles in Buddhism. 2. Integrate the Puratthima principles into family institutions, focusing on Sai Mun Subdistrict, San Kamphaeng District, Chiang Mai Province. 3. Propose guidelines for incorporating Puratthima principles into family institutions, based on the case study in Sai Mun Subdistrict. This research utilizes a qualitative methodology, employing document analysis and interviews with 22 participants.
The research findings reveal the concept and role of the relationship between parents and children according to the principles of Puratthima Disa in Buddhism. Parents hold significant importance for their children and should be honored and revered for their virtues, akin to Brahma, embodying the Brahmavihara (the four immeasurable). Additionally, parents are considered the first teachers of their children, providing guidance and education in all aspects.
The integration of Puratthima Disa principles into family institutions involves collaboration across three sectors: 1. Government Agencies: To establish policies that enhance relationships between family institutions and communities within their jurisdictions. 2. Monastic Institutions within Communities: These institutions are closest to families and communities, providing spiritual training and guidance to community members. 3. Family Institutions: As the primary subjects of this research, they play a crucial role in fostering positive relationships among family members, promoting love, warmth, and proper guidance that aligns with the current and future needs of families.
The study proposes practical integration approaches through three sectors:
1.Government Agencies: For example, the San Kamphaeng Subdistrict Municipality, responsible for local administration, should support the implementation of policies that offer families the rights and opportunities to build strong relationships through educational activities, understanding family dynamics, and supporting community income generation. 2. Monastic Institutions: These institutions, being closely connected to family institutions in the community, should organize activities through Buddhism, such as Dhamma training for laypeople, and engage with the community during local festivals like Songkran, Buddhist Lent Day, and Vesak Day. 3. Family Institutions: Recognized as the core focus of this research, family institutions should organize activities to foster strong relationships within the family, such as cooking and dining together, participating in family activities, taking trips to natural attractions, and making merit on appropriate occasions. This approach ensures that family relationships are nurtured and maintained, supporting the well-being and stability of family institutions both now and in the future.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|