โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    วิเคราะห์การใช้คำอุปมาเชิงภาษาศาสตร์ในพระสุตตันตปิฎก
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Analysis of Using Linguistic Simile in The Suttantapitaka
  • ผู้วิจัยพระครูชิโนวาทธำรง (ปรีดา ปีติธมฺโม)
  • ที่ปรึกษา 1รศ. ดร.ปรีชา คะเนตนอก
  • ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.วีระกาญจน์ กนกกมลเลศ
  • วันสำเร็จการศึกษา15/03/2021
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:คณะมนุษยศาสตร์
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
  • ระดับปริญญาปริญญาเอก
  • สาขาวิชาภาษาศาสตร์
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/518
  • ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 3
  • จำนวนผู้เข้าชม 12

บทคัดย่อภาษาไทย

ดุษฎีนิพนธ์เรื่องนี้เป็นการวิเคราะห์การใช้คำอุปมาเชิงภาษาศาสตร์ในพระสุตตันตปิฎก โดยมีวัตถุประสงค์ 3 ข้อคือ 1) เพื่อศึกษาการใช้คำเชื่อมในคำอุปมาในพระสุตตันตปิฎก 2) เพื่อศึกษาวิเคราะห์กระบวนการเชื่อมโยงความหมายของคำอุปมาในพระสุตตันตปิฎก และ 3) เพื่อศึกษาวิเคราะห์การเลือกใช้เครื่องมือสื่อสารในคำอุปมาในพระสุตตันตปิฎก ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ข้อมูลจากพระสุตตันตปิฎกเล่มที่ 9 – 14 โดยมีวิธีดำเนินการวิจัยดังนี้ 1. รวมรวมเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2. คัดเลือกข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 3. วิเคราะห์ข้อมูลด้วยกลวิธีทางภาษาศาสตร์ และการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร  
 
ผลการวิจัยพบว่า คำเชื่อมในคำอุปมาเชิงภาษาศาสตร์ในพระสุตตันตปิฎก มี 9 ประเภท ได้แก่คำว่า “เหมือน”  “ดุจ”  “เปรียบเหมือน...ฉันใด...ฉันนั้น”  “เปรียบเหมือน...ฉันใด...ฉันนั้น”  “เปรียบเหมือน”  “เปรียบเหมือน...ฉันนั้นเหมือนกัน”  “...แม้ฉันใด...ฉันนั้นเหมือนกัน”  “...ฉันใด...ฉันนั้นเหมือนกัน”  “ฉันใด...ฉันนั้น”  ส่วนการวิเคราะห์กระบวนการเชื่อมโยงความหมายของคำอุปมาในพระสุตตันตปิฎกพบว่ามี 10 รูปแบบ ได้แก่ กระบวนการเชื่อมโยงความหมายโดยอาศัย ลักษณะ การตีความหมายของหลักธรรม สภาพ กระบวนการคิด ความสามารถ กรณีตัวอย่าง เรื่องย่อหรือเรื่องสั้น การกระทำ การถามตอบ และคุณสมบัติ เพื่อเชื่อมโยงความหมายต้นทางไปสู่ความหมายปลายทาง เป็นการเปรียบเทียบโดยอาศัยความโดดเด่นของสิ่งดังกล่าวมานั้นในเชิงเปรียบเทียบ  ส่วนการเลือกใช้เครื่องมือสื่อสารในคำอุปมาในพระสุตตันตปิฎกพบว่ามี 14 ประเภท ได้แก่ ตะปู มะม่วง แก้วไพฑูรย์ นายช่าง คนเดินทางไกล ยกตัวอย่าง กรณีตัวอย่าง บุคคลตัวอย่าง ภาชนะ เกวียน ผ้า น้ำ ถุง และซากศพ ในการวิจัยครั้งนี้ การวิเคราะห์การเลือกใช้เครื่องมือสื่อสารในคำอุปมาในพระสุตตันตปิฎกอาศัยการอ้างอิงสภาพสังคม วิถีชีวิตและความเป็นอยู่ของผู้คนในสมัยพุทธกาลเป็นสำคัญ และอาศัยการตีความหมายในเชิงบริบททางสังคมวิทยาประกอบการเลือกใช้เครื่องมือสื่อสาร

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

This dissertation was the analysis of using linguistic simile in the Suttantapitaka. The objectives of this dissertation were: 1) to study the using words in the simile in the Suttantapitaka, 2) to study the analysis of the process of the simile meaning in the Suttantapitaka, and 3) to study the analysis of selecting communication equipment of the simile in the Suttantapitaka. The researcher analyzes the information from the Suttantapitaka 9 – 14. The research methods are as follows: 1. Collecting relevant documents and research 2. Selecting data from sample groups 3. Analyzing data using linguistic strategies and this research is documentary research.
 
The result of research has been found that: using the words in the simile in the Suttantapitaka, that is consisted of the dictionary definition was found in 9 types: “as” “like” “look like…as…so” “look like…as…so” “look like” “look like…so that” “…as…so” “…as…so” “as…so”. On analysis an connection process of the meaning of the simile in the Suttantapitaka it was found in 10 types: character, interpretation of Dharma, condition process of thinking, ability, sample case, short story, action, question and answer, and qualification, that connect origin meaning to target meaning and comparison must have distinctive style ed. Selecting communication equipment in the simile in the Suttantapitaka was found in 14 things: tack, mango, cymophane, craftsman, traveler, example, sample case, epitome, container, buckboard, cloth, water, sack, and remains. In this researching selecting communication equipment in the simile in the Suttantapitaka has been made by refer to a state of society, lifestyle and person’ being in the era of the Lord Buddha and interpretation in the sociological context consists of selecting communication equipment.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
Full Text Full Text.pdf 1.49 MiB 3 7 มิ.ย. 2564 เวลา 00:04 น. ดาวน์โหลด