โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    ธัมมปทัฏฐกถาคาถาโยชนา: การปริวรรต การแปลและการวิเคราะห์
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษDhammapadaṭṭhakathāgāthāyojanā : Transliteration Translation and Analysis
  • ผู้วิจัยนายเอกชัย คำติ๊บ
  • ที่ปรึกษา 1พระครูสิริปริยัตยานุศาสก์, ดร.
  • ที่ปรึกษา 2ดร.พิสิฏฐ์ โคตรสุโพธิ์
  • วันสำเร็จการศึกษา23/08/2024
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/51283
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 40

บทคัดย่อภาษาไทย

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาประวัติและความเป็นมาของคัมภีร์อรรถกถา ฎีกา โยชนาและปริวรรตธัมมปทัฏฐกถาคาถาโยชนาบาลีอักษรไทยเป็นบาลีอักษรโรมัน  2) เพื่อแปลธัมมปทัฏฐกถาคาถาโยชนาเป็นภาษาไทย 3) เพื่อวิเคราะห์การนำเสนอเนื้อหาคำศัพท์และไวยากรณ์ในธัมมปทัฏฐกถาคาถาโยชนา เป็นการวิจัยเอกสาร ทำการวิเคราะห์โดยเนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัย พบว่า :

คัมภีร์อรรถกถา คืองานที่แต่งหรือเขียนอธิบายและตีความพุทธธรรม ตลอดจนมติวินิจฉัยของท่านผู้รู้พุทธาธิบายสมัยต่างๆ คัมภีร์ฎีกา คือคัมภีร์ที่แต่งขยายความคัมภีร์อรรถกถาได้ชัดเจนยิ่งขึ้น โยชนา คือคัมภีร์ที่อธิบายการสร้างประโยคและแปลความหมาย โดยมีชื่อเต็มว่า อรรถโยชนา คัมภีร์ธัมมปทัฏฐกถาคาถาโยชนาเป็นคัมภีร์ที่แต่งโดยพระสิริสุมังคลมหาเถร ผู้เป็นอธิบดีสงฆ์ แห่งวัดมังคลาไชยุง เมืองตะเกิง ประเทศพม่า เพื่ออธิบายขยายความคาถาท้องเรื่อง (อันตรคาถา) ในคัมภีร์ธัมมปทัฏฐกถา 8 ภาค ผู้วิจัยได้ปริวรรตจากภาษาบาลีอักษรขอมเป็นอักษรโรมัน ในงานวิจัยนี้ ได้ทำการปริวรรตเพียง 4 ภาค คือ ภาคที่ 1 ถึง ภาคที่ 4 เท่านั้น

การแปลคัมภีร์ธัมมปทัฏฐกถาคาถาโยชนาเป็นภาษาไทย มีหลักการแปล 2 ประการ คือ 1.หลักเกณฑ์การแปลทั่วไป ซึ่งมี 2 วิธี ได้แก่ แปลโดยพยัญชนะ เป็นการแปลแบบคำต่อคำหรือการแปลแบบตรงตัว และแปลโดยอรรถ เป็นการแปลที่ไม่ได้มุ่งรักษาโครงสร้างทางไวยากรณ์ แต่ต้องรักษาความถูกต้องแน่นอนของเนื้อหาต้นฉบับ 2.หลักเกณฑ์การแปลภาษาบาลี มี 3 วิธี ได้แก่ แปลยกศัพท์ เป็นการแปลแบบศัพท์ต่อศัพท์หรือแปลบทต่อบท โดยยกศัพท์บาลีขึ้นก่อน แล้วแปลตามศัพท์ที่ยกขึ้นมา การแปลโดยพยัญชนะและแปลโดยอรรถก็เหมือนกับหลักการแปลโดยทั่วไป ซึ่งในงานวิจัยนี้ ผู้วิจัยเลือกที่จะแปลโดยอรรถเป็นภาษาไทยปัจจุบันตามหลักการแปลภาษาบาลี

การวิเคราะห์ ผู้วิจัยได้เลือกอันตรคาถาที่ปรากฏในคัมภีร์ธัมมปทัฏฐกถาคาถาโยชนาภาคที่ 1-4 ซึ่งมีอันตรคาถาจำนวน 151 คาถา ได้แก่ ภาคที่ 1 มี 64 คาถา ภาคที่ 2 มี 25 คาถา ภาคที่ 3 มี 43 คาถา ภาคที่ 4 มี 19 คาถา ผู้วิจัยได้นำคำศัพท์จากอันตรคาถาที่อยู่ในเรื่อง วรรคละ 1 เรื่อง และวิเคราะห์ตามประเด็นดังต่อไปนี้ คือ (1) วิเคราะห์เนื้อหาและแหล่งที่มาของอันตรคาถานั้นๆ (2) วิเคราะห์คำศัพท์และไวยากรณ์ให้เห็นหน้าที่ ที่มา ประเภท ความหมายและคำแปลของศัพท์ และ (3) วิเคราะห์คุณค่าคัมภีร์ธัมมปทัฏฐกถาคาถาโยชนา

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

This research aims to achieve three primary objectives: (1) to study the history and background of the commentaries, sub-commentaries, Yojana, and the transliteration of the Dhammapadaṭṭhakathākāthāyojanā from Thai script to Romanized Pali; (2) to translate the Dhammapadaṭṭhakathākāthāyojanā into Thai; and (3) to analyze the presentation of vocabulary and grammar in the Dhammapadaṭṭha-kathākāthāyojanā. This research is conducted through a document analysis methodology, employing content analysis techniques.

 The findings reveal that the commentaries are texts that elaborate on and interpret Buddhist doctrines, as well as the judgments and interpretations of knowledgeable Buddhist scholars from different periods. The sub-commentaries further clarify the contents of the primary commentaries. The Yojana is a text that explains sentence construction and translation, formally known as Atthayojanā. The Dhammapadaṭṭhakathākāthāyojanā is a text composed by the Venerable Sirisumangala Mahāthera, the abbot of Mangala Chayiyung Monastery in Takeng, Myanmar, to elaborate on the internal verses (antarakathā) found in the eight sections of the Dhammapadaṭṭhakathā. In this study, the researcher has transliterated only the first four sections from Khmer-script Pali to Romanized Pali.

The translation of the Dhammapadaṭṭhakathākāthāyojanā into Thai follows two primary translation principles: 1) General translation principles, which include two methods: literal translation, translating word-for-word, and interpretative translation, which does not strictly adhere to grammatical structures but ensures the accuracy of the original content. 2) Pali translation principles, which include three methods: word-by-word translation, where each Pali word is first highlighted and then translated according to the highlighted word; literal translation; and interpretative translation, which aligns with general translation principles. In this research, the researcher has chosen to translate into contemporary Thai following the interpretative translation method according to Pali translation principles.

For analysis, the researcher selected the antarakathā verses from sections one to four of the Dhammapadaṭṭhakathākāthāyojanā, which comprises 151 verses: section one contains 64 verses, section two contains 25 verses, section three contains 43 verses, and section four contains 19 verses. The researcher extracted the vocabulary from one selected topic within each section and analyzed it according to the following criteria: (1) the content and sources of the selected antarakathā, (2) the vocabulary and grammar to identify the functions, origins, categories, meanings, and translations of the terms, and (3) the significance of the Dhammapadaṭṭha-kathākāthāyojanā.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