-
ชื่อเรื่องภาษาไทยวิเคราะห์เป้าหมายของพุทธวิธีการสอนในทีฆนิกาย มหาวรรค
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษAn Analytical Study of Buddh’s Teaching Methods in Dighanikaya Mahavagga
- ผู้วิจัยพระมหาสุรศักดิ์ ขนฺติธมฺโม (กุนากุล)
- ที่ปรึกษา 1พระเมธีวรญาณ, ผศ. ดร.
- ที่ปรึกษา 2รศ.พิเศษ ดร.จุฑามาศ วารีแสงทิพย์
- วันสำเร็จการศึกษา18/10/2024
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
- ระดับปริญญาปริญญาเอก
- สาขาวิชาพระไตรปิฎกศึกษา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/51846
- ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 74
บทคัดย่อภาษาไทย
ดุษฎีนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาพุทธวิธีการสอนในพระไตรปิฎก 2) เพื่อศึกษาพุทธวิธีการสอนในทีฆนิกาย มหาวรรค 3) เพื่อวิเคราะห์เป้าหมายพุทธวิธีการสอนในทีฆนิกาย มหาวรรค การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Method) ด้วยการวิจัยทางด้านเอกสาร (Documentary Research) ผลการวิจัยพบว่า
จากการศึกษาพุทธวิธีการสอนในพระไตรปิฎก พบว่าเป็นวิธีการสอนจากสิ่งที่เข้าใจยากไปหาสิ่งที่เข้าใจได้ง่าย เช่นอริยสัจ 4 ทั้งมีวิธีการสอนที่หลากหลาย เช่น วิธีการสอนแบบสากัจฉาหรือสนทนา วิธีการสอนอนุสาสนีหรือแบบบรรยาย วิธีการสอนแบบปุจฉาพยากรณ์ วิธีการสอนแบบนิทานสาธก โดยยกการสอนเป็นประเภทร้อยกรอง ร้อยแก้ว และร้อยกรองผสมกับร้อยแก้ว ที่จัดรวมปิฎกได้ 3 ปิฎกคือวินัยปิฎก สุตตันตปิฎกและอภิธรรมปิฎก มีวิธีการสอนแก่บุคคลทุกชนชั้น มีวิธีการสอนที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล มีการนำอนุสาสนียปาฏิหาริย์มาช่วยประกอบการสอน
พุทธวิธีการสอนในทีฆนิกาย มหาวรรค พบว่ามีการสอนตามเหตุการณ์ระดับสติปัญญาของผู้ฟัง โดยทรงมีพุทธประสงค์ให้เข้าใจ เข้าถึงคำสอนอันประกอบด้วยอุทเทส นิทเทสที่เป็นส่วนภาคปริยัติ ปฏิบัติและปฏิเวธ คือ ที่ปรากฏในมหาปทานสูตร มีเป้าหมายการสอนถึงคุณลักษณะพิเศษ การตรัสรู้ การประกาศธรรมและการเสด็จดับขันธปรินิพพานที่ยิ่งใหญ่ของพระพุทธเจ้า 7 พระองค์ มหานิทานสูตร มีเป้าหมายการสอนธรรมที่เป็นต้นเหตุของธรรมทั้งหมดคือกฏความเป็นเหตุปัจจัยการปรุงแต่งที่เป็นทุกข์และความดับทุกข์ มหาปรินิพพานสูตร มีเป้าหมายการสอนช่วงวาระสุดท้ายของพระชนม์ชีพหลักการและวิธีรักษาพระธรรมวินัย มหาสุทัสสนสูตร มีเป้าหมายการสอนเมืองกุสินาราในอดีตเป็นเมืองใหญ่ปกครองโดยพระเจ้ามหาสุทัสสนะผลสุดท้ายมีกฏไตรลักษณ์ ชนวสภสูตร มีเป้าหมายการสอนถึงธรรมที่มีผลต่อการพัฒนาและเกิดในภพภูมิที่สูงยิ่งขึ้นไปจนถึงบรรลุอรหันต์ มหาโควินทสูตร มีเป้าหมายการสอนอริยมรรคมีองค์ 8 อันเป็นไปเพื่อนิพพาน มหาสมยสูตร มีเป้าหมายการสอนพระสัทธรรมมิใช่เพื่อประโยชน์แก่มนุษย์เท่านั้น แต่เพื่อประโยชน์แก่เทพและสรรพสัตว์ด้วย สักกปัญหสูตร มีเป้าหมายการสอนปัญหาที่ถูกถามโดยท้าวสักกะมี 10 ข้อ มหาสติปัฏฐานสูตร มีเป้าหมายการสอนให้ตั้งสติสัมปชัญญะเพียรพิจารณากายเวทนาจิตธรรม เพื่อกำจัดอภิชฌาและโทมนัส และสาวกวิธีการสอนในปายาสิสูตร มีเป้าหมายการสอนด้วยปฏิภาณเพื่อทำลายความเห็นผิดด้วยอุปมาอุไมย 14 ข้อ
จากการวิเคราะห์เป้าหมายของพุทธวิธีการสอนในทีฆนิกาย มหาวรรค แล้วพบว่า พระพุทธเจ้าทรงมีพุทธประสงค์เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของพุทธบริษัทให้รู้จักอริยสัจมีทุกข์เป็นต้น เพื่อผลักดันเป้าหมายระดับเบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุดให้เกิดแก่พุทธบริษัทด้วยหลักธรรมมีศีลที่เป็นพื้นฐานเบื้องต้นแห่งการปฏิบัติให้สุจริตทางกายวาจาและใจ สมาธิเป็นการอบรมจิตให้สงบ ปัญญาเป็นสิ่งให้เกิดความรู้แจ้งเห็นจริงในสิ่งทั้งปวงตามเป็นจริง เพื่อให้ถึงการดำเนินชีวิตได้เกิดความรู้คู่คุณธรรม รวมถึงการสอน ฝึกฝนบุคคลให้เกิดปัญญาที่แท้จริง เพื่อนำปัญญาที่ได้ไปใช้ในการดำเนินชีวิตให้เกิดความสำเร็จในด้านโลกิยะ และด้านโลกุตตระ ตามศักยภาพหรือบารมีของแต่ละบุคคลที่ได้บำเพ็ญเพียรสะสมมา
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The objectives of this dissertation are 1) to study the Buddha’s teaching methods in Tipiṭaka; 2) to study the Buddha’s teaching methods in Dīghanikāya Mahāvagga; and 3) to analyze the goals of the Buddha’s teaching methods in Dīghanikāya Mahāvagga. The research follows a qualitative method with documentary research. The results of the research revealed that:
