-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการพัฒนาความผูกพันในองค์กรโดยพุทธสันติวิธี: ศึกษาเฉพาะกรณี วิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Organizational Commitment Development by Buddhist Peaceful Means: A Case Study of the International Buddhist Studies College at Mahachulalongkornrajavidyalaya University
- ผู้วิจัยนายสาโรจน์ พึ่งไทย
- ที่ปรึกษา 1พระเมธีวัชรบัณฑิต, ศ. ดร.
- ที่ปรึกษา 2พระปราโมทย์ วาทโกวิโท, ดร.
- วันสำเร็จการศึกษา01/09/2024
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
- ระดับปริญญาปริญญาเอก
- สาขาวิชาสันติศึกษา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/51471
- ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 667
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ 1) เพื่อศึกษาวิเคราะห์สภาพปัญหา บริบท ความจำเป็น และแนวคิดทฤษฎีการพัฒนาความผูกพันในองค์กรตามแนวทางศาสตร์สมัยใหม่ 2) เพื่อศึกษาวิเคราะห์หลักพุทธสันติวิธีที่เอื้อต่อการพัฒนาความผูกพันในองค์กร ศึกษาเฉพาะกรณี วิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ 3) เพื่อพัฒนาและนำเสนอกระบวนการพัฒนาความผูกพันในองค์กรโดยพุทธสันติวิธี ศึกษาเฉพาะกรณี วิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นการวิจัยตามกรอบของอริยสัจโมเดลตามแนวทางของบันได 9 ขั้น ของหลักสูตรสันติศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
ผลการวิจัยพบว่า
1) สภาพปัญหาภาพรวมของวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ ประกอบด้วย 1) การจัดการงานยังซับซ้อนคลุมครือ 2)ขาดความรู้เรื่องกำหนดแนวทางให้บุคลากรพัฒนาตัวเองด้านต่างๆ 3)ขาดความรู้การพัฒนาบทบาทกระบวนการสร้างความผูกพัน 4) ขาดเทคนิคการสร้างแนวความคิดในการปฏิบัติตัวตามค่านิยม และสภาพปัญหาภาพรวมของบุคลากรวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานานชาติ ประกอบด้วย 1) ขาดความรู้เรื่องจิตสำนึกความผูกพันองค์กร 2) ขาดความรู้เรื่องกำหนดแนวทางให้บุคลากรพัฒนาตัวเอง 3) ขาดความรู้การพัฒนาบทบาทกระบวนการสร้างความผูกพัน 4) ขาดเทคนิคการสร้างแนวความคิดในการปฏิบัติตัวตามค่านิยม
2) หลักพุทธสันติวิธีที่จะเอื้อต่อการพัฒนาความผูกพันในองค์กรโดยพุทธสันติวิธี ศึกษาเฉพาะกรณี วิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ใช้ของหลักไตรสิกขา 3 มุ่งพัฒนาความผูกพันของบุคลากรในองค์กรผ่านเครื่องมือของศีล สมาธิและปัญญา โดยมีการวิเคราะห์ความต้องการที่แท้จริงของบุคลากรในองค์กรด้วยหลักอริยสัจ ประกอบด้วย 1) ขั้นสภาพปัญหา 2) ขั้นสาเหตุของปัญหา 3) ขั้นเป้าหมายคือความผูกพันในองค์กร 4) ขั้นวิธีการและเครื่องมือที่จะให้บรรลุเป้าหมาย และมีการวัดผลความผูกพันในองค์กรผ่านภาวนา 4 ประกอบด้วย วัดผลความผูกพันในองค์กรทางด้านกายภาพ วัดผลความผูกพันในองค์กรทางด้านพฤติภาพ วัดผลความผูกพันในองค์กรทางด้านจิตตภาพ และวัดผลความผูกพันในองค์กรทางด้านด้านปัญญาภาพ
3) กระบวนการพัฒนาความผูกพันในองค์กรโดยพุทธสันติวิธี ศึกษาเฉพาะกรณี วิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นองค์ความรู้ใหม่เป็น AEIOU Model 5 ขั้นตอนในการพัฒนาความผูกพันในองค์กรโดยพุทธสันติวิธี ประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 1 คือ ขั้นตอนการตระหนักรู้ (Awareness) ขั้นตอนที่ 2 สิ่งแวดล้อม (Environment) ขั้นตอนที่ 3 สร้างแรงบันดาลใจ (Inspiration) ขั้นตอนที่ 4 ระบบองค์กร (Organization System) ขั้นตอนที่ 5 ความเข้าใจ(Understand) โดยมุ่งการพัฒนา 3 ด้าน ประกอบด้วย 1) พัฒนาให้บุคลากรเกิดความตระหนักในเรื่องต่างๆ โดยแต่ละขั้นตอนมีรายละเอียดในการดำเนินการ (Awareness) 2) กระตุ้นให้บุคลากรมีความมุ่งมั่นที่จะทำให้งานที่ตนเองรับผิดชอบประสบความสำเร็จ และองค์กรมีความก้าวหน้า (Ignite) 3) มุ่งการลงมือทำเน้นให้ลงมือทำ อิสระริเริ่มความคิดและลงมือทำตามความคิด ใช้กระบวนการแก้ปัญหาด้วยตนเองผ่านการทดลองทดสอบ เพื่อสร้างพื้นที่ปลอดภัยในการเรียนรู้และเป็นแรงขับเคลื่อนเพื่อให้ทุกๆกิจกรรมสำเร็จ (Action)
