โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    ศึกษาขันธ์ 5 ในคัมภีร์ขันธวิภังค์
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษA Study of the Five Aggregates (Khandha) In Khandhavibhaṅga
  • ผู้วิจัยพระมหากรีฑา กตปุญฺโญ
  • ที่ปรึกษา 1พระมหาสุขสันติ์ สุขวฑฺฒโน
  • ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.สุเทพ พรมเลิศ
  • วันสำเร็จการศึกษา25/03/2019
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:บัณฑิตวิทยาลัย
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาพระไตรปิฎกศึกษา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/526
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 409
  • จำนวนผู้เข้าชม 1,073

บทคัดย่อภาษาไทย


         วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาโครงสร้างและเนื้อหาในคัมภีร์ขันธวิภังค์ 2) เพื่อศึกษาโครงสร้างและเนื้อหาในคัมภีร์ขันธวารวรรค 3) เพื่อศึกษาวิเคราะห์คำสอนเรื่องขันธ์ ๕ ในคัมภีร์ขันธวิภังค์และขันธวารวรรค โดยจากการศึกษาพบว่า
         คัมภีร์ขันธวิภังค์ในอภิธรรมปิฎก พระพุทธองค์ทรงแสดงบนภพดาวดึงส์เป็นครั้งแรก ส่วนคัมภีร์ขันธวารวรรคนั้นปรากฏในสุตตันตปิฎก ความคล้ายคลึงเป็นการรวบรวมคำสอนสำคัญที่เป็นดั้งเดิมเกี่ยวกับขันธ์ 5 คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ สะท้อนให้เห็นองค์ประกอบชีวิต เป็นธรรมอันยิ่ง เป็นสิ่งที่มีอยู่ในตัวเรา สิ่งที่ล้อมรอบตัวเรา และสิ่งที่เป็นแรงบันดาลให้เราค้นหา  สามารถพิจารณาเห็นได้ตามสภาวะธรรมารมณ์ได้
         การอธิบายตามโครงสร้างเนื้อหาเกี่ยวกับขันธ์ 5 และหมวดธรรมที่เกี่ยวข้อง สรุปย่อลงในไตรสิกขาทั้งสิ้น คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ซึ่งมีข้อแตกต่างกันเพียงการอธิบายปรมัตถธรรมในขันธวิภังค์โดยปฏิเสธบุคคลเข้ามาเกี่ยวข้อง ตรงกันข้ามกับการอธิบายในขันธสังยุตที่พระพุทธองค์และพระอริย-สาวกแสดงเพื่ออนุโลมตามอัธยาศัยของบุคคล เพื่อให้เกิดความเข้าใจ คลายความสงสัยแล้วน้อมนำไปสู่การปฏิบัติเพื่อความหลุดพ้นสังสารวัฏ
         ความหมายของคัมภีร์ทั้งสองมีส่วนที่คล้ายคลึงกัน แตกต่างกันเพียงการจำแนกส่วนธรรมที่เป็นสภาวะแห่งธรรมารมณ์ และประเภท เหตุปัจจัย ลักษณะความสัมพันธ์ก็เช่นเดียวกัน เพราะการอธิบายหลักธรรมเกี่ยวกับขันธ์ 5 มีความสัมพันธ์กันกับหลักปฏิจจสมุปบาทซึ่งเป็นตัวอธิบายเหตุปัจจัยทั้งหลายที่อิงอาศัยกัน ส่งเสริมให้นามและรูปเกิดขึ้นในสันดานของสัตว์ทั้งหลาย การกำหนดพิจารณาเห็นลักษณะวงจรความเกิดและความดับคือฝ่ายเกิด แสดงให้เห็นว่าการเกิดขันธ์ 5 เพราะผัสสะกระทบ ถูกปัจจัยปรุงแต่งจึงปรากฏ อวิชชา สังขารเป็นต้น เกิดขึ้นตามโอกาส 11 ลักษณะ มีอดีต อนาคต ปัจจุบัน เป็นต้น ส่วนที่เป็นฝ่ายดับ เกิดจากการพิจารณารู้ชัดเห็นความเป็นจริงตามสภาวะแล้วจึงละความยึดมั่น ความเพลิดเพลิน ความยินดีพอใจ และออกจากขันธ์ 5 ได้ ทำความเห็นสัมมาทิฏฐิที่ถูกต้อง ในสิ่งที่เกิดขึ้นตามหลักความเป็นจริง คือ “ไตรลักษณ์”

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

               This thesis has three objectives, 1) to study of the structure and contents of the Khandhavibhaṅga, 2) to study of the structure and contents of the Khandhavāravagga, and 3) to analytical study of the doctrine of the Five Aggregates (Khandas) in the Khandhavibhaṅga and the Khandhavāravagga. From the study found that :-
                The Khandhavibhaṅga in Abhidhamma-piṭaka has mentioned the Lord
Buddha had preached in the Tāvatiṁsa heaven in the first time, and then Khandhavāravagga was in the Suttanta-piṭaka. The similarity of these scriptures is the collection of the important teachings which are the traditional doctrines on the Five Aggregates; Corporeality, Feeling, Perception, Mental Formations, and Consciousness that it reflects to the life factors which is the ultimate reality, it is existence in our life, it is around us, and it is the motivation for searching and consider by the mental objects. The structure was described the Five Aggregates and the related categories, it was brief in the Threefold Training (Ti-sikkhā): Morality, Concentration, and Wisdom, which has the difference of explanation the ultimate reality in the    Khandhavibhaṅga by deny the person who related, it is opposite of explanation in the
             Khandhasaṁyutta that the Lord Buddha and the Noble One had preached following the individual characteristics to understand and relieving of suspicion, and leading to practice for ending of the cycle of life. The meaning of both scriptures is the same, but it just is different classification of dhamma which is the state of mind-objects, kinds, and cause and effect. The characteristics of relationship also is the same, because the explanation of the Five Aggregates is related to the Paṭiccasamuppāda which is an explanation of the cause and effect of all livings that depend on each other, promote the mind and matter to occur in nature of all living beings. That is the consideration of the cycle of
             rising and falling; the rising is to show that the rise of the Five Aggregates causing of contact (Phassa) which is dressed up, it has appeared ignorance, mental formations, etc., it has depended on the eleven characteristics such the past, the future, the present, etc. Then, an extinguishing or falling is from the consideration the reality clearly, therefore, it can abandon from the attachment, pleasure, satisfaction, and leaved of the Five Aggregates. It is to make the right understanding on the reality that is the Three Characteristics (Ti-Lakkhaṇa)

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
Full Text Full Text.pdf 1.73 MiB 409 7 มิ.ย. 2564 เวลา 18:29 น. ดาวน์โหลด