-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการวิเคราะห์หลักสิทธิมนุษยชนของพระภิกษุตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาและหลักสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับสิทธิทางการเมือง
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษAnalysis of the Principles of Human Rights of Monks according to Religious Principles Buddhism and Human Rights Principles related to Political Rights
- ผู้วิจัยพระรังสิมันตุ์ จารุวํโส
- ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.ประเสริฐ ลิ่มประเสริฐ
- ที่ปรึกษา 2ดร.วรพจน์ ถนอมกุล
- วันสำเร็จการศึกษา01/09/2024
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญานิติศาสตรมหาบัณฑิต (น.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชานิติศาสตร์
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/51950
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 25
บทคัดย่อภาษาไทย
วิทยานิพนธ์เรื่องนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัย คือ 1) เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของพระพุทธศาสนารวมทั้งพระธรรมวินัย และกฎหมายสงฆ์ที่เกี่ยวข้อกับการจำกัดสิทธิทางการเมืองของพระสงฆ์ 2) เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎีหลักสิทธิมนุษยชนทางการเมือง ศึกษากฎหมายรัฐธรรมนูญและกฎหมายอื่น และกฎหมายระหว่างประเทศ ที่เกี่ยวข้องการจำกัดสิทธิทางการเมืองของพระสงฆ์ 3) เพื่อวิเคราะห์บทบาทของพระพุทธศาสนาทางการเมืองนับแต่อดีตถึงปัจจุบัน กฎหมายสงฆ์ กฎหมายรัฐธรรมนูญและกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องการจำกัดสิทธิทางการเมืองของพระสงฆ์ เปรียบเทียบกับหลักสิทธิมนุษยชนของพระสงฆ์ 4) เพื่อสรุปผลการศึกษาวิจัยและเสนอแนวทางการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายว่าด้วยสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับคณะสงฆ์
บทบาทของพระพุทธศาสนากับการเมืองในสมัยพุทธกาลกับกรุงสุโขทัยจึงมีลักษณะเป็นไปในทิศทางเดียวกัน คือ เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนหมู่มาก โดยการนำพระธรรมคำสอนและแบบอย่างที่ดีงามในสมัยพุทธกาลมาปรับใช้ในยุคสมัยกรุงสุโขทัย เป็นไปในลักษณะถ้อยทีถ้อยอาศัยซึ่งกันและกัน จึงมีการปกครองในลักษณะพ่อปกครองลูก คือปกครองโดยธรรม
บทบาทของพระพุทธศาสนากับการเมืองไทยในยุคสมัยพุทธกาล ยุคสมัยกรุงสุโขทัย จึงมีความแตกต่างอย่างเห็นได้ชับกับยุคกรุงศรีอยุธยาจนกระทั้งถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น โดยเฉพาะในสมัยรัชกาลที่ 3 ถึงรัชกาลที่ 5 ที่มีผลให้กิจการงานคณะสงฆ์ต้องเข้าไปยุ้งเกี่ยวกับการเมืองอย่างหลีกเลี่ยงมิได้ และที่เห็นได้ชัดเจนคือกลุ่มกบฏผีบุญที่เกิดมีขึ้นทั้งในหัวเมืองต่าง ๆ ที่มีพระสงฆ์เป็นผู้นำแนวคิดต่อต้านอำนาจรัฐ จึงทำให้จารีตศีลจาริยวัตรของพระภิกษุสงฆ์ยุคนี้ต่างกับยุคสมัยพุทธกาลและยุคสมัยกรุงสุโขทัยที่ฝ่ายพุทธจักรมีหน้าที่แนะนำให้คำปรึกษาด้วยธรรม เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ศรัทธาประชาชนคนหมู่มากเป็นสำคัญ
จากการศึกษาบทบาทของพระสงฆ์นับแต่สมัยพระพุทธเจ้าจนถึงปัจจุบันในเรื่องสิทธิและเสรีภาพที่เกี่ยวข้องการการเมือง และเพื่อให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 34 ว่าด้วยสิทธิเสรีการแสดงความคิดเห็น เป็นการจำกัดสิทธิทางการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งของพระภิกษุ จึงขอเสนอแนะให้ยกเลิก ด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561 มาตรา 32 (1) เสีย ซึ่งเดิมได้บัญญัติไว้ว่า
มาตรา 69 บุคคลผู้มีลักษณะดังต่อไปนี้ในวันเลือกตั้ง เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้ง
(1) เป็นพระภิกษุ สามเณร นักพรต หรือนักบวช
(2) อยู่ในระหว่างถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งไม่ว่าคดีนั้นจะถึงที่สุดแล้วหรือไม่
(3) ต้องคุมขังอยู่โดยหมายของศาลหรือโดยคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
(4) วิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
แก้ไขเป็น
มาตรา 69 บุคคลผู้มีลักษณะดังต่อไปนี้ในวันเลือกตั้ง เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้ง
(1) อยู่ในระหว่างถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งไม่ว่าคดีนั้นจะถึงที่สุดแล้วหรือไม่
(2) ต้องคุมขังอยู่โดยหมายของศาลหรือโดยคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
(3) วิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
