-
ชื่อเรื่องภาษาไทยระบบพฤติกรรมการบริโภคด้วยปัญญาตามหลักปัจจัย ๔ สำหรับนักเรียนโรงเรียนพระปริยัติธรรม จังหวัดนครพนม
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษA Four Paccaya principles - based intellectual consumption behavioral system for Phrapariyattidhamma school students in Nakhon Phanom Province
- ผู้วิจัยพระมหากวีพัฒน์ ฐิตโสภโณ (ยารังสี)
- ที่ปรึกษา 1พระมหาสมบูรณ์ สุธมฺโม, รศ. ดร.
- ที่ปรึกษา 2รศ. ดร.สมชัย ศรีนอก
- วันสำเร็จการศึกษา06/06/2024
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต (ค.ด.)
- ระดับปริญญาปริญญาเอก
- สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/51472
- ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 507
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยเรื่อง ระบบพฤติกรรมการบริโภคด้วยปัญญาตามหลักปัจจัย 4 สำหรับนักเรียนโรงเรียนพระปริยัติธรรม จังหวัดนครพนม มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาองค์ความรู้เกี่ยวกับระบบพฤติกรรมการบริโภคด้วยปัญญาตามหลักปัจจัย 4 สำหรับนักเรียนโรงเรียนพระปริยัติธรรม จังหวัดนครพนม (2) เพื่อพัฒนาระบบพฤติกรรมการบริโภคด้วยปัญญาตามหลักปัจจัย 4 สำหรับนักเรียนโรงเรียนพระปริยัติธรรม จังหวัดนครพนม และ (3) เพื่อประเมินประสิทธิภาพของระบบพฤติกรรมการบริโภคด้วยปัญญาตามหลักปัจจัย 4 สำหรับนักเรียนโรงเรียนพระปริยัติธรรม จังหวัดนครพนม เป็นการวิจัยและพัฒนา (R&D) ประกอบด้วยการวิเคราะห์เอกสาร โดยใช้เครื่องมือเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ทดลองระบบจากแบบสอบถามนักเรียน 48 รูป ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้อำนวยการ และครูสอน จำนวน 7 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย
1. ด้านองค์ความรู้ทั่วไประบบพฤติกรรมการบริโภคด้วยปัญญาตามหลักปัจจัย 4 พบว่าการบริโภค โดยทั่วไปหมายถึง การกินอาหาร การดื่มน้ำ เครื่องดื่ม การใช้สอย เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย รวมทั้งยารักษาโรคเพื่อการดำรงชีวิตมนุษย์ในสังคม ในทางพระพุทธศาสนา การบริโภค หมายถึง การขบฉัน และการใช้สอยปัจจัย 4 คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานเภสัช พฤติกรรมการบริโภคอาหาร หมายถึง การปฏิบัติหรือการแสดงออกในการรับประทานอาหารที่บุคคลกระทำเป็นกิจวัตรประจำวัน พฤติกรรมการบริโภคด้วยปัญญา หมายถึง การใช้ตา หู จมูก ลิ้น กาย ในการรับรู้สิ่งต่าง ๆ แล้วให้เป็นการศึกษา นั่นคือ ได้ความรู้และเป็นประโยชน์
2. ด้านพัฒนาระบบพฤติกรรมการบริโภคด้วยปัญญาตามหลักปัจจัย 4 พบว่า (1) ด้านอาหาร โดยรวมทุกข้ออยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อบริโภคอาหารตรงเวลาทุกมื้อทุกวัน มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมา คือข้อท่านเลือกบริโภคอาหารที่มีความสะอาดถูกสุขอนามัย อยู่ในระดับมาก ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด อยู่ที่ระดับน้อยคือ ข้อท่านบริโภคอาหารครบทั้ง 5 หมู่ใน 1 วัน (2) ด้านที่อยู่อาศัย โดยรวมทุกข้ออยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อท่านดูแลห้องพักให้เป็นระเบียบมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด อยู่ในระดับมาก รองลงมาคือ ข้อท่านมีส่วนร่วมบูรณะปฏิสังขรณ์เสนาสนะ อยู่ในระดับมาก ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด อยู่ในระดับปานกลางคือ ข้ออยู่อาศัยของท่านเป็นสถานที่ใช้ป้องกันหนาว ร้อน ฝนได้ดี (3) ด้านเครื่องนุ่งห่ม โดยรวมทุกข้ออยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อท่านศรัทธาในผ้ากาสาวพัสตร์ อันเป็นธงชัยพระอรหันต์ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดอยู่ในระดับปานกลาง รองลงมาคือ ข้อท่านซักเครื่องนุ่งห่ม เช่น จีวร สังฆาฏิ สบง อังสะด้วยมือ อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด อยู่ในระดับปานกลางคือ ข้อท่านใช้เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มอย่างรู้คุณค่าแท้จริง (4) ด้านยารักษาโรค โดยรวมทุกข้อ อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อท่านงดดื่มน้ำอัดลม น้ำหวาน เพื่อลดน้ำตาลในกระแสเลือดมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด อยู่ในระดับปานกลาง รองลงมาคือ ข้อท่านเดินจงกรม 30-60 นาที เป็นประจำทุกวัน อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด อยู่ในระดับน้อยที่สุด คือข้อท่านดูแลรักษาร่างกายโดยตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี
3. ด้านการประเมินประสิทธิภาพระบบจากผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า โดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ความถูกต้องของเนื้อหามีค่าเฉลี่ยมากที่สุด อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาอยู่ในระดับมากที่สุดเช่นเดียวกัน ข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดอยู่ที่ระดับมาก และพบว่ามี 2 ข้อ คือ ข้อปริมาณของเนื้อหาในแต่ละหน้าและข้อความเหมาะสมของเนื้อหากับระดับของผู้เรียน ทั้ง 2 ข้ออยู่ในระดับมากเช่นเดียวกัน
4. ด้านองค์ความรู้ที่ได้จากการวิจัย พบว่า ระบบพฤติกรรมการบริโภคด้วยปัญญาตามหลักปัจจัย 4 = ระบบเออาร์เอเอ็ม (ARAM System) ประกอบด้วย A = Aliment อาหาร (บิณฑบาต) คือการจัดหา เลือกซื้อและบริโภคอาหารที่เป็นประโยชน์และมีคุณค่าทางโภชนาการ โดยมีสารอาหารครบถ้วนและเพียงพอต่อการเสริมสร้างสุขภาพร่างกาย R = Residence ที่อยู่อาศัย (เสนาสนะ) คือที่อยู่สำหรับพระภิกษุมาประกอบพิธีกรรมและกิจกรรมต่าง ๆ A = Attire เครื่องนุ่งห่ม (จีวร) การใช้สอยเครื่องนุ่งห่มของฆราวาสอย่างรู้คุณค่าแท้ ส่วนภิกษุสงฆ์ต้องนุ่งห่มไตรจีวรให้เรียบร้อยเพื่อป้องกันหนาว-ร้อนและปกปิดความอาย M = Medicine ยารักษาโรค (คิลานเภสัช) คือยาและเครื่องมือใช้รักษาอาการอาพาธต่าง ๆ ของพระภิกษุสามเณรและคนทั่วไป
