-
ชื่อเรื่องภาษาไทยกระบวนการพัฒนาผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทต้นแบบโดยพุทธสันติวิธี
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Process of Developing Model Dispute Mediators by Buddhist Peaceful Means
- ผู้วิจัยนางสาวกชพร สอดส่อง
- ที่ปรึกษา 1พระพรหมวัชรธีราจารย์, ศ. ดร.
- ที่ปรึกษา 2พระปราโมทย์ วาทโกวิโท, ดร.
- วันสำเร็จการศึกษา07/09/2024
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
- ระดับปริญญาปริญญาเอก
- สาขาวิชาสันติศึกษา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/51501
- ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 474
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ 1)เพื่อศึกษาวิเคราะห์สภาพปัญหา ความจำเป็นต้องการ และแนวคิดทฤษฎีการพัฒนาผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทต้นแบบตามศาสตร์สมัยใหม่ 2)เพื่อศึกษาวิเคราะห์หลักพุทธสันติวิธีที่เอื้อต่อกระบวนการพัฒนาผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทต้นแบบ 3)เพื่อพัฒนาและนำเสนอกระบวนการพัฒนาผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทต้นแบบโดยพุทธสันติวิธี เป็นการวิจัยตามกรอบของอริยสัจโมเดลตามแนวทางของบันได 9 ขั้น ของหลักสูตรสันติศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬลงกรณราชวิทยาลัย
ผลการวิจัยพบว่า
1) สภาพปัญหาของผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พบว่า 1)ผู้ไกล่เกลี่ยขาดทักษะในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทไม่สามารถไกล่เกลี่ยได้ 2)ผู้ไกล่เกลี่ยขาดสติไม่สามารถควบคุมอารมณ์ของตนเองได้เมื่อเผชิญกับคู่กรณี 3)ผู้ไกล่เกลี่ยไม่สามารถวิเคราะห์ประเด็นความขัดแย้งที่เกิดขึ้นได้ 4)ผู้ไกล่เกลี่ยขาดเทคนิควิธีการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทที่เป็นมืออาชีพ 5)ผู้ไกล่เกลี่ยขาดกระบวนการฝึกปฏิบัติด้านการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเรียนเพียงทฤษฎีจึงไม่สามารถไกล่เกลี่ยข้อพิพาทได้
2) หลักพุทธสันติวิธีที่เอื้อต่อกระบวนการพัฒนาผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทต้นแบบ พบว่า หลักไตรสิกขา 3 มุ่งพัฒนาเป็นผู้ไกล่เกลี่ยต้นแบบตามกรอบของ “CAP” มุ่งการพัฒนาปัญญาความรู้เกี่ยวกับแนวคิดเครื่องมือที่เกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับการไกล่เกลี่ย (Cognitive) พัฒนาจิตใจให้มีสติ สมาธิ เพื่อปรับสัมมาทิฐิเพื่อให้มีจิตใจตั้งมั่นสามารถจัดการกับกิเลส (Attitude) และพัฒนาพฤติกรรมและท่าทีของผู้ไกล่เกลี่ยรวมถึงทักษะในการไกล่เกลี่ย (Performance) ภายใต้การบูรณาการเนื้อหาหลักสูตรที่พัฒนาผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทให้เป็นมืออาชีพ โดยผู้ไกล่เกลี่ยสามารถไกล่เกลี่ยได้อย่างเป็นมืออาชีพ สามารถวิเคราะห์ความขัดแย้งผ่านอริยสัจโมเดล พัฒนาคุณลักษณะของผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทด้วยไตรสิกขา และวัดผลประเมินผลผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทผ่านภาวนา 4 ประกอบด้วย วัดผลด้านกายภาพ วัดผลด้านพฤติภาพ วัดผลด้านจิตตภาพ วัดผลด้านปัญญาภาพของผู้ไกล่เกลี่ยต้นแบบ
3) กระบวนการพัฒนาผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทต้นแบบโดยพุทธสันติวิธี พบว่า องค์ความรู้ใหม่ของกระบวนการพัฒนาผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทต้นแบบโดยพุทธสันติวิธี เป็น M M K S Model S Model ประกอบด้วย 1) M (Mindset) พัฒนาวิธีคิดที่ถูกต้องเกี่ยวกับไกล่เกลี่ยข้อพิพาท มีสัมมาทิฐิ มีศรัทธาในการเป็นผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทต้นแบบ ปรารถนาที่จะเป็นผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทโดยมองว่าช่วยคนให้พ้นจากความทุกข์ เป็นด้วยจิตที่บริสุทธิ์ใจไม่มีวาระใด ๆ ซ่อนเร้นจากการเป็นผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท และเชื่อมั่นว่าการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเป็นทางออกที่ดีที่สุดของคู่กรณีที่มีความขัดแย้งกัน 2) M (Mindfulness) พัฒนาด้านสติและสมาธิของผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทต้นแบบ การพัฒนาด้านสันติภายใน สามารถบริหารจัดการอารมณ์ได้ ควบคุมอารมณ์ มีความสงบเย็น เป็นต้นแบบที่ดี สติสัมปชัญญะเป็นธรรมที่มีอุปการะมาก เป็นเครื่องป้องกันไม่ให้เกิดความพลั้งเผลอหรือผิดพลาด คือ 1) สติ ความระลึกได้ 2) สัมปชัญญะ ความรู้ตัว ซึ่งมีสติเมื่อใดสันติจะเกิดเมื่อนั้น 3) K (Knowledge) พัฒนาด้านความรู้เกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท โดยมุ่งความรู้ด้านกฎหมายเกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ประกอบด้วย ความรู้ความเข้าใจการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางแพ่ง