โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    บทบาทหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบลเพื่อการส่งเสริมสุขภาวะ ของประชาชนในเขตพื้นที่ ต.หนองตอง อ.หางดง จ.เชียงใหม่
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Role of the Community Training Unit for Promoting the Well-being of Residents in Nong Tong Subdistrict, Hang Dong District, Chiang Mai Province
  • ผู้วิจัยพระอธิการศิวดล มหาวีโร (สุนันต๊ะ)
  • ที่ปรึกษา 1พระครูสิริบรมธาตุพิทักษ์, ผศ. ดร.
  • ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.ทิพาภรณ์ เยสุวรรณ์
  • วันสำเร็จการศึกษา23/08/2024
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/51280
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 34

บทคัดย่อภาษาไทย

การวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ ดังนี้ 1)เพื่อศึกษาบทบาทหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบลเพื่อการส่งเสริมสุขภาวะของประชาชนในเขตพื้นที่ตำบลหนองตอง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อพัฒนากระบวนการดำเนินงานหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบลเพื่อการส่งเสริมสุขภาวะของประชาชนในเขตพื้นที่ตำบลหนองตอง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ 3) เพื่อนำเสนอรูปแบบการดำเนินงานหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบลในการส่งเสริมสุขภาวะของประชาชนในเขตพื้นที่ตำบลหนองตอง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ การศึกษาวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ประกอบด้วย กลุ่มที่ 1 กลุ่มหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล จำนวน 5 รูป กลุ่มที่ 2 กลุ่มผู้นำชุมชน จำนวน 5 คน และกลุ่มที่ ๓ กลุ่มประชากรในชุมชนชน จำนวน 5 คน รวมเป็นจำนวน 15 รูป/คน และการสนทนากลุ่ม จำนวน 13 รูป/คน รวมทั้งสิ้น 28 รูป/คน

ผลการวิจัยพบว่า

1) บทบาทหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบลในการส่งเสริมสุขภาวะของประชาชนในเขตพื้นที่ตำบลหนองตอง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ มีบทบาทและหน้าที่ส่งเสริมสุขภาวะด้านกาย ได้แก่ การจัดตั้งตู้ยาประจำหมู่บ้าน ธรรมะเพื่อสุขภาพ ชมรมออกกำลังกาย เป็นต้น, ด้านจิตใจ ได้แก่ การบรรยายธรรมในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา การบรรยายธรรมผ่านสื่อวิทยุ, ด้านสังคม ได้แก่ ส่งเสริมทางด้านศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น เช่น สงกรานต์ ลอยกระทง, และด้านปัญญา ได้แก่ การให้ความรู้ การสอนหนังสือ การจัดตั้งห้องสมุดประชาชน เป็นต้น 2) หน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล ได้พัฒนาส่งเสริมสุขภาวะเป็นแนวทางในการดำเนินการสุขภาวะที่มีความสมบูรณ์ ทั้งทางกาย จิต สังคม และจิตวิญญาณ หรือปัญญาเชื่อมโยงกัน เป็นองค์รวม ซึ่งได้แบ่งเป็น 4 หมวด ได้แก่ การส่งเสริมสุขภาวะทางกาย ได้จัดกิจกรรมโครงการส่งเสริมสุขภาพอนามัยของผู้สูงอายุ, การส่งเสริมสุขภาวะทางด้านจิตใจ มีกิจกรรม ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ โครงการอบรมคุณธรรม จริยธรรมของกลุ่มเยาวชน ทําให้เยาวชนในเขตตําบลหนองตอง มีคุณธรรม จริยธรรม และจิตสํานึกที่ดี, การส่งเสริมสุขภาวะทางด้านสังคม ได้จัดกิจกรรม โครงการส่งเสริมสร้างอาชีพในการทำตุงขาย สร้างรายได้ให้แก่ผู้สูงอายุ, การส่งเสริมสุขภาวะทางด้านปัญญา ได้จัดกิจกรรม โครงการผู้สูงอายุเข้าวัด ปฏิบัติธรรมในวันธรรมเสวนะ 3) รูปแบบการดำเนินงานหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบลในการส่งเสริมสุขภาวะของประชาชนในเขตพื้นที่ตำบลหนองตอง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า มีการพัฒนารูปแบบการดำเนินงาน 3 ขั้นตอน ประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 1 รูปแบบการศึกษาและสำรวจข้อมูล เกี่ยวกับบทบาทการดำเนินงานของหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบลหนองตอง ตอนที่ 2 รูปแบบการตัดสินใจ โดยการจัดเวทีเสวนากลุ่ม เพื่อค้นหารูปแบบการพัฒนา ขั้นตอนที 3 รูปแบบการพัฒนา โดยหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล ร่วมกับ หน่วยงานภาครัฐ กลุ่มอาชีพ อสม. และองค์กรอื่น ก่อให้เกิดการร่วมกันวางแผน และดำเนินโครงการกิจกรรมมารองรับการดำเนินงานของการส่งเสริมสุขภาวะของประชาชนในเขตพื้นที่ตำบลหนองตอง ทั้งหมด 4 โครงการ คือ โครงการอบรมคุณธรรมจริยธรรมของเยาวชน โครงการส่งเสริมรายได้ให้แก่ผู้สูงอายุ โครงการตรวจสุขภาพของผู้สูงอายุ โครงการเข้าวัดปฏิบัติธรรมของผู้สูงอายุ

