โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    พระวิษณุกรรมกับการสร้างสรรค์ประติมากรรมแนวประเพณีล้านนา
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษLord Vishnu and the Creation of Sculptures in the Lanna Tradition
  • ผู้วิจัยนายวรวัฒน์ เขียวติ๊บ
  • ที่ปรึกษา 1ดร.สุชัย สิริรวีกูล
  • ที่ปรึกษา 2รศ. ดร.พูนชัย ปันธิยะ
  • วันสำเร็จการศึกษา23/08/2024
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาพุทธศิลปกรรม
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/51317
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 77

บทคัดย่อภาษาไทย

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาเพื่อ  1.ศึกษาประวัติความเป็นมา คติความเชื่อและลักษณะพระวิษณุกรรมในพระพุทธศาสนา 2. ศึกษาและวิเคราะห์รูปแบบประติมากรรมพระวิษณุกรรมในล้านนา 3. การสร้างสรรค์ประติมากรรมพระวิษณุกรรมสำหรับการอนุรักษ์ประเพณีล้านนา ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี ระหว่างงานวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ และการสนทนากลุ่มเฉพาะกับผู้เชี่ยวชาญด้านพุทธศิลปกรรม และเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า

1. ประวัติความเป็นมา คติความเชื่อและลักษณะพระวิษณุกรรมในพระพุทธศาสนา ดังนี้ ประวัติขององค์พระวิษณุกรรม มีระบุในตำนานหนึ่งว่าทรงเป็นโอรสของพระภูวนอีกตำนานหนึ่งว่าเป็นโอรสของพระประภาส ซึ่งเป็นหนึ่งในคณะวสุเทพบริวารของพระอินทร์วสุเทพนี้มี 8 องค์คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ เดือน ดาวเหนือ รุ่ง และแสงสว่าง ส่วนเรื่องราวของพระวิษณุกรรมมักจะเกี่ยวข้องกับพระอินทร์อยู่เสมอด้วยพระวิษณุกรรมเป็นเทพบริวารฝ่ายช่างของพระอินทร์ คติความเชื่อในพระพุทธศาสนาพระวิษณุกรรม เป็นพระนามของเทพแห่งครูช่างที่มีความเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาในหลากหลายมิติทั้งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการสร้างบุญบารมีของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในครั้งที่เสวยพระชาติเป็นพระโพธิสัตว์เวียนว่ายตายเกิดสั่งสมบารมีธรรมในมหาสุทัสสนสูตรเมื่อครั้งพระพุทธองค์เสวยพระชาติเป็นพระเจ้าจักรพรรดิมหาสุทัสสนะ

2. วิเคราะห์รูปแบบประติมากรรมพระวิษณุกรรมในล้านนา ประกอบด้วย 1) รูปแบบด้านสัญลักษณ์กายภาพของพระวิษณุกรรม ในเนื้อหาส่วนที่ว่าด้วยสัญลักษณ์ทางกายภาพนั้นจะกล่าวได้ว่าเป็นงานที่มาจากงานประติมากรรม ซึ่งจัดเป็นศิลปกรรมประเภทหนึ่งที่มีลักษณะอันเกิดจากการปั้น การแกะสลัก การหล่อ 2) รูปแบบด้านศิลปกรรม และเทคนิคประติมากรรม คนในล้านนาได้ใช้ประติมากรรมเป็นสื่อ จากความเชื่อที่เป็นนามธรรมให้เป็นรูปธรรม ปัจจุบันยังปรากฏในฐานะเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจสำหรับคณาจารย์ นักศึกษา ช่างล้านนา ในเรื่องของงานช่างทุกประเภท เป็นต้น งานประติมากรรม เช่น รูปและสัญลักษณ์ของพระวิษณุกรรมนั้น นอกเหนือจากการสร้างเพื่อระลึกถึงสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อเกิดความศรัทธานำไปสู่การประพฤติปฏิบัติตามหลักพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า ปัจจัยทำให้เกิดสุนทรีย์ภาพ คือ 1. ปัจจัยด้านกายภาพ (เชิงรูปธรรม) 2. ปัจจัยด้านคติความเชื่อ (เชิงนามธรรม)

