-
ชื่อเรื่องภาษาไทยแนวทางการสร้างมนุษยสัมพันธ์ในองค์กรตามหลักสาราณียธรรม 6 ของผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพที่ 4 จังหวัดปทุมธานี
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษGuidelines for Building Human relations in Organizations according to the 6 Saraniyadhamma Principles of School Administrators in the Efficiency Promotion Network Group No. 4 Pathum Thani Province
- ผู้วิจัยนางสาวแพรวรุ่ง ศรีประภา
- ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.พีรวัฒน์ ชัยสุข
- ที่ปรึกษา 2ดร.สทิศ สวัสดี
- วันสำเร็จการศึกษา12/01/2025
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/51946
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 30
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นการสร้างมนุษยสัมพันธ์ในองค์กรของผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพที่ 4 2) เพื่อศึกษาวิธีการสร้างมนุษยสัมพันธ์ในองค์กรตามหลักสาราณียธรรม 6 ของผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพที่ 4 และ ๓) เพื่อเสนอแนวทางการสร้างมนุษยสัมพันธ์ในองค์กรตามหลักสาราณีย ธรรม 6 ของผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพที่ 4 จังหวัดปทุมธานี งานวิจัยแบบผสานวิธี ระหว่างงานวิจัยเชิงปริมาณ และงานวิจัยเชิงคุณภาพ งานวิจัยเชิงปริมาณ ใช้กลุ่มตัวอย่างครู จำนวน 165 คน เก็บรวบรวมข้อมูลแบบสอบถามความคิดเห็น สถิติวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความต้องการจำเป็นที่สถานศึกษาต้องการให้เกิดขึ้นด้วยวิธี Priority Needs Index (PNI) วิเคราะห์เนื้อหาการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญด้านการบริหารและด้านศาสนา จำนวน ๙ รูป/คน
ผลการวิจัยพบว่า
1. ด้านการสื่อสารองค์กรมีความต้องการจำเป็น ต่อการสร้างมนุษยสัมพันธ์ในองค์กรที่มีความสำคัญมากที่สุด เพราะว่าผู้บริหารและครู มีการสื่อสารองค์กรที่สร้างสรรค์สามัคคี (PNImodified=0.072) มีภาวะความเป็นผู้นำองค์กร (PNImodified=0.072) ในการสร้างบรรยายกาศองค์กร (PNImodified=0.061) กับเพื่อนร่วมงานในองค์กร (PNImodified=0.061) และไม่สร้างความขัดแย้งในองค์กร (PNImodified=0.046)
2. ผลการศึกษาวิธีการสร้างมนุษยสัมพันธ์ในองค์กรตามหลักสาราณียธรรม 6 มีดังนี้ 1) ผู้บริหารมีการจัดสภาพแวดล้อมในสถานศึกษาให้เป็นบรรยากาศที่น่าเรียนรู้ 2) มีการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ดีเพื่อส่งเสริมความร่วมมือและเพิ่มประสิทธิภาพในองค์กร ๓) การบริหารจัดการองค์กรหรือสื่อสารอย่างสร้างความสามัคคีเพื่อสร้างเชื่อมั่นในองค์กร 4) การพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมแก่บุคลากรเพื่อสร้างความเชื่อมั่นในการรับผิดชอบงานด้วยความโปร่งใส
๓. แนวทางการสร้างมนุษยสัมพันธ์ในองค์กรตามหลักสาราณียธรรม 6 ของผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพที่ 4 จังหวัดปทุมธานี ดังนี้ 1) การพัฒนาสภาพแวดล้อม ผู้บริหารควรส่งเสริมการสนับสนุนและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เพื่อสร้างความอบอุ่นในองค์กรให้บุคลากรทุกคนรู้สึกว่าปลอดภัยและจัดให้มีสภาพแวดล้อมที่ดีในการทำงานอย่างเป็นกลัยาณมิตร 2) การสร้างวัฒนธรรมองค์กร ควรสร้างบรรยากาศเปิดกว้างที่สนับสนุนการสื่อสารดีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและลดความขัดแย้งในองค์กร ๓) การบริหารจัดการองค์กร ควรสื่อสารที่ชัดเจนช่วยเสริมสร้างความเชื่อมั่นระหว่างบุคลากรกับบุคลากรให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และ 4) คุณธรรมและจริยธรรมในการบริหาร ส่งเสริมการสร้างความเชื่อมั่นด้านคุณธรรมแก่บุคลกรเพื่อให้เกิดความสามัคคีในองค์กร มีความเหมาะสม เป็นไปได้และใช้ประโยชน์ในระดับมาก ตามองค์ความรู้จากการวิจัย NAMO
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
This research aims to 1) study the necessity to build human relations in the organization of the school administrators in the 4th efficiency promotion network group, 2) study the method to build human relations in the organization according to the 6 Saraniya Dhamma principles of the school administrators in the 4th efficiency promotion network group, and 3) propose the method to build human relations in the organization according to the 6 Saraniya Dhamma principles of the school administrators in the 4th efficiency promotion network group in Pathum Thani province. The mixed-method research used a sample of 165 teachers. Data was collected using a questionnaire on opinions. Statistics analyzed the mean, standard deviation, and the value of necessity that the school wanted to happen using the Priority Needs Index (PNI) method. The content of the interviews with 9 experts who are experts in administration and religion were analyzed.
The research results found that:
1. In terms of organizational communication, it is essential for building human relations within the organization. This is because the administrators and teachers engage in creative communication that fosters unity (PNImodified=0.072), demonstrate organizational leadership (PNImodified=0.072), create a positive organizational atmosphere (PNImodified =0.061), interact well with colleagues (PNImodified =0.046), and avoid creating conflicts within the organization (PNImodified =0.046).
2. The results of the study of methods to build human relations in the organization according to the principles of the 6 Saraniya Dharma are as follows: 1) Executives arrange the environment in the educational institution to be an atmosphere conducive to learning. 2) Create a good organizational culture to promote cooperation and increase efficiency in the organization. 3) Manage the organization or communicate to create unity to build trust in the organization. 4) Develop morality and ethics for personnel to build confidence in taking responsibility for work with transparency.
3. Guidelines for building human relations in the organization according to the principles of the 6 Saraniya Dharma of the educational institution executives in the efficiency promotion network group 4, Pathum Thani Province are as follows: 1) Develop the environment. Executives should promote mutual support and assistance to create warmth in the organization so that all personnel feel safe and provide a good working environment as a friend. 2) Creating organizational culture should create an open atmosphere that supports good communication to increase work efficiency and reduce conflict in the organization. 3) Organizational management should have clear communication to help build trust between personnel to work effectively. 4) Morality and ethics in management promote the creation of moral confidence among personnel to create unity in the organization. These guidelines are considered appropriate, feasible, and highly beneficial, in line with the NAMO knowledge framework.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|