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

This research is 3 objectives: 1) To study the role of the subdistrict public training unit for promoting the health of the people in the area of ​​Nong Tong Subdistrict, Hang Dong District, Chiang Mai Province. 2) To develop the process of operating the subdistrict public training unit for promoting the health of the people in the Nong Tong Subdistrict area. Hang Dong District, Chiang Mai Province. 3) To present the operating model of the subdistrict public training unit in promoting the health of the people in the area of ​​Nong Tong Subdistrict, Hang Dong District, Chiang Mai Province. The research study is qualitative research. Data were collected using in-depth interviews. with key informants, consisting of Group 1, Subdistrict Citizen Training Unit Group, 5 people, Group 2, Community Leaders Group, 5 people, and Group 3, Community Population Group, 5 people, 15 person, and 13 group discussions. person. Total 28 people.

Its results were shown that :

the role of the community training unit in promoting the well-being of the people in Nong Tong Subdistrict, Hang Dong District, Chiang Mai Province, included duties and functions that promote well-being in various aspects. Regarding physical health, activities included establishing village medicine cabinets, health-related Dhamma talks, and exercise clubs. Regarding mental health, activities included giving Dhamma addresses on the Buddhist days and Dhamma talks via radio. In terms of social well-being, activities included promoting local arts and culture, such as Songkran and Loy Krathong festivals. In terms of intellectual well-being, activities counted in providing education, teaching, and establishing public libraries. 2) The community training unit had developed and promoted well-being as a holistic approach encompassing physical, mental, social, and spiritual or intellectual health. This was divided into four categories: promoting physical health by organizing health promotion activities for the elderly; promoting mental health through activities like the Sunday Buddhist Study Center and moral and ethical training programs for youth, which fostered good morals, ethics, and consciousness among the youth in Nong Tong Subdistrict; promoting social well-being by organizing activities and projects that created jobs, such as making traditional flags for sale, thereby generating income for the elderly; and promoting intellectual well-being through activities like the elderly going to the temple to practice Dharma on Dhamma Day. 3) The operational model of the community training unit in promoting the well-being of the people in Nong Tong Subdistrict, Hang Dong District, Chiang Mai Province, had been developed in 3 steps. Step 1 involved the study and survey of information regarding the roles and operations of the community training unit in Nong Tong. Step 2 comprised decision-making through organizing group discussion forums to explore development models. Step 3 included development, in which the community training unit collaborates with government agencies, occupational groups, village health volunteers, and other organizations to jointly plan and implement projects to support the well-being of people in the area. There were 4 projects: the youth moral and ethical training program, the income promotion program for the elderly, the health checkup program for the elderly, and the temple visit and Dharma practice program for the elderly.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