โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: library@mcu.ac.th

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    ศึกษาวิเคราะห์ความสุขในการดำเนินชีวิตตามแนวสุขสูตร
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษAn Analytical Study of Happiness in Living Life according to the Sukha Sutta
  • ผู้วิจัยพระมหาเกิดมั่น ถิรวโร (จูงวงษ์สุข)
  • ที่ปรึกษา 1พระปัญญาวัชรบัณฑิต, รศ. ดร.
  • ที่ปรึกษา 2รศ. ดร.แม่ชีกฤษณา รักษาโฉม
  • วันสำเร็จการศึกษา12/11/2024
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/51902
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 31

บทคัดย่อภาษาไทย

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ 1) เพื่อศึกษาความสุขในคัมภีร์พระพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษาความสุขในสุขสูตร 3) เพื่อศึกษาวิเคราะห์ความสุขในการดำเนินชีวิตตามแนวสุขสูตร เป็นการวิจัยเชิงเอกสารโดยศึกษาจากพระไตรปิฎกและอรรถกถาพร้อมทั้งเอกสารที่เกี่ยวข้อง

ผลการวิจัยพบว่า ความสุขในพระพุทธศาสนา คือ ความสุขกายสุขใจ ความสุขสบายสำราญที่ได้เสวยอารมณ์ที่น่าปรารถนา น่าพอใจยินดีทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ปรากฏความสุขถึง 4 ระดับ คือ 1) กามสุข 2) ฌานสุข 3) นิโรธสมาปัตติสุข 4) นิพพานสุข ในกามสุขเป็นของปุถุชนทั่วไปเป็นสุขที่ต่ำ หยาบ ในฌานสุขและนิโรธสมาปัตติสุขเป็นสุขที่ละเอียด ประณีตกว่า ส่วนนิพพานสุขเป็นสุขที่สูงสุด เป็นความสงบ ละเอียดประณีตยิ่งกว่าสุขทั้งหมด

ความสุขในสุขสูตรมี 5 พระสูตร ได้แก่ 1) สุขสูตร 2) ปฐมสุข 3) ทุติยสุขสูตร 4) สุขปัตถนาสูตร 5) สุขโสมนัสสสูตร เป็นพระสูตรที่นำไปสู่การปฏิบัติเพื่อให้ถึงความสุขได้ด้วยคลายความยินในอารมณ์ที่ประสบเข้า ด้วยการเห็นความเกิดเป็นทุกข์ ด้วยการยินดีเป็นสุข ด้วยการมีศีล การคบคนดี และการยินดีธรรมทั้ง 6 ประการ คือ (1) พระธรรม (2) ภาวนา (3) การละ (4) ปวิเวก (5) ไม่พยาบาท (6) ธรรมเครื่องไม่เนิ่นช้า ใน 5 พระสูตรนี้ สุขปัตถนาสูตรเป็นสุขแบบโลกิยะสำหรับคฤหัสถ์ พระสูตรที่เหลือเป็นสุขแบบโลกุตตระสำหรับบรรพชิต

ความสุขในการดำเนินชีวิตของคฤหัสถ์ คือ การมีเงินมีทองใช้สอยไม่ขาด ประกอบอาชีพที่สุจริต มีชื่อเสียง มีมิตรสหายที่ดี ให้ทานแบ่งบันผู้อื่น พอใจยินดีในสิ่งที่ตนมี ตั้งมั่นในศีล 5 ศีล 8 ไม่ขาด มีเมตตา เจริญสติ ภาวนากัมมัฏฐาน สำหรับบรรพชิต คือ การรักษาพระธรรมวินัย สำรวมกายวาจา บำเพ็ญภาวนา เจริญกัมมัฏฐาน มีสติอยู่ทุกเมื่อ มักน้อยสันโดษ เห็นความไม่เที่ยงแท้ของทุกสิ่งในโลก ปล่อยวางอารมณ์ที่ประสบเข้า ไม่ยึดมั่นถือมั่น ไม่พยาบาทอาฆาต เพียรฝึกตนเพื่อตัดกิเลสภายในจิตเพื่อเข้าถึงนิพพาน จนนำไปสู่การดำเนินชีวิตอย่างมีความสุขที่ยั่งยืนตามหลักสุขสูตร 

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

In this research, three objectives were purposely made: 1) to study happiness in Buddhist scriptures, 2) to study happiness in the Sukha Sutta, and 3) to analytically study happiness in living life according to the Sukha Sutta. This documentary research studies Tipiṭaka, its commentaries, and related documents.

The results showed that happiness in Buddhism basically means physical and mental happiness embracing a sense of ease and satisfaction from experiencing desirable and pleasing emotions through the eyes, ears, nose, tongue, body, and mind. Happiness comprises four levels: 1) kāmā-sukha, 2) jhānā-sukkha, 3) nirodhasamāpatti-sukha, and 4) Nibbāna-sukkha. Sensual happiness is for ordinary people and is considered inferior. jhānā-sukkha and nirodhasamāpatti-sukha are superior. Nibbāna-sukkha is the ultimate happiness, surpassing all other forms, embodying peace and utmost refinement.

The happiness in the Sukha Sutta can be classified into the five Suttas: 1) Sukha Sutta, 2) Pathama Sukha Sutta, 3) Dutiya Sukha Sutta, 4) Sukapatthanā Sutta, and 5) Sukhasomanassa Sutta. These suttas guide practitioners to attain happiness by relinquishing attachment to sensory experiences, understanding the arising of suffering, taking joy in happiness, upholding moral discipline, associating with good people, and delighting in the six aspects of the Dhamma: (1) the Dhamma, (2) meditation, (3) renunciation, (4) solitude, (5) non-ill will, and (6) non-procrastination. Among these five Suttas, Sukapatthanā Sutta provides worldly happiness for laypeople, while the other Suttas provide supramundane happiness for the ordained. 

Happiness in living life of laypeople includes financial stability, having an honest profession, having a good reputation, associating with good friends, giving to others, contentment, constantly observing the Five or Eight Precepts, cultivating kindness, and practicing mindfulness through meditation. For the ordained, happiness includes upholding the Dhamma-Vinaya, maintaining restraint in body and speech, engaging in meditation, cultivating mindfulness at all times, living a life of few desires and contentment, realizing the impermanence of all things, letting go of attachment, and training oneself to eradicate defilements to attain Nibbāna. These practices lead to a happy and sustainable life according to the principles of the Sukha Sutta.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