-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการศึกษาเปรียบเทียบแนวคิดเรื่องเสรีภาพในสัญญาประชาคมของฌอง-ฌาคส์รุสโซกับแนวคิดเสรีภาพในอนาธิปไตย ของมิคาอิล บาคูนิน
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษA Comparative Study of Jean–Jacques Rousseau’s concept of freedom in the Social Contract and Michael Bakunin’s concept of freedom in Anarchy
- ผู้วิจัยพระณัฐวุฒิ ฐานธมฺโม (สุขสด)
- ที่ปรึกษา 1พระมหาพรชัย สิริวโร, ผศ. ดร.
- ที่ปรึกษา 2ศ. ดร.สมภาร พรมทา
- วันสำเร็จการศึกษา18/10/2024
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาปรัชญา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/51850
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 669
บทคัดย่อภาษาไทย
วิทยานิพนธ์นี้ชื่อ “การศึกษาเปรียบเทียบแนวคิดเรื่องเสรีภาพในสัญญาประชาคมของฌอง-ฌาคส์รุสโซกับแนวคิดเสรีภาพในอนาธิปไตย ของมิคาอิล บาคูนิน”มีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดเสรีภาพใน สัญญาประชาคม ของ ฌอง-ฌาคส์ รุสโซ 2) เพื่อศึกษาแนวคิดเสรีภาพในปรัชญาอนาธิปไตยของ มิคาอิล บาคูนิน และ 3) เพื่อศึกษาเชิงเปรียบเทียบแนวคิดเสรีภาพในสัญญาประชาคม ของ ฌอง-ฌาคส์ รุสโซและแนวคิดเสรีภาพในปรัชญาอนาธิปไตยของ มิคาอิล บาคูนินการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิเคราะห์เอกสาร ตำรา และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องแล้วเปรียบเทียบแนวคิดโดยใช้กรอบความเหมือนและความต่างแล้วประเมินความเป็นไปได้ในการนำไปประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาแนวคิดเรื่องเสรีภาพในทฤษฎีการเมืองร่วมสมัย
จากการศึกษาพบว่า ฌอง-ฌาคส์ รุสโซเชื่อว่าเสรีภาพที่แท้จริงเกิดขึ้นจากการที่ประชาชนอยู่ภายใต้กฎหมายที่สะท้อนเจตจำนงร่วม ผ่านกระบวนการสร้างสัญญาประชาคม ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญในการจัดตั้งรัฐที่ยุติธรรม รัฐทำหน้าที่ปกป้องเสรีภาพและความยุติธรรม โดยจำกัดการกดขี่ที่อาจเกิดขึ้นจากอำนาจภายนอก ในขณะที่มิคาอิล บาคูนิน เชื่อว่ารัฐเป็นศัตรูของเสรีภาพ เพราะรัฐมักสร้างการควบคุมและกดขี่ประชาชน เขาเสนอการล้มล้างรัฐและสถาบันต่างๆ เพื่อสร้างสังคมอนาธิปไตยที่ปราศจากการรวมศูนย์อำนาจ ซึ่งจะทำให้บุคคลสามารถปกครองตนเองได้อย่างแท้จริง
จากการศึกษาเปรียบเทียบนี้พบว่า แม้ว่ารุสโซและบาคูนินต่างมุ่งหมายที่จะสร้างเสรีภาพให้กับมนุษย์ แต่แนวทางของทั้งสองแตกต่างกันอย่างมาก รุสโซเห็นว่ารัฐที่ยุติธรรมสามารถเป็นเครื่องมือในการส่งเสริมเสรีภาพได้ ในขณะที่บาคูนินเน้นย้ำว่ารัฐเป็นอุปสรรคสำคัญต่อเสรีภาพ การผสมผสานแนวคิดทั้งสองอาจนำไปสู่การสร้างรัฐที่กระจายอำนาจอย่างยุติธรรม ยึดหลักเจตจำนงร่วม ส่งเสริมเสรีภาพปัจเจกบุคคล และใช้รูปแบบประชาธิปไตยโดยตรง เพื่อลดการรวมศูนย์อำนาจและป้องกันการกดขี่จากรัฐ จากการประเมินแนวคิดเรื่องเสรีภาพของทั้งสอง งานวิจัยนี้ให้เหตุผลว่า แนวคิดเรื่องเสรีภาพในสัญญาประชาคมของรุสโซมีความเป็นไปได้ที่จะสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาแนวคิดทางการเมืองร่วมสมัย เพราะมีการยอมรับแนวคิดเรื่องรัฐ ส่วนแนวคิดเรื่องเสรีภาพของบาคุนินนั้นเป็นไปได้ยาก เพราะปฏิเสธแนวคิดเรื่องรัฐ การปฏิเสธเรื่องนี้ในการเมืองร่วมสมัยย่อมจะไม่สามารถหาพื้นที่ทดลองแนวคิดเรื่องเสรีภาพได้เลย
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
This thesis entitled "A comparative study of Jean–Jacques Rousseau’s concept of freedom in the Social Contract and Michael Bakunin’s concept of freedom in Anarchy"has three objectives: 1) to study the concept of freedom in the Social Contract of Jean-Jaques Rousseau, 2) to study the concept of freedom in Michael Bakunin’s Anarchy, and 3) to comparatively study on the concept of freedom in the Social Contract of Jean-Jaques Rousseau and the concept of freedom in Makhail Bakunin’s Anarchy. This research employed the qualitative research methodology done by related documents, texts and research works and then the comparison of both concepts was made through the framework of similarities and differences and then its possibility in the application to the development of concept of freedom in the contemporary political theories was also assessed accordingly.
In the research, it was clearly found that, on the one hand, according to Jean-Jaques Rousseau’s viewpoint, the real freedom is created by the way people are under the law which reflects on general will through the process of constructing social contract whereby it will become the essential key in establishing the just state. Under this, the state’s duty is to protect the freedom and justice by limitation of the oppression which would be precipitated by external force, on the other hand, according to Michael Bakunin’s viewpoint, he holds that the state is the enemy of freedom because the state is always inclined to control and oppress citizen and then he comes to propose that the state and various institutions should be wiped out in order to construct the anarchy which decentralizes the centre of power where people can govern themselves completely.
From the comparison of the proposed concepts of freedom, it clearly showed that although both Rousseau and Bakunin similarly aim at the creation of freedom to human being, yet their ways completely vary. While Rousseau is of the view that the just state can be used as the instrument leading to the promotion of freedom, Bakunin lays emphasis on the obstacle of freedom caused by the state. If both concepts of freedom are properly integrated, then it would establish the state that decentralize the power justly through following the general will which promotes individual freedom and the direct form of Democracy is used to decentralize the centre of power including the protection of oppression done by the state. Once both concepts of freedom are assessed, this research argues that it is possible to apply the concept of freedom in the Social Contract of Rousseau to the development of contemporary political theories as it endorses the concept of the state, but Bakunin’s the concept of freedom faces the difficulty because it rejects the concept of the state. Consequently, such a rejection finds no place for the experimentation of the concept of freedom in contemporary politics accordingly.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|