โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    รูปแบบการจัดการเรียนการสอนเชิงพุทธบูรณาการ เพื่อเสริมสร้างพฤฒพลัง สำหรับโรงเรียนผู้สูงอายุ จังหวัดเชียงใหม่
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Buddhist Integrated Teaching and Learning Model to Enhance the Active Aging for the Elderly Schools in Chiang Mai Province
  • ผู้วิจัยนายยุรธร จีนา
  • ที่ปรึกษา 1ดร.พิสิฏฐ์ โคตรสุโพธิ์
  • ที่ปรึกษา 2รศ. ดร.เทพประวิณ จันทร์แรง
  • วันสำเร็จการศึกษา23/08/2024
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
  • ระดับปริญญาปริญญาเอก
  • สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/51325
  • ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 86

บทคัดย่อภาษาไทย

ดุษฎีนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการเสริมสร้างพฤฒพลังแก่ผู้สูงอายุตามแนวพระพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษารูปแบบการจัดการเรียนการสอนโรงเรียนผู้สูงอายุจังหวัดเชียงใหม่ 3) นำเสนอรูปแบบการจัดการเรียนการสอนเชิงพุทธบูรณาการเพื่อเสริมสร้างพฤฒพลัง สำหรับโรงเรียนผู้สูงอายุจังหวัดเชียงใหม่  การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพแบบพหุกรณีศึกษา โดยใช้การสืบค้นข้อมูลเชิงเอกสาร การสังเกตแบบมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม คัดเลือกผู้ให้ข้อมูลแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการสังเคราะห์ประเด็นตามวัตถุประสงค์  

ผลการศึกษาพบว่า การเสริมสร้างพฤฒพลังแก่ผู้สูงอายุตามแนวพระพุทธศาสนา โดยการประยุกต์หลักพุทธธรรมกับหลักพฤฒพลังขององค์การอนามัยโลก ได้แก่ การเสริมสร้างพฤฒพลังผู้สูงอายุด้านสุขภาพ ใช้หลักอายุสสธรรม และหลักไตรลักษณ์ การเสริมสร้างพฤฒพลังผู้สูงอายุด้านการมีส่วนร่วม ใช้หลักสังคหวัตถุ และหลักสาราณียธรรม การเสริมสร้างพฤฒพลังผู้สูงอายุด้านหลักประกันมั่นคงปลอดภัย  ใช้หลักสัปปายะ และหลักเบญจศีลเบญจธรรม ในส่วนรูปแบบการจัดการเรียนการสอนโรงเรียนผู้สูงอายุจังหวัดเชียงใหม่ พบว่า โรงเรียนผู้สูงอายุจังหวัดเชียงใหม่ มีหลักสูตรและกิจกรรมการจัดการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างพฤฒพลังผู้สูงอายุครบทั้ง 3 ด้าน คือด้านสุขภาพ ด้านการมีส่วนร่วม และด้านหลักประกันมั่นคงปลอดภัย  โดยมุ่งเน้นให้ผู้สูงอายุมีสุขภาวะที่สมบูรณ์ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ  สังคม และสติปัญญา รูปแบบการจัดการเรียนการสอนเชิงพุทธบูรณาการเพื่อเสริมสร้างพฤฒพลัง สำหรับโรงเรียนผู้สูงอายุจังหวัดเชียงใหม่ ใช้การบูรณาการหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ในรูปแบบ “พุทธพลังชราสุขโมเดล” ด้วยหลักการสร้างความสุขผู้สูงอายุ 6 สุข คือ พฤฒพลังด้านสุขภาพ ได้แก่ สุขกายสังขาร สุขสำราญจิต พฤฒพลังด้านการมีส่วนร่วม ได้แก่ สุขมิตรสัมพันธ์ชุมชน สุขสร้างกุศลสาธารณะ และ พฤฒพลังด้านหลักประกันมั่นคงปลอดภัย ได้แก่ สุขสัปปายะเหมาะสม สุขอุดมศีลธรรม

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

This dissertation aims to: 1)study the enhancement of elderly empowerment based on Buddhist principles, 2) examine the teaching and learning management model of Chiang Mai Elderly School and present a Buddhist-integrated teaching and learning management model to enhance elderly empowerment for Chiang Mai Elderly School. This research is a qualitative multiple case study utilizing documentary research, participant observation, in-depth interviews, and focus group discussions. Data was collected from purposively selected informants and analyzed by synthesizing issues according to the objectives.

Findings include: Enhancement of Elderly Empowerment: This is achieved by applying Buddhist principles in conjunction with the World Health Organization's empowerment principles. This includes: - Health empowerment through âyussa-dhamma: things conducive to long life and Tilakkhana or the Three Characteristics principles. - Participation empowerment through Sangahavatthu: bases of social solidarity and Sàraniyadhamma: states of conciliation principles. - Security empowerment through Sappāya or : beneficial or advantageous conditions and Pañcasīla or the Five Precepts.Teaching and Learning Management at Chiang Mai Elderly School : The school offers a curriculum and activities designed to enhance elderly empowerment in health, participation, and security, focusing on comprehensive well-being in physical, mental, social, and intellectual health. Buddhist-Integrated Model for Empowerment: The proposed model, "Buddhist Power for Elderly Happiness," integrates Buddhist principles to create six types of happiness for the elderly, encompassing:  Health empowerment through  Physical well-being,- Mental well-being Participation empowerment through Community well-being, - Public well-being and Security empowerment through Environmental well-being - Moral well-being.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