-
ชื่อเรื่องภาษาไทยปัจจัยที่เสริมสร้างพลังใจตามแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อส่งเสริม สุขภาวะทางจิตของผู้สูงอายุในสังคมไทย
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษFactors Strengthening Mental Resilience Based on Buddhist Psychology for Enhancing Mental Well-Being of the Elderly in Thai Society
- ผู้วิจัยนางสาววรัญญา สิริโพธิธนากุล
- ที่ปรึกษา 1รศ. ดร.สิริวัฒน์ ศรีเครือดง
- ที่ปรึกษา 2รศ. ดร.กมลาศ ภูวชนาธิพงศ์
- วันสำเร็จการศึกษา09/09/2024
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/51689
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 745
บทคัดย่อภาษาไทย
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับการเสริมสร้างพลังใจตามแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อส่งเสริมสุขภาวะทางจิตของผู้สูงอายุในสังคมไทย 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่เสริมสร้างพลังใจตามแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อส่งเสริมสุขภาวะทางจิตของผู้สูงอายุในสังคมไทย และ 3) เพื่อเสนอแนวทางเสริมสร้างพลังใจตามแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อส่งเสริมสุขภาวะทางจิตของผู้สูงอายุในสังคมไทย งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณลักษณะการวิจัยเชิงความสัมพันธ์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้สูงอายุที่ใช้สื่อโชเชียลมีเดียในชีวิตประจำวัน ทั้ง 4 ภาคในประเทศไทย ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 399 คน เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ การเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยระหว่าง 2 กลุ่ม การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์หาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน
ผลการวิจัยพบว่า
1. แนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับการเสริมสร้างพลังใจตามแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อส่งเสริมสุขภาวะทางจิตของผู้สูงอายุในสังคมไทย พบว่า หลักธรรมที่เสริมสร้างพลังใจในงานวิจัยนี้ คือ หลักพละ 5 ประกอบด้วย ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญา ทั้ง 5 อย่างนี้มีความสำคัญในการเสริมสร้างพลังในในผู้สูงอายุ และทฤษฎี RQ (Resilience Quotient) เป็นแนวคิดที่ใช้วัดและประเมินความยืดหยุ่นทางจิตใจของบุคคล ซี่งเป็นความสามารถในการปรับตัวและกลับมาได้หลังจากเผชิญกับความยากลำบากหรือความท้าทายในชีวิต มีองค์ประกอบสำคัญ 3 ประการ ได้แก่ 1) ฉันมี 2) ฉันเป็น 3) ฉันสามารถตามแนวคิดของ Dr. Grothberg ที่มุ่งเน้นให้บุคคลสามารถใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ทั้งภายในและภายนอกในการเผชิญหน้ากับความท้าทายและกลับมาสู่สภาวะปกติได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. ปัจจัยที่เสริมสร้างพลังใจตามแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อส่งเสริมสุขภาวะทางจิตของผู้สูงอายุในสังคมไทย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่างอายุ 60-69 ปี มีสถานภาพโสด มีการศึกษา อยู่ระดับต่ำกว่ามัธยมศึกษา ไม่ได้ประกอบอาชีพ และเคยมีประสบการณ์เข้าร่วมโครงการปฏิบัติธรรม กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยสุขภาวะทางจิตอยู่ในระดับมากที่สุด ทั้งยังพบว่า ในภาพรวม ผู้สูงอายุที่มีเพศ อายุ สถานภาพ การศึกษา อาชีพ ต่างกัน มีสุขภาวะทางจิตต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งในภาพรวมและรายด้าน และปัจจัยที่เสริมสร้างพลังใจตามแนวพุทธจิตวิทยามีความสัมพันธ์เชิงบวกกับสุขภาวะทางจิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยปัจจัยที่เสริมสร้างพลังใจตามแนวพุทธจิตวิทยาโดยรวมและรายด้าน มีความสัมพันธ์ในระดับสูงกับสุขภาวะทางจิต ยกเว้นด้านพลังของศรัทธามีความสัมพันธ์ในระดับปานกลางกับสุขภาวะทางจิต ซึ่งการศึกษาปัจจัยเสริมสร้างพลังใจโดยหลักพละ 5 คือ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญา มีผลต่อสุขภาวะทางจิตของผู้สูงอายุในทางแปรผันตามกัน
3. แนวทางเสริมสร้างพลังใจตามแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อส่งเสริมสุขภาวะทางจิตของผู้สูงอายุในสังคมไทย พบว่า ควรมีการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญา
ด้วยการออกกำลังกาย มีงานอดิเรกที่ใจรัก การทำกิจกรรมทางศาสนา หรือการเป็นจิตอาสาช่วยเหลือสังคมตามความถนัดของตน การประยุกต์ใช้หลักพละ 5 ในการฝึกอบรมเสริมสร้างพลังใจแก่ผู้สูงอายุทำให้ผู้สูงอายุมีพลังใจ มีความสามารถในการเผชิญปัญหาและฟันฝ่าอุปสรรค นำไปสู่การมีสุขภาวะทางจิตที่ดี
