โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมตามหลักไตรสิกขากับการควบคุมตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนแสนสุข อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษA Study of the Relationship between Behavior according to the Threefold Learning and Self-control of Junior High School Students at Saensuk School, Mueang District, Chonburi Province
  • ผู้วิจัยนางสาวภัทรชวนันท์ พัฒนธัญธนธรณ์
  • ที่ปรึกษา 1พระมหาเผื่อน กิตฺติโสภโณ, ผศ. ดร.
  • ที่ปรึกษา 2ดร.ประสิทธิ์ แก้วศรี
  • วันสำเร็จการศึกษา09/12/2024
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาชีวิตและความตาย
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/51977
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 44

บทคัดย่อภาษาไทย

การศึกษาวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย ได้แก่ 1) เพื่อศึกษาระดับพฤติกรรมตามหลักไตรสิกขากับการควบคุมตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนแสนสุข อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมตามหลักไตรสิกขากับการควบคุมตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนแสนสุข อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้กลุ่มตัวอย่าง 304 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ซึ่งแบบสอบถามเกี่ยวกับการควบคุมตนเอง มีค่าความเชื่อมั่น .778 แบบสอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมตามหลักไตรสิกขา มีค่าความเชื่อมั่น .857 ใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่และค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสหสัมพันธ์ Pearson Correlation

ผลการศึกษาพบว่า 1) พฤติกรรมตามหลักไตรสิกขา ของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีค่าเฉลี่ยรวม 3.28 เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านสมาธิมีค่าเฉลี่ยสูงสุดที่ 3.47 รองลงมาคือ ด้านปัญญาที่ 3.33 และด้านศีลมีค่าเฉลี่ยต่ำสุดที่ 3.04 ทุกด้านแปลผลอยู่ในระดับปานกลาง

และการควบคุมตนเองของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีค่าเฉลี่ย 3.20  2) พฤติกรรมตามหลักไตรสิกขามีความสัมพันธ์ในทางบวกกับการควบคุมตนเอง โดยค่าสหสัมพันธ์อยู่ที่ 0.503 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ซึ่งบ่งบอกว่ามีความสัมพันธ์ในระดับปานกลางระหว่างสองปัจจัย

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

The objectives of this research were: 1) to study the level of behavior based on the Threefold Training (Trisikkhā) and self-control among lower secondary students at Saensuk School, Mueang District, Chonburi Province, and 2) to examine the relationship between behaviors based on the Threefold Training and self-control among the students. This study was quantitative research with a sample size of 304 students. Data were collected through questionnaires. The reliability of the self-control questionnaire was .778, while the reliability of the questionnaire on behavior based on the Threefold Training was .857. Simple random sampling was employed. Data were analyzed using descriptive statistics such as frequency, percentage, mean, and standard deviation, along with Pearson's product-moment correlation coefficient to examine relationships between variables.

The results revealed that: 1) The behavior based on the Threefold Training of the participants was at a moderate level, with an overall mean score of 3.28. When examined by sub-dimensions, Samadhi (concentration) had the highest mean score (3.47), followed by Paññā (wisdom) at 3.33, and Sīla (morality) with the lowest mean score of 3.04. All sub-dimensions were interpreted at a moderate level. The self-control of the participants was also at a moderate level, with a mean score of 3.20.

2) The behavior based on the Threefold Training showed a positive correlation with self-control, with a Pearson's product-moment correlation coefficient of 0.503, which was statistically significant at the 0.01 level. This result indicates a moderate relationship between the two variables.

 

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