-
ชื่อเรื่องภาษาไทยผลของโปรแกรมพัฒนาสมรรถนะการปรึกษาแนวพุทธจิตวิทยา ของนักเรียนเพื่อนที่ปรึกษา
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษEffects of the Buddhist Peer Counseling Program on Youth Counseling Competencies
- ผู้วิจัยนางสาวมนัสนันท์ ประภัสสรพิทยา
- ที่ปรึกษา 1รศ. ดร.กมลาศ ภูวชนาธิพงศ์
- ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.วิชชุดา ฐิติโชติรัตนา
- วันสำเร็จการศึกษา26/08/2024
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
- ระดับปริญญาปริญญาเอก
- สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/51285
- ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 47
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎี การพัฒนาสมรรถนะการปรึกษาของนักเรียนเพื่อนที่ปรึกษาตามหลักจิตวิทยาและหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา 2) เพื่อสร้างโปรแกรมพัฒนาสมรรถนะการปรึกษาตามแนวพุทธจิตวิทยาของนักเรียนเพื่อนที่ปรึกษา และ 3) เพื่อทดลองใช้และเสนอผลของโปรแกรมพัฒนาสมรรถนะการปรึกษาตามแนวพุทธจิตวิทยาของนักเรียนเพื่อนที่ปรึกษา เป็นงานวิจัยแบบผสานวิธีแบบ Intervention Design เป็นลักษณะการวิจัยเชิงคุณภาพผสานกับการวิจัยกึ่งทดลอง แบ่งการศึกษาเป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาแนวคิดทฤษฎีทางจิตวิทยา กระบวนการทักษะการปรึกษา และหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ดำเนินการศึกษาเอกสารและสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ขั้นตอนที่ 2 สร้างชุดกิจกรรมและพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ในวิจัย ได้แก่ แบบวัดสมรรถนะการปรึกษาแนวพุทธของนักเรียนเพื่อนที่ปรึกษา ขั้นตอนที่ 3 การดำเนินการทดลองโปรแกรมกับนักเรียนระดับชั้นมัธยมต้นแบ่งเป็นกลุ่มทดลองจำนวน 18 คน กลุ่มควบคุมใช้กิจกรรมตามหลักสูตรของโรงเรียน (กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อนในโรงเรียน) จำนวน 18 คน วิเคราะห์ด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยระหว่าง 2 กลุ่มที่สัมพันธ์กัน (Pair t-test) และ ขั้นตอนที่ 4 ประเมินผลการใช้โปรแกรม ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาแนวคิดทฤษฎีการพัฒนาสมรรถนะการปรึกษาของนักเรียนเพื่อนที่ปรึกษาตามหลักจิตวิทยาและหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา พบว่า แนวคิดทางจิตวิทยาที่มาประยุกต์ใช้กับการพัฒนาสมรรถนะของนักเรียนเพื่อนที่ปรึกษา องค์ประกอบของการพัฒนาสมรรถนะการปรึกษาแนวพุทธจิตวิทยาของนักเรียนเพื่อนที่ปรึกษา 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านคุณลักษณะของนักเรียนเพื่อนที่ปรึกษา 2) ด้านความรู้เกี่ยวกับการปรึกษา 3) ด้านเจตคติต่อการปรึกษา และ 4) ด้านทักษะการปรึกษา โดยหลักการสำคัญที่ส่งเสริมให้นักเรียนทำหน้าที่เป็นนักเรียนเพื่อนที่ปรึกษา ได้แก่ การใช้หลักจิตวิทยาของกลุ่มเพื่อน เป็นพื้นฐานในการสร้างสัมพันธภาพ
2. ผลการสร้างโปรแกรมจากการบูรณาการแนวคิดทางจิตวิทยา กระบวนการปรึกษา และหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา พบว่า ใช้หลักอริยสัจ 4 และทักษะกระบวนการการปรึกษาแนวพุทธ ประกอบด้วย กิจกรรม จำนวน 16 กิจกรรม ภายใต้โปรแกรม เพื่อนใจวัย Tweens ประกอบด้วย 1) เชื่อมใจวัย Tweens 2) เพื่อนใจ 3) รู้จักฉันรู้จักเธอ 4) ฟังด้วยหัวใจ 5) ฝึกปฏิบัติ ฝึกทักษะ 6) สัมมาวาจา สื่อสารด้วยจิตเมตตา 7) ปัญญานำทาง กระบวนการปรึกษาแนวพุทธ 8) ฝึกกระบวนการปรึกษาจากบทบาทสมมุติ 9) ฝึกสติ ตระหนักรู้ ด้วยโยนิโสมนสิการ 10) เส้นทางแห่งความเข้าใจ 11) สำรวจความรู้ 12) เสริมทักษะการปรึกษาผ่านการฝึกปฏิบัติ 13) กระจกสะท้อนใจ Hand Dancing 14) พลังกลุ่มพลังใจ: ฝึกทักษะกระบวนการปรึกษากลุ่ม 15) สรุปสะท้อน กิจกรรมที่ 16) ขอบคุณจากใจ
3. ผลของโปรแกรม พบว่า 1) สมรรถนะการปรึกษาตามแนวพุทธจิตวิทยาของนักเรียนเพื่อนที่ปรึกษา หลังเข้าอบรมด้วยโปรแกรมการพัฒนาสมรรถนะการปรึกษา และหลังระยะการติดตามผล มีค่าสูงกว่าก่อนเข้าอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในด้านความรู้ต่อการปรึกษาแนวพุทธจิตวิทยา และด้านการใช้ทักษะการปรึกษาแนวพุทธ 2) หลังการเข้าร่วมอบรม กลุ่มทดลองมีคะแนนสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และพบผลเช่นเดียวกันในด้านความรู้ต่อการปรึกษาแนวพุทธจิตวิทยา ด้านเจตคติต่อการปรึกษาแนวพุทธจิตวิทยา และด้านการใช้ทักษะการปรึกษาแนวพุทธ