ทั้งนี้ เมื่อได้ยกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 69 (1) ออกเสียแล้ว พระสงฆ์จักได้มีบทบาทเป็นที่ปรึกษาหรือมีบทบาทชี้นำทางการเมืองที่ถูกที่ควรแก่สังคมได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ มาตรา 133 (3) ที่บัญญัติให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งหมื่นคนเข้าชื่อเสนอกฎหมาย ตามหมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The research objectives of this thesis are 1) to study the history of Buddhism including the Dhamma and Vinaya. and ecclesiastical laws related to the restriction of political rights of monks. 2) To study the theoretical principles of political human rights. Study constitutional law and other laws. and international law related to the restriction of political rights of monks 3) To analyze the role of Buddhism in politics from the past to the present, monastic law, constitutional law, and other laws related to limiting political rights of monks. Compare with the principles of human rights of monks. 4) To summarize the research results and propose guidelines for improving and amending human rights laws related to the monks.
The role of Buddhism and politics in the Buddha's time and Sukhothai are therefore in the same direction, that is, for the benefit of the masses. By applying the Dhamma teachings and good examples from the Buddha's time to the Sukhothai period. It is in a way that speaks to each other. Therefore there is governance in the manner of father ruling over children. that is, rule by righteousness.
The role of Buddhism and Thai politics in the Buddha's era Sukhothai era Therefore, there is a noticeable difference from the Ayutthaya period until the early Rattanakosin period. Especially during the reigns of King Rama III to King Rama V, which resulted in the Sangha's affairs inevitably being involved in politics. And what is clearly seen is the Phi Bun rebel group that has arisen in various cities with monks leading the idea of resisting state power. As a result, the precepts and morals of monks in this era are different from those of the Buddha era and the Sukhothai era, where the Buddhist Chakra division had the duty to give advice and give advice with Dhamma. For the benefit and benefit of the faith of the masses of people is important.
From the study of the role of monks from the time of the Buddha to the present in matters of rights and freedoms related to politics. And to be in line with the Constitution of the Kingdom of Thailand 2017, Section 34 regarding the right to express opinions. It is a restriction on the voting rights of monks. Therefore, I would like to recommend that it be cancelled. With the election of members of the House of Representatives in 2018, Section 32 (1) is broken, which originally stated that
Section 69. Persons who have the following characteristics on election day: Being a person prohibited from exercising voting rights
(1) being a monk, novice, ascetic, or religious
(2) is in the process of having the right to vote revoked, regardless of whether the case has become final or not;
(3) Must be detained by court warrant or lawful order.
(4) Insanity or mental infirmity.
Edited to
Section 69. Persons who have the following characteristics on election day: Being a person prohibited from exercising voting rights
(1) is in the process of having the right to vote revoked, regardless of whether the case has become final or not;
(2) Must be detained by court warrant or lawful order.
(3) Insanity or mental infirmity.
In this regard, once Section 69 (1) of the Constitution of the Kingdom of Thailand 2017 has been lifted, monks will be able to play an advisory role or have a political guidance role that is appropriate for society in accordance with the constitutional law. Section 133 (3) which provides for not less than ten thousand eligible voters to submit their names to propose laws according to Chapter 3 Rights and Freedoms of the Thai People.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|