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The research studied “A Four Paccaya principles-based intellectual consumption behavioral system for Phrapariyattidhamma school students in Nakhon Phanom Province”. The objective of this study were (1) To study knowledge about a Four Paccaya principles-based intellectual consumption behavioral system for Phrapariyattidhamma school students in Nakhon Phanom Province, (2) To develop a Four Paccaya principles-based intellectual consumption behavioral system for Phrapariyattidhamma school students in Nakhon Phanom Province and (3) To evaluate the efficient for a Four Paccaya principles-based intellectual consumption behavioral system for Phrapariyattidhamma school students in Nakhon Phanom Province. It was research and development (R&D) contains document analysis, using tools such as questionnaires and interviews in collecting data testing system from questionnaires with 48 students and data from interviews with the director and 7 teachers/persons, qualitative data analysis using content analysis. Quantitative data were analyzed using percentage statistics. Mean and Standard Deviation. The measurement by using questionnaire and in-depth interview. The recording data, test the system from the questionnaire of 48 students. Data from interviews with the director and teachers, total 7 persons. It was analyzed by quantitative and qualitative with statistic, percentage and standard deviation.
Major Findings:
1. In terms of general knowledge, consumption behavior system with wisdom according to the principles of 4 factors, it was found that: Consumption generally means eating food, drinking water, beverages, using clothing, housing, including medicine for human life in society. In Buddhism, consumption means eating and using four necessities: robes, alms, clothing, and Gilànabhesajja. Food consumption behavior refers to the practice or expression of eating that a person does on a daily basis. Intellectual consumption behavior means using the eyes, ears, nose, tongue, and body to perceive things and then educate them, that is, gain knowledge and be useful.
2. In terms of developing A Four Paccaya principles-based intellectual consumption behavioral system, it was found that (1) In terms of food, overall all items were at a moderate level. When considering each item, it was found that food consumption was on time for every meal, every day. It’s has the most average. Second is that you choose to consume food that is clean and hygienic. at a high level. The item with the lowest average. It is at a low level. You consume all 5 food groups in 1 day.(2) Residential side Overall, all items were at a moderate level. When considering each item, it was found that: Your point of keeping the room in order is the most average. It is at a high level, followed by his participation in restoring and restoring buildings. at a high level. The item with the lowest average. It is at a moderate level. Your residence is a place that provides good protection from cold, heat, and rain. (3) Clothing Overall, every item is at a high level. When considering each item, it was found that: Points of faith in the Kasavapat cloth which is the flag of victory of the Arahant. The highest average was at a moderate level, followed by the question of washing clothing such as robes, monks' robes, sabongs, and angsa by hand, at a moderate level. The item with the lowest average It is at a moderate level. Item: You use clothes and clothing with true knowledge of their value. (4) Regarding medicine, all items were at a moderate level. When considering each item, it was found that: The point about refraining from drinking soft drinks and sugary drinks to reduce sugar in the bloodstream is the highest. It is at a moderate level, followed by walking meditation for 30-60 minutes on a daily basis. It is at a moderate level. The item with the lowest average at the least level. That is, you take care of your body by having an annual health check.
3. In terms of system efficiency evaluation from experts, It was found that overall every aspect was at the highest level. When considering each item, it was found that the accuracy of the content had the highest average at the highest level. Next is also at the highest level. The item with the lowest average was at the high level and found to have 2 items: quantity of content on each page, and the appropriateness of the content to the level of the students, both items were at the same high level.
4.The knowledge gained from the research is A Four Paccaya principles-based intellectual consumption behavioral system = ARAM System, consisting of A = Aliment (Pindapata) It is the procurement, selection and consumption of food that is beneficial and nutritious. It contains complete and sufficient nutrients to enhance physical health. R = Residence (Senasana) It is a residence, a seat, a bed and a place for monks to perform rituals and activities A = Attire (Civara) It’s the use of clothing of Gharavasa with real appreciation. As for the monks, the Sangha must wear complete robes. To prevent cold-heat and conceal embarrassment M = Medicine (Gilànabhesajja) There are medicines and tools used to treat various ailments of monks, novices and ordinary people.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|