โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    ความรับผิดทางอาญาและพระธรรมวินัยของพระภิกษุ: ศึกษากรณีพระภิกษุกระทำผิดฐานยักยอก
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษCriminal Liability and Dhamma Vinaya of Monks: A Case Study of Monks Commited offenses of Embezzlement
  • ผู้วิจัยนายไพศาล นาสุริวงศ์
  • ที่ปรึกษา 1ดร.วรพจน์ ถนอมกุล
  • ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.ประเสริฐ ลิ่มประเสริฐ
  • วันสำเร็จการศึกษา13/09/2024
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญานิติศาสตรมหาบัณฑิต (น.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชานิติศาสตร์
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/51904
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 18

บทคัดย่อภาษาไทย

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับคุณธรรมทางกฎหมายของความผิดฐานยักยอกตามประมวลกฎหมายอาญาแห่งราชอาณาจักรไทย และพระธรรมวินัย 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบโครงสร้างและองค์ประกอบของความผิดฐานยักยอกตามประมวลกฎหมายอาญาต่างประเทศ ประมวลกฎหมายอาญาแห่งราชอาณาจักรไทย และพระธรรมวินัย 3) เพื่อวิเคราะห์ความคล้ายคลึงและความแตกต่างกันของความผิดฐานยักยอกตามประมวลกฎหมายอาญาต่างประเทศ ประมวลกฎหมายอาญาแห่งราชอาณาจักรไทย และพระธรรมวินัย 4)เพื่อให้ได้ข้อสรุปและข้อเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปรับปรุงประมวลกฎหมายอาญาและกฎหมายที่เกี่ยวข้องในการกระทำความผิดของพระภิกษุที่ประพฤติผิดฐานยักยอกตามประมวลกฎหมายอาญาแห่งราชอาณาจักรไทยเพื่อให้สอดคล้องกับพระธรรมวินัย 

การดำเนินการวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาจากเอกสาร ข้อมูล และหนังสือตำราวิชาการ กฎหมายระหว่างประเทศ กฎหมายของต่างประเทศ กฎหมายไทย และพระสูตรต่างๆ ในพระพุทธศาสนาเถรวาท เป็นการวิจัยโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เชิงพรรณนา การ ตีความหมาย และการสังเคราะห์

ผลการวิจัยพบว่า

1. คุณธรรมทางกฎหมายของความผิดฐานยักยอกตามประมวลกฎหมายอาญาแห่งราชอาณาจักรไทย และพระธรรมวินัย มีลักษณะเหมือนกันคือมุ่งคุ้มครองกรรมสิทธิ์ในทรัพย์เหมือนกัน ในขณะเดียวกันในทางพระธรรมวินัยมุ่งคุ้มครองพรหมจรรย์ของพระภิกษุในพระพุทธศาสนาเพื่อขจัดความมัวหมองที่จะเกิดขึ้นในหมู่แห่งพระสงฆ์ แต่ในทางกฎหมายอาญาซึ่งเป็นฝ่ายราชอาณาจักรต้องการคุ้มครองกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของบุคคลอื่นและความสงบเรียบร้อยของสังคม 

2. โครงสร้างและองค์ประกอบของความผิดฐานยักยอกตามประมวลกฎหมายอาญาต่างประเทศ ประมวลกฎหมายอาญาแห่งราชอาณาจักรไทย และพระธรรมวินัยจะมีโครงสร้างทางอาญาเหมือนกัน การครบองค์ประกอบที่กฎหมายบัญญัติโครงสร้างองค์ประกอบความผิดคือ องค์ประกอบภายนอก และองค์ประกอบภายในทั้งเป็นความผิดกฎหมายการกระทำที่เป็นความผิดฐานยักยอกของสหพันธ์สาธาณรัฐเยอรมนี ประเทศฝรั่งเศส ประเทศไทย และพระธรรมวินัยข้อทุติย ปาราชิก ต้องมีการเบียดบังทรัพย์มาเป็นของตน ความรู้ผิดและชอบก็คือคุณธรรมทางกฎหมาย สหพันธ์สาธาณรัฐเยอรมนีและประเทศไทย คุณธรรมทางกฎหมายก็คือการคุ้มครองกรรมสิทธิ์ ส่วนประเทศฝรั่งเศส คุณธรรมทางกฎหมายคือความไว้วางใจ และพระธรรมวินัยข้อทุติยปาราชิกคุณธรรม ทางกฎหมายคือพรหมจรรย์ของพระภิกษุในพระพุทธศาสนา 