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The objectives of this research were: 1) to study the concepts, theories, and development of counseling competencies of youth counselors based on psychological principles and Buddhist principles 2) to develop a program to enhance counseling competencies according to the Buddhist psychological approach of youth counselors 3) to experiment and present the outcomes of the program to enhance counseling competencies according to the Buddhist psychological approach of youth counselors. The research methods were mixed-method research with intervention design between qualitative research and quasi-experimental research, consisting of four steps: step 1: to study of psychological concepts, counseling skills processes, and Buddhist principles conducted through literature review and interviewed with 9 qualified individuals and data was analyzed using Content Analysis, step 2: to create a set of activities and develop tools used in the research, including a Buddhist counseling competency scale for youth counselors, step 3: to conduct a program experiment with middle school students divided into an experimental group of 18 and a control group of 18. The control group engaged in activities according to the school curriculum (peer support activities in school). Analyzed with frequency, percentage, mean, standard deviation and pair t-test. The research revealed that
1. The results of the study on study the concepts, theories, and development of counseling competencies of youth counselors based on psychological principles and Buddhist principles revealed that psychological concepts applied to the development of student counselor competence, which consists of four components: 1) characteristics of youth counselors, 2) knowledge about counseling, 3) attitude towards counseling, and 4) counseling skills. The significant principles for promoting students to function as youth counselors included using the psychology of peer groups as the foundation for building relationships.
2. The results of developing a program which integrated psychological concepts, counseling processes, and Buddhist principles found that the program utilizes the Four Noble Truths and Buddhist counseling skills. It comprised 16 activities under the program called "Tweens 'Friend of heart" which consisted of 1) Connecting Tweens 2) Friend of the Heart 3) Knowing Me, Knowing You 4) Listening with the Heart 5) Practice and Skill Practice 6) Right Speech: Communicating with Kindness 7) Wisdom Leading the Buddhist Counseling Process 8) Practice the Counseling Process from Role-Playing 9) Practice Mindfulness, Awareness with Yonimonasikara 10) Path of Understanding 11) Exploring Knowledge 2) Enhance Counseling Skills through Practice 13) Reflective Mirror: Hand Dancing 14) Group Power, Power of the Heart: Practice Group Counseling Process Skills 15) Summary Reflection Activity 16) Thank You from the Heart.
3. The results of the program found that 1) the Buddhist Peer Counseling Program on Youth Counseling Competencies, after participating in a competency development training program and during the follow-up period, was significantly higher than before the training at the .05 level of statistical significance in both knowledge of Buddhist psychological counseling and the application of Buddhist counseling skills 2) after participating in the training, the experimental group scored significantly higher than the control group at the .05 level of statistical significance. The same significant results were found in knowledge of Buddhist psychological counseling, attitudes towards Buddhist psychological counseling, and the application of Buddhist counseling skills.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|