โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    ภาวะผู้นำตามหลักปาปณิกธรรมของผู้บริหารเทศบาลเมืองท่าเรือ พระแท่น อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษPāpaṇikadhamma Style Leadership of Administrators of Tha Ruea Phra Thaen Town Municipality, Tha Maka District,
  • ผู้วิจัยพระปัญญา โชติธมฺโม (แก้วหาวงค์)
  • ที่ปรึกษา 1ผศ.ดร.ธิติวุฒิ หมั่นมี
  • ที่ปรึกษา 2ผศ.ดร.เกียรติศักดิ์ สุขเหลือง
  • วันสำเร็จการศึกษา14/03/2019
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:บัณฑิตวิทยาลัย
  • ชื่อปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต (ร.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/522
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 1,808
  • จำนวนผู้เข้าชม 3,192

บทคัดย่อภาษาไทย

           การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาภาวะผูันําของผู้บริหารเทศบาลเมืองท่าเรือพระแท่น อําเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี 2. เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของพนักงานที่มีต่อการภาวะผู้นําตามหลักปาปณิกธรรมของผู้บริหารเทศบาลเมืองท่าเรือพระแท่น โดยจําแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างหลักปาปณิกธรรมกับภาวะผู้นําของผู้บริหารเทศบาลเมืองท่าเรือพระแท่น อําเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี 4. เพื่อศึกษาแนวทางการส่งเสริมภาวะผู้นําตามหลักปาปณิกธรรมของผู้บริหารเทศบาลเมืองท่าเรือพระแท่น อําเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรีระเบียบวิธีวิจัยเป็นแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.937 สํารวจจากกลุ่มตัวอย่าง คือพนักงานเทศบาลเมืองท่าเรือพระแท่น จํานวน 110 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการทดสอบค่าเอฟ ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ด้วยวิธีของเพียร์สัน และการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสําคัญจํานวน 12 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนาผลการวิจัยพบว่า
           1. ระดับภาวะผู้นําของผู้บริหารเทศบาลเมืองท่าเรือพระแท่น อําเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.98, S.D. = 0.475) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ ( = 3.88, S.D. = 0.551) ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ( = 3.96, S.D. = 0.568) ด้านการกระตุ้นให้ใช้ปัญญา ( = 3.94, S.D. = 0.583) และด้านการคํานึงถึงปัจเจกบุคคล ( = 3.94, S.D. = 0.524) อยู่ในระดับมาก
           2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของพนักงานที่มีต่อการภาวะผู้นําตามหลักปาปณิกธรรมของผู้บริหารเทศบาลเมืองทาเรือพระแท่น อําเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี จําแนกตามปัจจัยส่วนบุคลพบว่า พนักงานที่มี การศึกษา และเงินเดือน ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการภาวะผู้นําตามหลักปาปณิกธรรมของผู้บริหารเทศบาล แตกต่างกัน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย ส่วนพนักงานที่มี เพศ อายุ ตําแหน่ง ต่างกันมีความคิดเห็นต่อภาวะผู้นําตามหลักปาปณิกธรรมของผู้บริหารเทศบาล ไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย
           3. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยเกี่ยวกับหลักปาปณิกธรรมกับภาวะผู้นําของผูบริหารเทศบาลเมืองท่าเรือพระแท่น จังหวัดกาญจนบุรี พบว่าปัจจัยเกี่ยวกับหลักปาปณิกธรรมมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับภาวะผู้นําของผู้บริหารเทศบาล โดยภาพรวม อยู่ในระดับสูง (R=.885**)จําแนกตามรายด้านพบว่า ด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ อยู่ในระดับสูง (r=.743**)ด้านการสร้างแรงบันดาลใจอยู่ในระดับสูง (r=.786**) ด้านการกระตุ้นให้ใช้ปัญญาอยู่ในระดับสูง(r=.797**) ด้านการคํานึงถึงปัจเจกบุคคลอยู่ในระดับสูง (r=.819**) 
           4. แนวทางการส่งเสริมภาวะผู้นําตามหลักปาปณิกธรรมของผู้บริหารเทศบาลเมืองท่าเรือพระแท่น อําเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี 1) ด้านจักขุมา (วิสัยทัศน์) ผู้บริหารควรเข้าใจทิศทางของแผนและวิสัยทัศน์ขององค์กร และเพื่อสื่อสารต่อไปยังผู้ใต้บังคับบัญชาโดยการทําความเข้าใจหลักการบริหาร 2) ด้านวิธูโร (ความสามารถด้านการบริหาร) ผู้บริหารควรปรับเปลี่ยนทัศนคติของผู้บริหารให้มีใจเปิดกว้างและต้องมีการบริหารในด้านต่างๆ ให้เสมอภาคกันให้กับพนักงาน และสามารถแก้ไขร่วมกับการพัฒนารวมทั้งสร้างแรงจูงใจ และจริงใจในการปฏิบัติ 3) ด้านนิสสยสัมปันโน(มนุษยสัมพันธ์) ผู้บริหารเป็นบุคคลที่มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีก็จะเป็นบุคคลที่สามารถเข้ากับผู้อื่นได้ง่ายมีจิตสาธารณะที่เป็นที่รักใคร่ของผู้อื่นใครเห็นใครก็อยากอยู่ใกล้ ควรเอาใจใส่บุคลากรสร้างความเชื่อมั่นและสร้างความผูกพันให้ทุกคนในองค์กร

