-
ชื่อเรื่องภาษาไทยแนวทางการอนุรักษ์คัมภีร์ใบลานของวัดในอำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษGuidelines for Preserving Palm Leaf Manuscripts of Temples in Mae Wang District Chiang Mai Province
- ผู้วิจัยพระกัมพล กิตฺติธมฺโม (อิ่นแก้ว)
- ที่ปรึกษา 1ดร.พิสิฏฐ์ โคตรสุโพธิ์
- ที่ปรึกษา 2พระครูสิริปริยัตยานุศาสก์, ดร.
- วันสำเร็จการศึกษา23/08/2024
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/51315
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 37
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของคัมภีร์ใบลานในพระพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษาบริบทและสภาพปัญหาการอนุรักษ์คัมภีร์ใบลานของวัดในอำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ 3) เพื่อนำเสนอแนวทางการอนุรักษ์คัมภีร์ใบลานของวัดในอำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นการวิจัยแบบคุณภาพภาคสนาม (Qualitative Research) ผลการวิจัยพบว่า
คำสั่งสอนทางพระพุทธศาสนามีการสืบทอดด้วยวิธีการท่องจำต่อๆกันมา เรียกว่ามุขปาฐะ และได้มีการจารึกอักษรลงในใบลาน ในการสังคายนาครั้งที่ 5 ที่ประเทศศรีลังกา ประมาณ ปี พ.ศ.433 สำหรับบริบทของคัมภีร์ใบลานของวัดในอำเภอแม่วางนั้น จากการสำรวจสภาพการดูแลรักษาคัมภีร์ใบลาน พบสาเหตุหลัก 2 ประการ ได้แก่ สาเหตุภายใน คือ กระบวนการชํารุดเสื่อมสภาพซึ่งเกิดจากตัววัสดุเอง และ สาเหตุภายนอก คือ กระบวนการชํารุดเสื่อมสภาพซึ่งเกิดจากการกระทำของ สิ่งแวดล้อม เช่น มนุษย์ อุณหภูมิ แมลง และมลพิษต่างๆ ในอากาศ สาเหตุภายนอกอีกประการหนึ่ง คือ ไม่มีการเรียนการสอนอักษรล้านนา ซึ่งเป็นอักษรที่ใช้ในการจารจารึกคัมภีร์ใบลานล้านนา ทำให้ขาดองค์ความรู้ในการอ่าน การรักษา การสร้างสืบทอดคัมภีร์ใบลาน
แนวทางในการอนุรักษ์คัมภีร์ใบลานของวัดในพื้นที่อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ มีขั้นตอน 4 ขั้นตอน ดังนี้ 1) สำรวจและสรรหาข้อมูลจากงานวิจัย ศึกษาบริบทของสภาพพื้นที่ สภาพสังคมในพื้นที่ สรรหาวิธีการอย่างเป็นขั้นตอนในการลงมือปฏิบัติการ 2) การเข้าไปให้ความรู้ความเข้าใจในการอนุรักษ์คัมภีร์ใบลานโบราณ แก่เจ้าอาวาส และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในแต่ละวัด 3) เข้าไปดำเนินการสำรวจพื้นที่วัด สำรวจสถานที่จัดเก็บคัมภีร์ใบลานของวัด ทำความสะอาดคัมภีร์ใบลาน จัดหมวดหมู่ ห่อผ้าคัมภีร์ ติดป้ายชื่อคัมภีร์ ทำการจัดเก็บให้เรียบร้อย 4) การทำแหล่งเรียนรู้ด้านคัมภีร์ใบลานโบราณ การเผยแพร่ความสำคัญของคัมภีร์ใบลาน การสร้างเครือข่ายในการอนุรักษ์คัมภีร์ใบลานในพื้นที่อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
This research is of three primary objectives: 1) to study the historical background of palm-leaf manuscripts in Buddhism, 2) to examine the context and issues related to the conservation of palm-leaf manuscripts in temples located in Mae Wang District, Chiang Mai Province, and 3) to propose methods for the conservation of palm-leaf manuscripts in these temples. The results showed that:
The teachings of Buddhism have been passed down through the method of memorization, known as "mukhapatha," and have been inscribed on palm leaves during the Fifth Council held in Sri Lanka around the year 433 BE. In the context of the palm leaf manuscripts of the temple in Mae Wang district, the survey of the condition of their preservation revealed two main causes. The first is an internal cause, which is the deterioration process arising from the materials themselves. The second is an external cause, which is the deterioration process resulting from environmental factors such as humans, temperature, insects, and various pollutants in the air. Another external cause is the lack of teaching and learning of the Lanna script, which is the script used for inscribing the Lanna palm leaf manuscripts, leading to a deficiency in knowledge regarding reading, preservation, and the transmission of these manuscripts.
The guidelines for preserving palm leaf manuscripts in the temples of Mae Wang District, Chiang Mai Province consist of four steps as follows: 1) Survey and gather information from research, study the context of the area and the social conditions, and find systematic methods for implementation. 2) Provide knowledge and understanding about the preservation of ancient palm leaf manuscripts to the abbots and relevant parties in each temple. 3) Conduct surveys of the temple areas, inspect the storage locations of the palm leaf manuscripts, clean the manuscripts, categorize them, wrap them in cloth, label them, and organize them properly. 4) Create a learning resource on ancient palm leaf manuscripts, promote the importance of these manuscripts, and establish a network for the preservation of palm leaf manuscripts in Mae Wang District, Chiang Mai Province.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|