3. ความคล้ายคลึงและความแตกต่างกันของความผิดฐานยักยอกตามประมวลกฎหมาย อาญาต่างประเทศ ประมวลกฎหมายอาญาแห่งราชอาณาจักรไทย และพระธรรมวินัย 

ความคล้ายคลึงกันของความผิดฐานยักยอกตามประมวลกฎหมายอาญาของสหพันธ์ สาธาณรัฐเยอรมนี กฎหมายอาญาของสาธารณรัฐฝรั่งเศส กฎหมายอาญาแห่งราชอาณาจักรไทย และพระธรรมวินัยข้อทุติยปาราชิก คือการเบียดบังเอาทรัพย์ของผู้อื่นหรือผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยมาเป็นของตน ทั้งเจตนาในการกระทำความผิดก็เหมือนกันคือเบียดบังเอาทรัพย์ของผู้อื่นมาเป็นของตน 

ความแตกต่าง 1.ผู้กระทำความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญาต่างประเทศ และ ประมวลกฎหมายอาญาแห่งราชอาณาจักรไทย เป็นบุคคลทั่วไปหรือบุคคลตามกฎหมาย ส่วนพระธรรมวินัยข้อทุติยปาราชิกเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนาเท่านั้น 2. มูลค่าทรัพย์ ตามประมวล กฎหมายอาญาต่างประเทศ และประมวลกฎหมายอาญาแห่งราชอาณาจักรไทยไม่ได้กำหนดมูลค่าไว้ ส่วนพระธรรมวินัยข้อทุติยปาราชิก มูลค่าทรัพย์ต้อง 5 มาสก หรือ 1 บาท ขึ้นไป 3. โทษตามประมวลกฎหมายอาญาต่างประเทศ และประมวลกฎหมายอาญาแห่งราชอาณาจักรไทย โทษที่ลงแก่ผู้กระทำความผิดมีทั้งจำคุก และปรับ ส่วนพระธรรมวินัยข้อทุติยปาราชิก โทษคือขาดจากความเป็น พระภิกษุซึ่งถือว่าเป็นโทษร้ายแรงเท่ากับโทษประหารของกฎหมายอาญาแห่งราชอาณาจักรไทย เพราะถึงขั้นไม่สามารถกลับมาบวชเป็นพระภิกษุได้อีก ไม่มีโทษจำคุก และปรับ 4. คุณธรรมทาง กฎหมายที่ต้องการคุ้มครอง ตามประมวลกฎหมายอาญาของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และประมวลกฎหมายอาญาแห่งราชอาณาจักรไทย ต้องการคุ้มครองกรรมสิทธิ์ของเจ้าของทรัพย์ กฎหมายอาญาของสาธารณรัฐฝรั่งเศส ต้องการคุ้มครองการไว้วางใจ ส่วนพระธรรมวินัยข้อทุติย ปาราชิก ต้องการคุ้มครองพรหมจรรย์ของพระภิกษุ

4. ข้อสรุปและข้อเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปรับปรุงประมวลกฎหมายอาญาและ กฎหมายที่เกี่ยวข้องในการกระทำความผิดของพระภิกษุที่ประพฤติผิดฐานยักยอกตามประมวล กฎหมายอาญาแห่งราชอาณาจักรไทยเพื่อให้สอดคล้องกับพระธรรมวินัย 1. ขอเสนอให้มีการแก้ไข เพิ่มเติม ประมวลกฎหมายอาญาแห่งราชอาณาจักรไทยเป็นมาตรา 352/1 2.ขอเสนอแก้ไขเพิ่มเติม ประมวลกฎหมายอาญาแห่งราชอาณาจักรไทย ในมาตรา 356 3. ขอเสนอแก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 ในหมวดที่ 4 เรื่อง นิคหกรรม และการสละสมณเพศ เป็นมาตรา 26 วรรค 2 

