โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    ศึกษากัมมัฏฐานที่ปรากฏในอรรถกถาธรรมบท: กรณีศึกษาสหัสสวรรค
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษA Study of Meditation Practice in the Commentary on the Dhammapada: A Case Study of the Sahassavagga
  • ผู้วิจัยพระมหาฉลอง เขมรโต (ทิพวัฒน์)
  • ที่ปรึกษา 1รศ. ดร.แม่ชีกฤษณา รักษาโฉม
  • ที่ปรึกษา 2ผศ.พิเศษ ดร.อรชร ไกรจักร์
  • วันสำเร็จการศึกษา02/09/2024
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/51319
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 49

บทคัดย่อภาษาไทย

านวิจัยเรื่อง ศึกษากัมมัฏฐานที่ปรากฏในอรรถกถาธรรมบท: กรณีศึกษาสหัสสวรรค มีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ 1. เพื่อศึกษากัมมัฏฐานที่ปรากฏในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา 2. เพื่อศึกษาโครงสร้างและเนื้อหาในสหัสสวรรค 3. เพื่อวิเคราะห์หลักกัมมัฏฐานในสหัสสวรรค งานวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร

ผลการวิจัยพบว่า กัมมัฏฐานทางพระพุทธศาสนามี 2 อย่าง คือ สมถกัมมัฏฐานและวิปัสสนากัมมัฏฐาน สมถกัมมัฏฐาน ปฏิบัติในกรอบของอารมณ์ 40 ทำให้จิตสงบเป็นสมาธิและวิปัสสนากัมมัฏฐาน ปฏิบัติกำหนดรู้รูปนามในกรอบของกฎไตรลักษณ์ คืออนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

โครงสร้างและเนื้อหาในสหัสสวรรค เป็นการแสดงเรื่องราวของบุคคลและคาถาที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนมี 14 เรื่อง ได้แก่เรื่องบุรุษผู้ฆ่าโจรมีเคราแดง  พระพาหิยทารุจีริยเถระ  พระกุณฑลเกสีเถรี  อนัตถปุจฉกพราหมณ์ พราหมณ์ผู้เป็นลุงของพระสารีบุตรเถระ  พราหมณ์ผู้เป็นหลานของพระสารีบุตรเถระ  พราหมณ์ผู้เป็นสหายของพระสารีบุตรเถระ อายุวัฒนกุมาร  สังกิจจสามเณร  พระขานุโกณฑัญญเถระ  พระสัปปทาสเถระ  นางปฏาจาราเถรี นางกิสาโคตมีเถรี  พระพหุปุตติกาเถรี

กัมมัฏฐานในสหัสสวรรคเป็นรูปแบบสอนเปรีบเทียบคำพูดคำเดียว ธรรมบทเดียว และคาถาเดียวประเสริฐกว่าคำพูด 100 คำ 1,000 คำที่ไร้ประโยชน์ คำพูดที่มีประโยชน์คือพูดเรื่องขันธ์ ธาตุ อายนะ อินทรีย์ พละ โพชฌงค์ สติปัฏฐาน และนิพพาน คำพูดเหล่านี้เป็นอารมณ์ของวิปัสสนา กำหนดรู้รูปนามเห็นความเสื่อมไป ความสิ้นไปของรูปนามตามกฎไตรลักษณ์คืออนิจจัง ทุกขัง อนัตตา พระพุทธเจ้าตรัสสอนแก่คฤหัสถ์และบรรพชิตผ่านคำพูดคำเดียวประเสริฐ ผู้ฟังอยู่ส่งใจไปตามกระแสธรรม ได้บรรลุเป้าหมายหลักคือมรรค ผล นิพพาน หากยังไม่บรรลุเป้าหมายหลักจะบรรลุเป้าหมายรองคือมนุษย์โลกสวรรค์

 

 

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

The research titled "A Study of Meditation Practices in the Commentary on the Dhammapada: A Case Study of the Sahassavagga" has three objectives: 1) to study meditation exercises as presented in Buddhist scriptures, 2) to examine the structure and content of the Sahassavagga, and 3) to analyze the principles of meditation in the Sahassavagga. This research is a documentary study.

The findings reveal that Buddhist meditation exercises are of two types: Samatha (tranquility meditation) and Vipassanā (insight meditation). On the one hand, Samatha meditation is practiced within the framework of 40 meditation objects, leading to a calm and concentrated mind, on the other hand, Vipassanā meditation is practiced by contemplating on Nãma and Rūpa within the framework of three characteristics of existence: impermanence (anicca), suffering (dukkha), and non-self (anatta).

The structure and content of the Sahassavagga involve narratives about various individuals and teachings (verses) that the Buddha delivered. There are 14 stories in total, including those of the man who killed a red-bearded robber, Bhāhiyadārucīriya Thera, Kundaḷakesi Theri, the brahmin Anāthapucchaka, the uncle of Sāriputta Thera, the nephew of Sāriputta Thera, the friend of Sāriputta Thera, Āyuvaddhana Kumāra, the novice Saṅkicca, Khāṇukoṇḍañña Thera, Sappadāsa Thera, Paṭācārā Theri, Kisāgotamī Theri, and Bahuputtikā Theri.

The meditation teachings in the Sahassavagga emphasize the comparison of a meaningful word, teaching, or verse to useless hundreds or thousand words where words that are beneficial involve discussing the aggregates (khandhas), elements (dhātus), sense bases (āyatanas), faculties (indriyas), powers (balas), factors of enlightenment (bojjhaṅgas), the foundations of mindfulness (satipaṭṭhānas), and Nibbāna. These teachings are subjects of insight meditation, focusing on the awareness of the arising and ceasing of physical and mental phenomena according to the three characteristics of existence: impermanence, suffering, and non-self. The Buddha delivered these profound teachings to both householders and monastics, conveying that even one meaningful word can lead listeners to attain the ultimate goals: the path, fruition, and Nibbāna. If the primary goal is not yet achieved, the secondary attainment is the celestial realm

 

 

 

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