From the study of the Buddha’s teaching in Tipiṭaka, it has been described from the advance to the fundamental level. For example, there are various teaching methods to teach the Four Noble Truths, the way of teaching in the form of intelligence or conversation., teaching a monument or lecture, teaching how to teach in prophetic form, teaching how to teach in public fairy tales by lifting the teaching. It is a type of poem, prose, and poem mixed with prose. It can be classified in three sections, which is Vinayapiṭaka, Suttantapiṭaka and Abhidhammapiṭaka. The Buddha had applied some tactic of teaching to all classes of people. There is also a specific that is suitable for each person and brings a miracle of teaching (Anusāsanīpāṭihāriya) to support his own lessons.
The Buddha’s teaching method in the Dīghanikāya Mahāvagga was found to teach according to the level of the listener's intelligence. The Buddha intended to make them acknowledge and access the teachings consisting of Uddesa (concise statement) and Niddesa (description), which are the parts of Pariyatti (the theory), Patipatti (the practice), and Pativedha (the result of the practice). Those that appear in the Mahāpadānasutta, which intend to explain the special characteristics, enlightenment, the proclamation of the Dhamma, and the great passing away of the seven Buddhas. The Mahānidānasutta try to illuminate the cause of all Dhamma, which is the law of causation, the fabrication of suffering, and the cessation of suffering. The Mahāparinibbānasutta plans to teach of the Buddha’s finale as well as the principles and methods of preserving the Dhamma and Vinaya. The Mahāsudassanasutta intends to describe the great city ‘Kusinārā’ of the King Mahāsudassana in the past, whose result was the law of the three characteristics. The Janavasabhasutta tries to teach the Dhamma that affects development and birth in higher realms until reaching Arahatship (the Ultimate Sainthood). The Mahāgovindasutta plans to educate the Noble Eightfold Path guiding to Nibbāna. The Mahāsamayasutta tries to instruct the true Dhamma not only for the benefit of mankind but for the sake of gods and other creatures as well. The Sakkapaṇhasutta has the goal of teaching in ten questions asked by Lord Sakka. The Mahāsatipaṭṭhānasutta intends to teach to establish mindfulness and awareness considering the body, feelings, mind, and phenomena in order to eliminate lust and sorrow. Finally, the teaching method of the disciples in Pāyāsisutta has taught cultivating wisdom to destroy the Micchādiṭṭhi (wrong views) through fourteen similes.
From the analysis of the goals of the Buddha’s teaching methods in the Dīghanikāya Mahāvagga, it was found that the Buddha intended to develop the quality of life of the Buddhists to know the Noble Truths of suffering, etc., to push the initial, middle, and ultimate goals for the Buddhists with the principles of morality as the foundation of honest practice of body, speech, and mind. Samādhi (Tranquility Meditation) is the practice of the mind to be calm. Pañña (wisdom) is what gives the knowledge and true understanding of all things as they really are to pursue the purpose of life; those are knowledge and virtue. Furthermore, the Buddha intended to teach and train humans to achieve true wisdom for the purpose that they are capable of exercising the wisdom gained in life to achieve success in both secular and transcendental aspects (according to the potential or merit of each person who has accumulated it so far).
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|