-
ชื่อเรื่องภาษาไทยรูปแบบการบรรเทากามคุณจากการใช้เทคโนโลยีของพระสงฆ์ในสังคมปัจจุบัน
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe alleviation of Model of Kāmkhuṇ from the usage of Buddhist monks’ information and communication technology in current society
- ผู้วิจัยพระธีระเดช เตชธมฺโม
- ที่ปรึกษา 1พระมหาทวี มหาปญฺโญ, ผศ. ดร.
- ที่ปรึกษา 2รศ. ดร.แม่ชีกฤษณา รักษาโฉม
- วันสำเร็จการศึกษา31/08/2024
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
- ระดับปริญญาปริญญาเอก
- สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/51475
- ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 401
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีของพระสงฆ์ในสังคมปัจจุบัน 2) เพื่อศึกษาและพัฒนารูปแบบการใช้หลักฝึกจิตตามหลักสติปัฏฐานบรรเทากามคุณของพระสงฆ์ในการใช้เทคโนโลยี 3) เพื่อนำเสนอรูปแบบการบรรเทากามคุณจากการใช้เทคโนโลยีของพระสงฆ์ในสังคมปัจจุบัน การศึกษาวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ และได้มีการเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนาม จากกลุ่มพระสงฆ์บวชใหม่ จำนวน 13 รูป พระผู้ปกครอง 2 รูป พระวิปัสสนาจารย์ และนักวิชาการทางพระพุทธศาสนา จำนวน 4 รูป/คน และคฤหัสถ์ผู้ใกล้ชิดพระสงฆ์บวชใหม่ 10 คน ด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกรายบุคคล และการเก็บข้อมูลด้วยวิธีการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม เพื่อรวบรวมข้อมูลมาวิเคราะห์เชิงพรรณา
ผลการวิจัย พบว่า
พฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีของพระสงฆ์ในปัจจุบัน จะเน้นไปในด้านที่ใกล้ตัวมีความเกี่ยวข้องกับบริบทใช้ชีวิตของพระสงฆ์ แบ่งเป็นการใช้งานหลัก ๆ อยู่ 4 ด้าน คือ 1) ด้านการศึกษา 2) ด้านการสื่อสาร 3) ด้านความบันเทิง และการใช้เทคโนโลยีของพระสงฆ์ในปัจจุบันย่อมส่งผลกระทบด้านลบอยู่ 3 ลักษณะ คือ 1) กระตุ้นกิเลส 2) คลุกคลีอยู่ในหมู่คณะ และ3) หลงเพลิดเพลินอยู่กับความบันเทิง
การพัฒนารูปแบบการใช้หลักฝึกจิตตามหลักสติปัฏฐานบรรเทากามคุณของพระสงฆ์ในการใช้เทคโนโลยี มีจุดที่ควรใช้สติคอยกำกับดูแลอยู่ 4 ด้าน คือ 1. ฝึกจิตตามดูรู้ทันร่างกายและพฤติกรรม 2. ฝึกจิตตามดูรู้ทันเวทนา 3. ฝึกจิตตามดูรู้ทันจิต และ4. ฝึกจิตตามดูรู้ทันอายตนะ โดยการฝึกจิตกับการพัฒนาตนของพระสงฆ์ในปัจจุบันนั้น จะต้องเป็นไปในลักษณะแบบองค์รวม คือ ให้เป็นทั้งศีล สมาธิ ปัญญา ในขณะนั้น ๆ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นการทำงานร่วมกับองค์ธรรม คือ สติสัมปชัญญะ โดยอาศัยปัจจัยภายนอกที่จะนำไปสู่การพัฒนาตน คือ การมีกัลยาณมิตร โดยเฉพาะเวลาพระสงฆ์อยู่ในเครือข่ายเทคโนโลยี ก็จะมีปัจจัยตัวสิ่งแวดล้อม หรือที่เรียกว่า ปรโตโฆสะ โดยใช้คุณสมบัติพื้นฐานของกัลยาณมิตร 7 มาเป็นตัวตัดสินในการเลือกใช้สื่อเทคโนโลยี
รูปแบบการบรรเทากามคุณจากการใช้เทคโนโลยีของพระสงฆ์ในสังคมปัจจุบัน มีโครงสร้างรูปแบบ 3 สมรรถนะ คือ 1. รู้เท่าทัน คือ ทักษะในกาใช้สื่ออย่างตื่นรู้ หรือเรียกว่า “การมีสติรู้เท่าทัน” เป็นการผสมผสานระหว่างการมีสติและสัมปชัญญะที่ทำงานร่วมกันในขณะพระสงฆ์ใช้เทคโนโลยี ทั้งนี้การเพิ่มประสิทธิภาพในการรู้เท่าทัน ตัวพระสงฆ์เองจะต้องมีการฝึกจิตพัฒนาตนไปด้วย โดยผ่านกิจกรรมการฝึกจิตให้ตื่นรู้อยู่ภายใน 2. ใช้กัลยาณมิตร มาเป็นตัวกระตุ้นชักนำจากปัจจัยภายนอกเข้าสู้การฝึกศึกษาทั้งในส่วนของกัลยาณมิตรภายในวัด และกัลยาณมิตรในเครือข่ายที่จะเข้ามาทำหน้าที่ในการที่จะสร้างศรัทธา และปลุกเร้าฉันทะต่อไป โดยผ่านกิจกรรมการนำคุณสมบัติพื้นฐานของหลักกัลยาณมิตร 7 มาเป็นตัวตัดสินในการเลือกเสพสื่อ 3. มุ่งผลสัมฤทธิ์ เป็นกระบวน การที่ต้องใช้เวลา ความมุ่งมั่น และการฝึกศึกษา เพื่อมุ่งผลสัมฤทธิ์ของการพัฒนาตนในลักษณะองค์รวม คือ ครบสิกขา 3 คือ ให้มีทั้ง ศีล สมาธิ ปัญญาในพฤติกรรมเดียว หรือกิจกรรมเดียวในขณะใช้เทคโนโลยีของพระสงฆ์ก็จะเป็นไปตามความคาดหวังของสังคม สามารถนำเทคโนโลยีมาใช้งานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการพัฒนาตนด้วยรูปแบบ “2477 MODEL”
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