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

The objectives of this research were: 1) to study the concept and theory of the legal interest of the offence of embezzlement under the Criminal code of the Kingdom of Thailand and Dhamma Vinaya, 2) to compare the structure and components of the offence of embezzlement under the foreign Criminal code, the offence of embezzlement under the Criminal code of the Kingdom of Thailand and Dhamma Vinaya, 3) to analyze the similarity and difference of the offence of embezzlement under the foreign Criminal code, the offence of embezzlement under the Criminal code of the Kingdom of Thailand and Dhamma Vinaya, and 4) to find the conclusion, suggestion and guidelines for improving the Criminal code and related law in the offence of the monks that misbehaved in the embezzlement under the Criminal code of the Kingdom of Thailand to conform to Dhamma Vinaya. This research applied the Qualitative Research by studying the academic document, data and textbooks, international law, foreign law, Thai law, and Sutta in Theravada Buddhism, and analyzing the data with descriptive analysis, interpretation, and synthesis. 

The research results were as follows:

1. The legal interest of the offence of embezzlement under the Criminal code of the Kingdom of Thailand and Dhamma Vinaya was similar: to protect the ownership of property. Moreover, Dhamma Vinaya focused on protecting the chastity of the monks in Buddhism to eliminate the impurity of the monks. The criminal law must protect the ownership of property and the peace of the society. 

2. The structure and components of the offence of embezzlement under the foreign Criminal code, the offence of embezzlement under the Criminal code of the Kingdom of Thailand and Dhamma Vinaya were similar. The completion of components that the law legislated the components structure of the offence was the external and internal components that was the offence of embezzlement in Germany, France, Thai and Dhamma Vinaya on Dutiyaparajika. The legal interest in Germany and Thai was the ownership of property. Moreover, the legal interest in France was the trust. The legal interest in Dhamma Vinaya on Dutiyaparajika was the chastity of the monks.

3. The similarity and difference of the offence of embezzlement under the foreign Criminal code, the offences of embezzlement under the Criminal code of the Kingdom of Thailand and Dhamma Vinaya found that the similarity was to embezzle the property of other people intentionally. However, the difference was: 1) the offender in the foreign Criminal code and the Criminal code of the Kingdom of Thailand was the general people or person according the law, but the offender in Dhamma Vinaya on Dutiyaparajika was the monks in Buddhism, 2) the property value in the foreign Criminal code and the Criminal code of the Kingdom of Thailand was unlimited, but the property value in Dhamma Vinaya on Dutiyaparajika was 5 Masaka or more than 1 baht, 3) the penalty in the foreign Criminal code and the Criminal code of the Kingdom of Thailand was the imprisonment and fine, but the penalty in Dhamma Vinaya on Dutiyaparajika was without the monkhood as well as death penalty in the criminal law of the Kingdom of Thailand, and 4) the legal interest that protected under the Criminal code in Germany and the Kingdom of Thailand wanted to protect the ownership of property, the criminal law in France wanted to protect the trust, but Dhamma Vinaya on Dutiyaparajika wanted to protect the chastity of the monks. 

4. The guidelines for stipulating the criminal liability to the monks that misbehaved in the embezzlement under the Criminal code of the Kingdom of Thailand to conform to Dhamma Vinaya were: 1) modifying the Criminal code of the Kingdom of Thailand as Section 352/1, 2) modifying the Criminal code of the Kingdom of Thailand in Section 356, and 3) modifying the Sangha Act, B.E. 2505 and the Sangha Act (No. 2), B.E. 2535 in the Chapter 4 on “Niggahakamma and Leaving Monkhood” as Section 26 Paragraph 2. 

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