-
ชื่อเรื่องภาษาไทยปัจจัยเชิงพุทธจิตวิทยาที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน ของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัด
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษBuddhist Psychology Factors Affecting the Efficiency of Provincial Administrative Organization
- ผู้วิจัยนางสาวปทิตตา วิเศษบุปผากุล
- ที่ปรึกษา 1รศ. ดร.สิริวัฒน์ ศรีเครือดง
- ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.สุวัฒสัน รักขันโท
- วันสำเร็จการศึกษา11/09/2024
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
- ระดับปริญญาปริญญาเอก
- สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/51772
- ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 425
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมาย 1) เพื่อศึกษาแนวคิดปัจจัยเชิงพุทธจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัด 2) เพื่อศึกษาปัจจัยเชิงพุทธจิตวิทยาที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัด 3) เพื่อนำเสนอปัจจัยเชิงพุทธจิตวิทยาที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods Research) ประกอบด้วย วิจัยเชิงปริมาณ และวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาค้นคว้าเอกสาร การสัมภาษณ์เก็บข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 17 รูปหรือคน เพื่อสร้างเครื่องมือแบบสอบถาม และการสนทนากลุ่มโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 10 รูปหรือคน ทำการเก็บรวบรวมข้อมูล ประชากรและกลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 204 คน การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาปัจจัยพุทธจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัด ระบบบริหารงานองค์การบริหารส่วนจังหวัดแนวพุทธจิตวิทยา ด้วยอิทธิบาท 4 คือ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา และ จิตวิทยาเชิงบวก คือ การรับรู้ศักยภาพของตนเอง การมีความหวัง มองโลกในแง่ดี และมีความยืดหยุ่น ส่งผลต่อประสิทธิภาพบุคลากร ประกอบด้วย 1) มีทัศนคติที่ดี 2) มีความรู้ดี 3) ด้านเทคนิคการปฏิบัติงาน เกิดประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน 3 ด้าน ได้แก่ คุณภาพงาน ปริมาณงาน และเวลางาน ประสิทธิภาพบุคลากรที่ดี ได้แก่ คนมีศีล คนมีสมาธิ คนมีปัญญา เกิดกุญแจปัจจัยแห่งความสำเร็จ 5 ประการ ได้แก่ 1) ไตรสิกขา บุคลากรมีการพัฒนาจิตใจ 2) ภาวะผู้นำ ผู้นำมีวิสัยทัศน์ 3) แรงจูงใจ บุคลากรมีแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน 4) บริหารกลยุทธ์ การจัดการเชิงกลยุทธ์ และ 5) ความยุติธรรม มีระบบความยุติธรรม
2. ผลการศึกษาปัจจัยเชิงพุทธจิตวิทยาที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัด พบว่า ภาพรวมประสิทธิภาพของบุคลากร อยู่ในระดับ มาก ค่าเฉลี่ย 4.48 พิจารณารายด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านเวลางาน ค่าเฉลี่ย 4.48 (SD = 0.48) รองลงมา คือ ด้านด้านคุณภาพงาน ค่าเฉลี่ย 4.47 (SD = 0.44) และด้านปริมาณงาน 4.43 (SD = 0.45) ผลการเปรียบเทียบ ปัจจัยเชิงพุทธจิตวิทยาที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากร มีค่าเฉลี่ยภาพรวมมากที่สุด คือ หลักอิทธิบาท 4 อยู่ในระดับ มาก ค่าเฉลี่ย 4.30 (SD = 0.69) รองลงมา คือ จิตวิทยาเชิงบวก มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับ มาก 4.21 (SD = 0.72) ตามลำดับ ผลการวิเคราะห์แสดงให้เห็นว่า ปัจจัยเชิงพุทธจิตวิทยาส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากร
3. ผลนำเสนอวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ พบว่า หลักอิทธิบาท 4 มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัด R2 = 0.5 มีนัยสำคัญทางสถิติที่
.05 และจิตวิทยาเชิงบวกมีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัด R2 = 0.6 มีนัยสำคัญทางสถิติที่ .0.5 จากผลสถิติยืนยันได้ว่าสามารถสร้างความสัมพันธ์กับตัวแปรต้นและตัวแปรตามได้
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
This research aimed 1) to study the concepts of Buddhist psychological factors related to the performance of personnel of the provincial administrative organization; 2) to study the Buddhist psychological factors affecting the performance of personnel of the provincial administrative organization; and 3) to present the Buddhist psychological factors affecting the performance of personnel of the provincial administrative organization. It was a mixed-methods research consisting of a quantitative research and qualitative research, using a questionnaire to collect quantitative data from the sample of 204 personnel of the Nakhon Ratchasima Provincial Administrative Organization, and using an in-depth interview to collect qualitative data from documents, an interview with 17 key informants, and a focus group with 10 experts. For analyzing quantitative data, statistics including frequency, mean, percentage, standard deviation, and multiple regression analysis was employed, and for analyzing qualitative data, a content analysis was used, with the following findings.
1. The results of a study of the concepts of Buddhist psychological factors related to the performance of personnel of the provincial administrative organization with the four factors of accomplishment including positive desire, diligence, mind, and investigation, and positive psychology in terms of awareness of one's own potential, hope, optimism, and flexibility. Affecting personnel efficiency, consisting of 1) having a good attitude, 2) having good knowledge, 3) in terms of work techniques, resulting in work efficiency in 3 aspects: quality of work, quantity of work, and working time. Good personnel efficiency includes people with morality, people with concentration, and people with wisdom. There are 5 key factors of success including 1) Tri-sikkha, personnel develop their minds, 2) leadership, leaders with a good vision, 3) motivation, personnel with motivation in work, 4) strategic management, strategic management, and 5) justice, a justice system.
2. The results of a study of Buddhist psychological factors affecting the work efficiency of personnel in the provincial administrative organization indicated the overall efficiency of personnel at a high level with an average of 4.44, considering each aspect, the aspect with the highest average is work time with an average of 4.48 (SD = 0.48), followed by work quality with an average of 4.47 (SD = 0.44), and work quantity with an average of 4.43 (SD = 0.54). The results of the comparison of Buddhist psychological factors affecting the work efficiency of personnel indicated the highest overall mean score of the Four Bases of Iddhipada at a high level, with an average score of 4.30 (SD = 0.69), followed by Positive Psychology at a high level of 4.21 (SD = 0.72), respectively, and the analysis results showed that Buddhist psychology factors affected the performance of personnel.
3. The results of the multiple regression analysis showed that the Four Bases of Iddhipada influenced the performance of personnel in the Provincial Administrative Organization, R2 = 0.5, with statistical significance at .05, and Positive Psychology influenced the performance of personnel in the Provincial Administrative Organization, R2 = 0.6, with statistical significance at .05, and the statistical results confirmed that a relationship could be created between the independent and dependent variables.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|