-
ชื่อเรื่องภาษาไทยศึกษาวิเคราะห์คำสอนเรื่องไตรลักษณ์ในอนัตตลักขณสูตร
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษAn Analytical Study on the Doctrine of the three Characteristics in Anattalakkhana Sutta
- ผู้วิจัยพระมหาภาคภูมิ ภทฺทเมธี (สันหลง)
- ที่ปรึกษา 1พระราชปริยัติมุนี, รศ. ดร.
- ที่ปรึกษา 2รศ. ดร.สุเทพ พรมเลิศ
- วันสำเร็จการศึกษา26/05/2021
- ส่วนงานจัดการศึกษา:คณะพุทธศาสตร์
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาพระไตรปิฎกศึกษา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/513
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 1,070
- จำนวนผู้เข้าชม 830
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยในครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ศึกษาวิเคราะห์คำสอนเรื่องไตรลักษณ์ในอนัตตลักขณสูตร มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาโครงสร้างและเนื้อหาของอนัตตลักขณสูตร 2) เพื่อศึกษาคำสอนเรื่องไตรลักษณ์ในคัมภีร์พระพุทธศาสนา และ 3) เพื่อวิเคราะห์คำสอนเรื่องไตรลักษณ์ในอนัตตลักขณสูตร
ผลการศึกษาพบว่า
อนัตตลักขณสูตร ว่าด้วยลักษณะแห่งอนัตตา ปรากฏอยู่ในพระวินัยปิฎก มหาวรรค มหาขันธกะ ปัญจวัคคิยกถา เล่มที่ 4 และพระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค ขันธสังยุต มัชฌิมปัณณาสก์ เล่มที่ 17 เป็นพระสูตรที่พระพุทธเจ้าตรัสแก่ปัญจวัคคีย์ มีเนื้อหาสัมพันธ์และปรากฏอยู่ในพระสูตรหลายพระสูตร คือ อนัตตลักขณสูตร ธัมมจักกัปปวัตนสูตร อุปปาทาสูตร จูฬสัจจกสูตร อานันทสูตร อนิจจสูตร ทุกขสูตร อนัตตสูตร และอนิจจตากถา
คำสอนเรื่องไตรลักษณ์ที่ปรากฏในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา ปรากฏในคัมภีร์พระไตรปิฎก ปฏิสัมภิทามรรค มหานิทเทส จูฬนิทเทส และคัมภีร์วิสุทธิมรรค แสดงหลักไตรลักษณ์ 3 ประการ คือ 1) อนิจจตา ความไม่เที่ยง 2) ทุกขตา ความเป็นทุกข์ และ 3) อนัตตตา ความไม่ใช่ตัวตน ความไม่มีตัวตนที่แท้จริง แสดงสาเหตุที่ปิดบังไตรลักษณ์ 3 ประการ คือ 1) สันตติ ปิดบังอนิจจลักษณะ 2) อิริยาบถ ปิดบังทุกขลักษณะ 3) ฆนสัญญา ปิดบังอนัตตลักษณะ หลักคำสอนเรื่องไตรลักษณ์เป็นหลักการสำคัญในทางพระพุทธศาสนา
การวิเคราะห์ไตรลักษณ์ในอนัตตลักขณสูตรพบว่า คำว่า ไตรลักษณ์ (ติลกฺขณํ, ตีณิ ลกฺขณานิ) ในพระไตรปิฎกไม่ใช้คำว่า ไตรลักษณ์ โดยตรง แต่ใช้คำว่า สังขตลักษณะ (ตีณิ สงฺขตลกฺขณานิ) คู่กับอสังขตลักษณะ (อสงฺขตลกฺขณานิ) ในคัมภีร์ชั้นอรรถกถาและปกรณ์พิเศษมี
วิสุทธิมรรค เป็นต้น มีปรากฏใช้ทั่วไป และนิยมเรียกไตรลักษณ์ว่า สามัญลักษณะ จากการวิเคราะห์เนื้อหา พบว่า การแสดงไตรลักษณ์ในอนัตตลักขณสูตร เป็นการแสดงธรรมต่อเนื่องจากธัมมจักกัปปวัตตนสูตร พระพุทธเจ้าทรงยกอนัตตลักษณะขึ้นแสดงโดยตรง แล้วจึงทรงแสดงอนิจจลักษณะ และทุกขลักษณะภายหลัง ซึ่งเป็นการแสดงไตรลักษณ์ที่แตกต่างจากในคัมภีร์แห่งอื่น เนื่องจากมีพุทธประสงค์ในการแสดงคือเพื่อการบรรลุความสิ้นอาสวะของพระปัญจวัคคีย์
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The thesis entitled “An Analytical Study on the Doctrine of the three Characteristics in Anattalakkhana Sutta”. It has three objectives: 1) to study the structure and content of Anattalakkhana Sutta, 2) to study the Doctrine of the three Characteristics in Buddhist Scriptures, and 3) to analytical study the Doctrine of the three Characteristics in Anattalakkhana Sutta.
The results of the study were as follows:
Anattalakkhaṇa Sutta is the characteristics of non-self which appears in the Vianaya-piṭaka, Mahavagga Mahakhandhaka Pañcavaggiyakathā, Volume 4 (Thai version), and the Suttanta-piṭaka, Saṁyuttanikāya Khandhavāravagga Khandhasaṁ-yutta Majjhimapaṇṇāsaka, Volume 17 (Thai version). This sutta the Lord Buddha formally had preached to the five ascetics; the contents of discourse had related and appeared in various Suttas; Anattalakkhana-Sutta, Dhammacakkapavattana-Sutta, Uppādāna-Sutta, Jūḷasaccaka-Sutta, Ānanda-Sutta, Anicca-Sutta, Dukka-Sutta, Anatta-Sutta, and Aniccatākathā-Sutta.
The doctrine on the three Characteristics appearing in the Buddhist Scriptures, the Paṭisaṁbhidāmagga, Mahānidesa and Visuddhimagga had expressed the Three Characteristics; 1) Aniccatā: impermanence, 2) Dukkhatā: suffering or misery, and 3) Anattatā: not-self. The truly soullessness has expressed the cause of concealing the three characteristics of existence; 1) Santati: continuity which conceals the impermanence, 2) Ariyāpatha: postures or activities which covered the suffering, and 3) Ghana-saññā: compactness which overcasts not-self. The three characteristics of existence is important doctrine in Buddhism.
The analysis of the doctrine of the three Characteristics in Anattalakkhana Sutta found that the term of Tri-laksana (Ti-lakkhaṇaṁ, Tīṇi-lakkhaṇāṇi) in Tipitaka does not use the directly term of Tri-laksana, it has used the term of Saṅkhata-lakkhaṇa (Tīṇi- Saṅkhatalakkhaṇāṇi) together with the term of Asaṅkhata-lakkhaṇa (Asaṅkhatalakkhaṇāṇi). In the Aṭṭhakathā and Visuddhimagga has appeared in general using, it is called Tri-laksana as Sāmaññalakkhaṇa: the common characteristics. From the analysis of content found that the expressing of the three Characteristics in Anattalakkhaṇa Sutta was preached from Dhammacakkapavattana-Sutta. The Lord Buddha had directly expressed the Anattalakkhaṇa Sutta and later, He had expressed Anicca-lakkhaṇa and Dukkha-lakkhaṇa. This expression is different from others Scriptures because His wish of preaching was the achievement of enlightenment of the five ascetics.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
Full Text | Full Text.pdf | 1.41 MiB | 1,070 | 5 มิ.ย. 2564 เวลา 15:02 น. | ดาวน์โหลด |