โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    ศึกษาวิเคราะห์คุณค่าของความเมตตาตามแนวสุวรรณสามชาดก
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษAn Analytical Study of the Value of Mettā in the Suvaṇṇasāma Jātaka
  • ผู้วิจัยนายวิทยา สุวรรณพันธุ์
  • ที่ปรึกษา 1รศ. ดร.แม่ชีกฤษณา รักษาโฉม
  • ที่ปรึกษา 2ผศ. พิเศษ ดร.อรชร ไกรจักร์
  • วันสำเร็จการศึกษา12/11/2024
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/51901
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 30

บทคัดย่อภาษาไทย

การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาเมตตาบารมีในคัมภีร์พระพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษาการบำเพ็ญเมตตาบารมีในสุวรรณสามชาดก และ 3) เพื่อวิเคราะห์คุณค่าของความเมตตาตามแนวสุวรรณสามชาดก เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร โดยศึกษาจากคัมภีร์พระพุทธศาสนาวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา

ผลการศึกษาวิจัยพบว่า เมตตาบารมีในคัมภีร์พระพุทธศาสนา หมายถึง ความรัก ความปรารถนาดี มีไมตรี คิดเกื้อกูลให้ผู้อื่นและสรรพสัตว์ทั้งปวงมีความสุข ความเจริญ การบำเพ็ญเมตตาเป็นการละอกุศลและการเจริญกุศลเพื่อประโยชน์แก่ผู้ปฏิบัติและเพื่อพระโพธิญาณ แบ่งเป็น 3 ระดับ ได้แก่ (1) การบำเพ็ญเมตตาบารมีเบื้องต้นคือการอุทิศด้วยทรัพย์สมบัติและบริวารทั้งหลาย  (2) เมตตาอุปบารมี คือการบำเพ็ญบารมีขั้นกลาง อุทิศอวัยวะน้อยใหญ่ในร่างกายตน และ (3) เมตตาปรมัตถบารมี คือการบำเพ็ญบารมีขั้นสูงอุทิศด้วยชีวิตของตน อานิสงส์ของผู้มีเมตตาได้แก่ (1) หลับเป็นสุข (2) ตื่นเป็นสุข (3) ไม่ฝันร้าย (4) เป็นที่รักของมนุษย์ทั้งหลาย (5) เป็นที่รักของอมนุษย์    (6) เทวดาทั้งหลายรักษา (7) ไฟ ยาพิษหรือศัสตรากล้ำกลายไม่ได้ (8) จิตตั้งมั่นเร็ว (9) สีหน้าสดใส (10) ไม่หลงลืมสติตาย (11) คุณวิเศษแห่งเมตตาอันยอดยิ่งส่งผลให้เข้าถึงพรหมโลก

การบำเพ็ญเมตตาบารมีในสุวรรณสามชาดก ตั้งแต่การเสวยชาติเป็นสุวรรณสามพระโพธิสัตว์ พระองค์พึงระลึกอยู่เสมอว่ามารดาบิดาคือพรหมของบุตรจึงได้ปรนนิบัติต่อบิดามารดาด้วยความรักและปรารถนาให้มีความสุขยิ่งขึ้น เมตตาที่มีต่อพระเจ้าปิลยักษ์ด้วยการให้อภัย ไม่โกรธเคืองพยาบาทและกล่าววาจาไพเราะอ่อนหวานในขณะสนทนาแม้ตนนั้นจะถูกศรธนูอาบยาพิษทะลุข้างขวาไปยังข้างซ้ายจนกระอักเป็นเลือดออกมาด้วยความทุกข์ทรมานและเมื่อฟื้นขึ้นมายังเมตตาแสดงธรรม การบำเพ็ญเมตตาบารมีต่อสัตว์ต่อสิ่งแวดล้อม ป่าไม้ แม่น้ำ ด้วยการไม่เบียดเบียน ไม่ทำร้าย ไม่ฆ่า ไม่ทำลาย ช่วยปกป้องและอนุรักษ์สัตว์ป่าและสิ่งแวดล้อม และคุณค่าของความเมตตาตามแนวสุวรรณสามชาดก ปรากฏให้เห็นเด่นชัดในความรัก ความปรารถนาดี มีความกตัญญูรู้คุณและตอบแทนบุญคุณ การให้อภัย ความอดทน การละความพยาบาท ประพฤติตนเป็นผู้นอบน้อมถ่อมตนและการมีจิตเมตตาอันบริสุทธิ์อันเป็นคุณค่าของการบำเพ็ญเมตตาบารมีในการนำไปสู่มรรคผลนิพพาน

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

In this research, three objectives were purposely made: 1) to study mettā pāramī (the perfections of loving-kindness) in Buddhist scriptures, 2) to study the cultivation of mettā pāramī in the Suvaṇṇasāma Jātaka, and 3) to analyze the value of mettā in the Suvaṇṇasāma Jātaka. The study employed a documentary research method done by examining Buddhist scriptures and then the descriptive analysis was made accordingly.

The study found that mettā in Buddhist scriptures basically refers to loving-kindness, friendliness, and goodwill towards others and all sentient beings for happiness and prosperity. The development of mettā involves avoiding unwholesomeness and promoting wholesomeness to benefit practitioners and acquire enlightenment knowledge (bodhiñana). This enlightenment knowledge is divided into three levels: 1) the cultivation of mettā pāramī referring to the dedication of one’s wealth and servants, 2) the cultivation of mettā upapāramī referring to superior perfections by dedicating organs in one’s body, and 3) the cultivation of mettā paramatthapāramī referring to supreme perfections by devoting one’s life. Those who practice loving-kindness receive the following benefits: 1) peaceful sleep, 2) joyful awakenings, 3) no nightmares, 4) being loved by all human beings, 5) being beloved by all nonhuman beings, 6) being protected by all deities, 7) being safe from fire, poisons, and weapons, 8) having a concentrated mind, 9) having a bright face, 10) being mindful, and 11) attaining the Brahma world.

The cultivation of mettā in the Suvaṇṇasāma Jātaka has begun since he was born as Bodhisatta Suvaṇṇasāma where he recalled that parents were the creator of children, thus he treated them with affection and kindness in order to make their parents happy. Suvaṇṇasāma still showed his loving-kindness and forgiveness to King Piliyakkha despite being wounded by a poisoned arrow that entered his right body and exited on the left side. Despite pain and blood spurting from his mouth, Suvaṇṇasāma delivered the stanzas of loving-kindness to the King. In order to cultivate mettā toward animals, the environment, forests, and rivers, one must refrain from taking advantage of them, harming, destroying, and instead must preserve and protect them. According to the Suvaṇṇasāma Jātaka, mettā corresponds to value such as modesty, loving-kindness, forgiveness, patience, goodwill, and the cessation of vengeance. All of this will eventually lead to the way, fruition, and Nibbāna.

 

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