โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    ความรักในฐานะรากฐานของความสุขในทัศนะพุทธปรัชญาเถรวาท
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษLove as the Base of Happiness in the View of Theravada Buddhist Philosophy
  • ผู้วิจัยนางสาวสุภิศรา บุญช่วย
  • ที่ปรึกษา 1พระมหาขวัญชัย กิตฺติเมธี, ผศ. ดร.
  • ที่ปรึกษา 2พระครูโกศลศาสนบัณฑิต, รศ. ดร.
  • ที่ปรึกษา 3ศ. ดร.สมภาร พรมทา
  • วันสำเร็จการศึกษา09/09/2024
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
  • ระดับปริญญาปริญญาเอก
  • สาขาวิชาปรัชญา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/51897
  • ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 150

บทคัดย่อภาษาไทย

การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1. ศึกษาแนวคิดเรื่องความรักในพุทธปรัชญาเถรวาท 2. ศึกษาแนวคิดเรื่องความสุขในพุทธปรัชญาเถรวาท 3. วิเคราะห์ความรักในฐานะเป็นรากฐานของความสุขในพุทธปรัชญาเถรวาท เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ จากการวิจัยพบว่า

1. พุทธปรัชญาเถรวาทชี้ว่าในขั้นโลกุตระความรักเป็นรากฐานของความทุกข์แต่ในขั้นโลกียะถือว่าความรักเป็นรากฐานของความสุขได้

2. พุทธปรัชญาเถรวาทพูดถึงความสุขไว้หลายประเด็น เช่น สุขเพราะไม่มีหนี้ เนื่องจากดำเนินชีวิตได้อย่างเหมาะสม มีความรักที่สมดุล และสุขในฌานเนื่องจากปฏิบัติตามหลักการในทางศาสนาพุทธได้ในระดับสูง

3. สำหรับการวิเคราะห์ความรักในฐานะที่เป็นรากฐานของความสุขในพุทธปรัชญาเถรวาทนั้นพบว่า ความรักเท่านั้นที่จะทำให้มนุษย์ทุกคนเกิดความสุข นิยามของความรักคือความสุข และสิ่งที่จะทำให้เรามีความสุขนั้นมีปัจจัยหลายอย่างมาส่งเสริมให้เราเกิดความสุขที่แท้จริง มนุษย์ทั้งหลายในโลกนี้มองความรักเป็นที่สิ่งสวยงาม มีคุณค่าทางจิตใจ และชีวิตของมนุษย์ทุกคนเกี่ยวข้องกับความรัก ซึ่งทัศนะของพุทธปรัชญา เถรวาท มีขอบเขตกว้างและครอบคลุมความรักทุกประเภท การแบ่งประเภทของความรักในทัศนะพุทธปรัชญาเถรวาท สามารถจำแนกได้เป็น 5 ประเภท ได้แก่ สิเนหะ เปมะ กามะ เมตตา และฉันทะ ในด้านบ่อเกิดของความรักในทัศนะพุทธปรัชญาเถรวาทมีทัศนะในด้านของความรักทั้งปวงเป็นเจตสิกเข้าไปประกอบกับจิต ก่อให้เกิดความรักประเภทต่าง ๆ ในด้านจุดสูงสุดของความรักแบบฉันทะจะนำไปสู่นิพพาน อันเป็นจุดหมายสูงสุด และนิพพานนี้เป็นภาวะหนึ่งของผู้มีความรักและไม่มีกิเลส สามารถดับตัณหาอุปาทานโดยสิ้นเชิง สิ้นภพชาติไม่มีการเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏ ในทัศนะพุทธปรัชญาเถรวาทถือว่า หลักอริยมรรค มีองค์ 8 เป็นแนวทางเพื่อไปสู่นิพพาน คือ ความเห็นชอบ ดำริชอบ เจรจาชอบ กระทำชอบ เลี้ยงชีพชอบ พยายามชอบ ระลึกชอบ และตั้งจิตมั่นชอบ คนต้องมีความรักคือมีฉันทะในการปฏิบัติตามหลักอริยมรรค จึงจะไปถึงนิพพานอันเป็นสุขสูงสุด

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

This research has 3 objectives: . To study the concept of love in Theravada Buddhist philosophy. 2. To study the concept of happiness in Theravada Buddhist philosophy. 3. To analyze love as the foundation of happiness in Theravada Buddhist philosophy. This is qualitative research. From the study, it has been found that:

1.Theravada Buddhist philosophy has pointed out that in the Lokuttara level , love is the base of suffering, but in the Lokiya level, love is the base of happiness.

2. Theravada Buddhist philosophy has said about happiness in various ways. For example, people are happy because they have no debts; people are happy because they arrange their living in suitable ways; people are happy because they get good lover; and people are happy as the result of the attainment of Jhana.

3. Concerning the idea that love is the base of happiness in the view of Theravada Buddhist philosophy, it can be said that all humans in this world view love as a beautiful thing. Love is a value in the mind of every human being. There are many kinds of love mentioned in Buddhist texts as follows.

In summary, there are 5 kinds of love: sinehā, pema, kamma, metta and chanda. In terms of its nature, love is a mental state. Ideally, people can go to nirvana through the way of love, and the love within this context is chanda. The eightfold path that is supported by chanda, namely, right opinion, right thought, right negotiation, right action, right livelihood, right effort, right remembering, and right concentration, is the way that would lead people to nirvana. 

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