In this dissertation, three objectives were purposely made: 1) to study Buddhist monks’ the behaviour in using technology in the present society, 2) to study and develop the mental training model in accordance with four foundations of mindfulness to reduce Kāmaguṇa of the Buddhist monks in using technology, and 3) to present the alleviation model of Kāmaguṇa of Buddhist monks from using technology in the present society. This research employed the qualitative research methodology done by collecting data from field research through in-depth interview and non-participative observation of thirteen newly ordained Buddhist monks including two administrative officers, four Buddhist scholars, and ten laymen who are close to the newly ordained Buddhist monks and then content analysis was also made accordingly.
The research results showed that:
In the present society, the Buddhist monks’ behaviour in using technology is somehow inseparable from their context of living life where its usage can be divided into three aspects: 1) in the education 2) in the communication 3) in the entertainment. The current usage of technology by monks has negative effects in three ways: 1) stimulating passion, 2) mingling with groups, and 3) indulging in entertainment.
In the development of the mental training model in accordance with four foundations of mindfulness to reduce Kāmaguṇa of the Buddhist monks in using technology, mindfulness on four bases needs to be focused: 1) one should be mindful on body and its behaviour, 2) one should be mindful on feeling, 3) one should be mindful on one’s consciousness, and 4) one should be mindful on the functioning sense-bases. Hence, to gain the mentioned bases, Buddhist monks in the present time need to get mind and themselves trained through the holistic manner, that is, the precept, concentration and wisdom need to put into the very moment of practice without any interference where mindfulness and clear comprehension are actualized leading to the perfect development. In this, they need good friendship and other’s voice while dealing with the networks of technology before making decision to use such technology and this could be supported by seven kinds of basic quality of good friendship successfully.
The alleviation of Model of Kāmaguṇa from the usage of Buddhist monks’ information and communication technology in current society needs three types of structural competency model where it consists in the followings: 1) being full awareness; this refers to the skill of mindful using media or what is called ‘having mindfulness on what is being used’ which is mixed up with mindfulness and clear-comprehension while using it whereby its awareness will be more effective and this needs to be done by Buddhist monks who get their mind trained in order to reduce Kāmaguṇa, 2) it needs good friendship to be used as the external motivation into the inner building up of faith where will would be aroused through certain activity where seven types of basic good friendship can be used to judge while making decision to use any media, and 3) it needs the effectiveness of the process where time, determination and study are used so that the holistic training done through threefold training, precept, concentration and wisdom can be actualized by means of one behaviour or activity while using technology of Buddhist monks which would meet the expectation of a society resulting in adding the effectiveness to the required development made by the model named ‘2477 Model’ accordingly.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|