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The objectives of this research are as follows; 1. to study and analyze the problems, context, needs, and modern theoretical concepts related to the development of organizational commitment; 2. to study and analyze Buddhist peaceful means that contribute to the development of organizational commitment, with a specific focus on the International Buddhist Studies College (IBSC); and 3. to develop and present a model for the development of organizational commitment by Buddhist peaceful means, using the case of the IBSC at Mahachulalongkornrajavidyala
ya University.
This research was conducted based on the framework of the Noble Truth Model using the 9-step ladder approach of the Peace Studies Program of the Graduate School, Mahachulalongkornrajavidyalaya University.
The research results were found that:
1. Overall Problems within the International Buddhist Studies College (IBSC): The issues identified include: 1) complex and unclear management processes, 2) lack of knowledge on guiding personnel in self-development in various aspects, 3) insufficient knowledge on developing roles and processes to build commitment, and 4) lack of techniques for fostering behavior in line with organizational values. Additionally, the overall issues among IBSC personnel include: 1) lack of awareness and understanding of organizational commitment, 2) insufficient knowledge on personal self-development, 3) lack of knowledge on role development in building commitment, and 4) lack of techniques for aligning behavior with organizational values.
2. Buddhist Peaceful Means for Enhancing Organizational Commitment: The study identifies the Threefold Training (Trisikkhā) as the key Buddhist principles to enhance organizational commitment through the cultivation of morality (sīla), concentration (samādhi), and wisdom (paññā). The analysis involves understanding the true needs of personnel in the organization through the Four Noble Truths, which include: 1) identifying the problem, 2) understanding the causes of the problem, 3) setting the goal of organizational commitment, and 4) determining the methods and tools to achieve the goal. The evaluation of organizational commitment is conducted through the Four Developments (Bhāvanā) across four dimensions: physical, behavioral, mental, and intellectual.
3. Steps for Developing Organizational Commitment by Buddhist Peaceful Means: The case study of the IBSC at Mahachulalongkornrajavidyalaya University presents a new model known as the AEIOU Model, which includes five steps: 1) Awareness, 2) Environment, 3) Inspiration, 4) Organization System, and 5) Understanding. The development focuses on three key areas: 1) raising awareness among personnel on various aspects, with detailed actions for each step (Awareness), 2) encouraging personnel to be committed to achieving success in their responsibilities and contributing to the organization's progress (Ignite), and 3) emphasizing practical action, fostering creativity and initiative, and solving problems independently through experimentation. This creates a safe learning space and drives the success of every activity (Action).
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|