ทางอาญา ชั้นอัยการ ก่อนการฟ้องคดี ชั้นบังคับคดีและล้มละลาย แบบพุทธสันติวิธี และวิธีการบริหารคณะทำงานศูนย์ไกล่เกลี่ยภาคประชาชนต้นแบบ โดยมีเป้าหมายสามารถไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเป็นตามขั้นตอนสากลและไกล่เกลี่ยข้อพิพาทพุทธสันติวิธี มีทักษะในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทไปถึงระดับใจจบคดีจบ 4) S (Skill) พัฒนาด้านทักษะการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ประกอบด้วย ทักษะการฟัง ทักษะควบคุมอารมณ์ ทักษะการตั้งคำถาม ทักษะการจัดการกับบุคคลที่มีความยาก ทักษะการโค้ช ทักษะการสะท้อน ทักษะการจับประเด็น ทักษะขั้นตอนการไกล่เกลี่ยให้มีความลื่นไหล และทักษะการเขียนบันทึกข้อตกลงที่ถูกต้อง
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The objectives of this research are as follows; 1. To study and analyze the problems, needs, and theoretical concepts of developing a prototype mediator based on modern sciences. 2. To study and analyze Buddhist Peaceful Means that facilitate the development process of a prototype mediator. 3. To develop and present the process of developing a prototype mediator using Buddhist Peaceful Means.
This research was conducted based on the framework of the Noble Truth Model using the 9-step ladder approach of the Peace Studies curriculum of the Graduate School, Mahachulalongkornrajavidyalaya University.
The research results were found that:
1. Problems Faced by Mediators: 1. Lack of Skills: Mediators lack the necessary skills to mediate disputes effectively. 2. Emotional Control: Mediators are unable to control their emotions when dealing with disputants. 3. Conflict Analysis: Mediators cannot analyze the issues underlying the conflict. 4. Professional Techniques: Mediators lack professional techniques for dispute mediation. 5. Practical Training: Mediators receive only theoretical training without practical experience, which hinders their ability to mediate disputes.
2. Buddhist Peaceful Means Supporting the Development of Model Mediators: The Threefold Training (Tri-Sikkha) aims to develop model mediators under the framework of “CAP” Cognitive: Develops knowledge and understanding of concepts and tools related to mediation. Attitude: Cultivates mindfulness and concentration to foster the right view and mental stability, enabling mediators to manage defilements. Performance: Enhances the behavior, attitude, and skills of mediators, integrating a curriculum to develop professional mediators. Mediators can analyze conflicts using the Four Noble Truths model and develop mediator characteristics through the Threefold Training, with evaluation through the Four Foundations of Mindfulness, including physical, behavioral, mental, and intellectual aspects.
3. Development Process of Model Mediators Using Buddhist Peaceful Means: The new knowledge of the development process for model mediators using Buddhist Peaceful Means is encapsulated in the MMKS Model: Mindset (M): Develops a correct mindset about mediation, fostering the right view, faith in being a model mediator, and the desire to help people overcome suffering with a pure heart and no hidden agendas. Belief that mediation is the best solution for conflicting parties. Mindfulness (M): Enhances mindfulness and concentration, promoting internal peace, emotional management, and control, embodying a good example. Mindfulness prevents mistakes and lapses, with components being awareness and alertness. Knowledge (K): Expands knowledge on mediation, focusing on legal aspects of civil, criminal, pre-litigation, enforcement, and bankruptcy mediation using Buddhist Peaceful Means and managing a prototype public mediation center. The goal is to mediate disputes according to universal and Buddhist Peaceful Means, with skills for resolving cases comprehensively. Skill (S): Improves mediation skills, including listening, emotional control, questioning, handling difficult individuals, coaching, reflecting, identifying key issues, ensuring smooth mediation processes, and correctly drafting agreements.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|