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
This study aimed 1) to study the concepts and theories on strengthening mental resilience based on Buddhist psychology for enhancing the mental well-being of the elderly in Thai society; 2) to investigate the factors strengthening mental resilience based on Buddhist psychology for enhancing the mental well-being of the elderly in Thai society; and 3) to propose guidelines for strengthening mental resilience based on Buddhist psychology for enhancing the mental well-being of the elderly in Thai society. The study was a quantitative correlational study in nature. The sample of the study consisted of 399 elderly aged 60 years and above from all four regions of Thailand who use social media in their daily lives. The tool for data collection was a questionnaire. Data were analyzed by statistics including frequency, percentage, mean, and standard deviation, hypotheses testing were proved by Independent Sample t-test, One-way ANOVA, and Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient.
The research findings were as follows:
1. The concepts and theories on strengthening mental resilience based on Buddhist psychology for enhancing the mental well-being of the elderly in Thai society encompassed the Five Powers including faith, effort, mindfulness, concentration, and wisdom, hereby strengthening mental resilience in the elderly, and the Resilience Quotient (RQ) theory, developed by Dr. Edith H. Grothberg, was the concept used to measure and evaluate an individual's mental resilience as the ability to adapt and recover from the difficulties or challenges of life based on Dr. Grothberg's RQ model focusing on three key components, namely, "I have," "I am," and "I can," with an emphasis on the use of both internal and external resources to effectively cope with challenges and return to a normal state.
2. Factors strengthening mental resilience based on Buddhist psychology for enhancing the mental well-being of the elderly in Thai society revealed that the majority of the sample were female, aged 60-69 years, single, with an education level below secondary school, unemployed, and with experience participating in meditation programs. The sample of the respondents exhibited a high mean mental well-being score, and also revealed that overall the elderly with different gender, age, marital status, education, and occupation had significantly different mental well-being at .05 level both with overall and individual factors. Furthermore, the factors strengthening mental resilience based on Buddhist psychology showed a significant positive correlation with mental well-being at a .01 both with overall and individual factors, demonstrating a high level of correlation with mental well-being, except for the aspect of faith, which showed a moderate correlation with mental well-being, indicating that a study of the mental resilience with the Five Powers including faith, effort, mindfulness, concentration, and wisdom positively influenced the mental well-being of the elderly in a dependent manner.
3. Guidelines for strengthening mental resilience based on Buddhist psychology for enhancing the mental well-being of the elderly in Thai society revealed that there should be the enhancing of the elderly to develop faith, effort, mindfulness, concentration, and wisdom through activities in terms of exercise, engaging in beloved hobbies, religious activities, or volunteering in community services according to their abilities, indicating that an Application of the Five Powers in the training program resulted in strengthening mental resilience in the elderly to enable them to build psychological immunity to face challenges and overcome obstacles, leading to the state of mental well-being.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|