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

          The objectives of this research were: (1) to study Pāpaṇikadhamma Style Leadership of Administrators of Tha Ruea Phra Thaen Town Municipality, Tha Maka District, Kanchanaburi Province, (2) to compare the officials’opinions on Pāpaṇikadhamma Style Leadership of Administrators of Tha Ruea Phra Thaen Town Municipality, Tha Maka District, Kanchanaburi Province, (3 ) to study correlations between Pāpaṇikadhamma Style Leadership of Administrators of Tha Ruea Phra Thaen Town Municipality, Tha Maka District, Kanchanaburi Province, individually determine and (4) to study guideline to Pāpaṇikadhamma Style Leadership of Administrators of Tha Ruea Phra Thaen Town Municipality, Tha Maka District, Kanchanaburi Province. The methodology of the research was applied by mixed method including quantitative research were questionnaire, which has reliability test at 0.937 the sampling group of 110 Tha Ruea Phra Thaen Town Municipality’s officials, analyzed by frequency determination as percentage, average and (S.D.) Standard Deviations. Moreover, t–test as well as f–test were applied to one-way ANOVA analysis, Pearson’s correlation coefficient analysis, and qualitative research by in–depth interview from 12 key informants and analyzed the data by descriptive content analysis. Research findings were as follows;
            1) The level leadership of Administrator of Tha Ruea Phra Thaen Town Municipality, Thamaka District, Kanchanaburi Province was at the level of frequently performed ( = 3.98, S.D. = 0.475).When determined in each aspect found as ideally influenced person at level of xത = 3.88, S.D. = 0.551, as inspirational person at level of  =3.96, S.D. = 0.568, as intelligence application’s motivational person at level of
= 3.94, S.D. = 0.583, and individual consideration at  = 3.94, S.D. = 0.524 which can totally consider at much agreeable level.
            2) The officials’ opinion, on Pāpaṇikadhamma Style Leadership of  Administrators of Tha Ruea Phra Thaen Town Municipality, Tha Maka District, Kanchanaburi Province. The finding classifying by personal factor found the personnel with different level of education and salary expressed their opinions on the town municipality administrators performance due to Pāpaṇikadhamma principles differently at the level of statistic significance 0.05, thus it accepted hypothesis, while the personnel with different gender, age, and positions had the opinion to Pāpaṇikadhamma Style Leadership of Administrators of Tha Ruea Phra Thaen Town Municipality, Tha Maka District, Kanchanaburi Province, administrators’ indifferent research hypothesis. 
             3) The correlations between Pāpaṇikadhamma principle’s factors and the  administrators’ leadership in Tha Ruea Phra Thaen’s Town Municipality were positively related with the administrators’ leadership in overall at the high level of  (R = .885**), identified in each aspect were; ideally influenced person at high level (r =.743**), as inspirational person at high level (r=.786**), as intelligence application’s motivational person at high level (r=.797**), and individual consideration at(r=.819**).
             4) The guideline, to promote Pāpaṇikadhamma Style Leadership of Administrators of Tha Ruea Phra Thaen Town Municipality, Tha Maka District, Kanchanaburi Province as followings; 1) Cakkhumā (vision) aspect, the administrator should understand the organization’s plan direction and vision to communicate to their supervisees by understanding the administration’s principles. 2) Vidhūro (administration proficiency) aspect, the administrators should adjust their attitudes of the administrators to be beloved and must equally perform to all officials, and it must be solved together with development, motivation, and sincerely performed. 3) nissayasampanno (relationship) aspect, if the administrators are friendly, sociable, public minded that lead to amicability to others, the administrators should be advertent
to the staff, create reliability, and build up friendship among everybody in the org

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
Full Text Full Text.pdf 41.19 MiB 1,808 7 มิ.ย. 2564 เวลา 17:30 น. ดาวน์โหลด