3. การสร้างสรรค์ประติมากรรมพระวิษณุกรรมสำหรับการอนุรักษ์ประเพณีล้านนา มีดังนี้ 1) ขั้นตอนการสร้างสรรค์ประติมากรรมพระวิษณุกรรม การสังเคราะห์องค์ความรู้ที่ได้รับจากการศึกษาค้นคว้าเพื่อเป็นแนวทางในการสร้างสรรค์ประติมากรรมพระวิษณุกรรมสำหรับการอนุรักษ์ประเพณีล้านนา โดยผู้วิจัยได้สร้างพระวิษณุกรรม จำนวน 1 องค์ เพื่อจะสื่อให้เห็นอัตลักษณ์ รูปแบบของปฏิมากรรมล้านนา โดยมีขั้นตอน ดังนี้ 1. การร่างภาพลายเส้นพระวิษณุกรรม 2. การสร้างพระวิษณุกรรมต้นแบบด้วยดินเหนียวและขี้ผึ้ง 3. การสร้างแม่พิมพ์ ด้วยดินเหนียว และออกแบบต้นแบบ 4. การหล่อพระวิษณุกรรมด้วยปูนปลาสเตอร์ 5. การหล่อพระวิษณุกรรมด้วยทองเหลือง 2) การถ่ายทอดองค์ความรู้สู่สาธารณชน ซึ่งในปัจจุบันยังมีข้อมูลที่จำกัด รวมทั้งประเด็นการศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบศิลปกรรม ความหมายทางประติมานวิทยาของเทวรูปพระวิษณุจากแหล่งอื่นๆ อันจะแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์เชื่อมโยงเป็นเครือข่ายวัฒนธรรม ตามเส้นทางการเผยแพร่ศาสนา และการถ่ายทอดองค์ความรู้ในการสร้างสรรค์ประติมากรรม เพื่อการพัฒนาในด้านศิลปะให้กับสาธารณชนในการเรียนรู้

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

The purpose of this research is to study 1. Study the history. Beliefs and characteristics of Vishnukarma in Buddhism. 2. Study and analyze the style of Vishnukarma sculpture in Lanna. 3. Creation of Vishnukarma sculpture for the preservation of Lanna tradition. Use an integrated research method. During qualitative research with in-depth interviews with key informants and focus group discussions with experts in Buddhist arts. and the tools used in the research include in-depth interviews. Collect data yourself Data were analyzed using content analysis. The research results found that

1. History Beliefs and characteristics of Lord Vishnu in Buddhism as follows: History of Lord Vishnu It is stated in one legend that he is the son of Prabhuvan, in another legend that he is the son of Prabhas. Which is one of the Vasudeva family of Indra's attendants. Vasudeva has 8 gods: earth, water, wind, fire, moon, north star, dawn, and light. As for the story of Vishnukarma, it is always related to Indra, because Vishnukarma is Indra's technical attendant deity. Belief in Buddhism, Vishnukarma It is the name of the deity of the craftsman who is related to Buddhism in many dimensions, both related to the creation of merit and merit of the Lord Buddha when he spent his life as a bodhisattva and cycled through rebirth and death, accumulating the merit of the Dhamma. In the Mahasudassana Sutta, when the Buddha spent his life as Emperor Mahasudassana.

2. Analyze the style of Vishnu-karma sculpture in Lanna, consisting of 1) the physical symbol form of Vishnu-karma. In the section on physical symbols, it can be said that the work comes from sculpture. which is classified as a type of art that has characteristics resulting from molding, carving, and casting. 2) Art form and sculpture techniques Lanna people use sculpture as a medium. From abstract beliefs to concrete ones At present, it still appears as an anchor for teachers and students of Lanna craftsmen in all types of craftsmanship, etc. Sculptures such as images and symbols of Lord Vishnu are In addition to being built to commemorate His Majesty the Lord Buddha. To have faith that leads to practice according to the Buddha's teachings. Factors that create aesthetics are: 1. Physical factors (Concrete) 2. Factors in belief (abstract)

3. The creation of a Vishnu sculpture for the preservation of Lanna traditions is as follows: 1) The process of creating a Vishnu sculpture. Synthesizing knowledge gained from research to provide guidelines for creating Vishnu sculptures for preserving Lanna traditions. The researcher created 1 image of Vishnu in order to convey its identity. The form of Lanna sculpture has the following steps: 1. Sketching a line drawing of Lord Vishnu. 2. Creating a prototype of Lord Vishnu with clay and wax.

3. Creating a mold. with clay and design prototypes 4. Casting Lord Vishnukarma in plaster 5. Casting Lord Vishnukarma in brass 2) Transferring knowledge to the public At present there is limited information. Including issues of comparative study of art forms. Sculptural meanings of Vishnu idols from other sources will demonstrate the connection of cultural networks along the path of religious propagation and knowledge transfer in the creation of sculptures. To develop art for people to learn.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