โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานเทศบาลเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษWorking Motivation for Personnel of Sakaew, Municipality, Sakaew Province
  • ผู้วิจัยพระพงษ์ศักดิ์ สนฺตมโน (เกษวงศ์รอด)
  • ที่ปรึกษา 1ผศ.ดร.เกียรติศักดิ์ สุขเหลือง
  • ที่ปรึกษา 2ผศ.ดร.อนุวัต กระสังข์
  • วันสำเร็จการศึกษา28/02/2019
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:บัณฑิตวิทยาลัย
  • ชื่อปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/527
  • ปรากฏในหมวดหมู่สารนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 9,602
  • จำนวนผู้เข้าชม 2,512

บทคัดย่อภาษาไทย

 

การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานเทศบาลเมืองสระแก้วจังหวัดสระแก้ว 2. เพื่อเปรียบเทียบแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานเทศบาลเมืองสระแก้วจังหวัดสระแก้ว โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3. เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และแนวทางการสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานเทศบาลเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้วดำเนินการตามระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ซึ่งใช้แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.986 จากกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ พนักงานเทศบาลเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว จำนวน 95 คน จากประชากรทั้งหมด 125 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการทดสอบค่าเอฟ ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ในกรณีตัวแปรต้นตั้งแต่ 2 กลุ่มขึ้นไป เมื่อพบว่ามีความแตกต่างจะทำการเปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยวิธีสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 12 คนแบบตัวต่อตัว วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา                                                                                         

ผลการวิจัยพบว่า 

1. ระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานเทศบาลเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.59) เมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่า 1.ปัจจัยจูงใจ ด้าน  ความสำเร็จในการทำงาน ( = 3.84) ด้านลักษณะของงานที่ปฏิบัติ ( = 3.65) ด้านการได้รับการยอมรับนับถือ ( = 3.60) ด้านความรับผิดชอบ ( = 3.51) ด้านความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่การงาน ( = 3043) ทุกด้านอยู่ในระดับมาก และ 2.ปัจจัยค้ำจุน ด้านนโยบายและการบริหาร ( =3.79)ด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน ( = 3.62) ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ( = 3.59) ด้านการปกครองและบังคับบัญชา ( = 3.47) ด้านเงินเดือนและผลประโยชน์ตอบแทน ( = 3.42) ทุกด้านอยู่ในระดับมาก

2. ผลการเปรียบเทียบแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานเทศบาลเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า พนักงานที่มี เพศ อายุ ระดับการศึกษา ตำแหน่ง และเงินเดือน ที่แตกต่างกัน มีแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้                                                          

3. ปัญหา อุปสรรค แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานเทศบาลเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว คือ ผู้บังคับบัญชาและเพื่อนร่วมงานขาดความจริงใจ ไม่ให้ความสนใจในการดูแลเอาใจใส่ และไม่ช่วยแก้ไขปัญหาเมื่อมีปัญหาในการปฏิบัติงาน อีกทั้งผู้บังคับบัญชาและเพื่อนร่วมงานใช้อารมณ์มากกว่าความคิด ทำให้เกิดความขัดแย้งภายในหน่วยงาน บรรยากาศในการทำงานหมดไป ทำให้งานที่ปฏิบัติออกมาไม่ดีเท่าที่ควร ยังขาดการกระจายงานให้เหมาะสม ทำให้พนักงานได้รับงานเกินขีดความสามารถ ทำให้งานที่ได้รับมอบหมายไม่สำเร็จตามเวลา ตลอดจนเงินเดือนที่ได้รับไม่เหมาะสมกับปริมาณงานและความรับผิดชอบ ไม่พอสำหรับเศรษฐกิจยุค 4.0

นวทางการสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานเทศบาลเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว คือ ผู้บังคับบัญชาและเพื่อนร่วมงานควรให้ความสนใจในการดูแลเอาใจใส่ และช่วยแก้ไขปัญหาเมื่อมีปัญหาในการปฏิบัติงาน เปรียบเสมือนทุกคนในองค์กรเป็นครอบครัว ควรส่งเสริมให้พนักงานทุกคนอยู่ร่วมกันด้วยความรัก ความอบอุ่น ความเข้าใจซึ่งกันและกัน เห็นอกเห็นใจ ผลการปฏิบัติงานก็จะออกมาอย่างมีประสิทธิภาพ ควรบริหารจัดการเรื่องอำนาจหน้าที่ งานที่รับผิดชอบให้เหมาะสม การกระจายงานให้เหมาะสมกับกับความสามารถของพนักงาน ผู้บังคับบัญชาควรส่งเสริมให้พนักงาน ได้ร่วมประชุม ฝึกอบรม ดูงาน เพื่อเพิ่มพูนและพัฒนาความรู้ความสามารถอยู่เสมอ ควรจัดโครงการอบรมเกี่ยวกับธรรมะเข้ามาขัดเกลา ควรมีการวางแผนงานที่จะปฏิบัติ เวลาที่เหมาะสม ลดขั้นตอน ถูกกฎระเบียบในการปฏิบัติงาน ทั้งนี้ควรปรับเงินเดือนของพนักงานให้เหมาะสมกับปริมาณงานและความรับผิดชอบ

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

Objectives of this research were 1. To study the working motivation for personnel of Sakaew Municipality, Sakaew Province, 2. To compare the working motivation for personnel of Sakaew Municipality, Sakaew Province and 3. To study the problems, obstacles and guidelines for the working motivation for personnel of Sakaew Municipality, Sakaew Province.

Methodology was the mixed methods: The quantitative research conducted by survey method, collecting data from 95 samples out of 124 personnel of Sakaew Municipality with questionnaires which was reliability at 0.985, analyzing data with Frequency, Percentage, Mean, Standard Deviation, t-test, F-test and One way ANOVA, and the Least Significant Difference: LSD. For qualitative research, Data were collected from 12 key informants by face-to-face-in-depth-interviewing and analyzed by descriptive interpretation.

Findings of this research were as follows:

1. The personnel’s work motivation level of Sakaew Municipality, Sakaew Province by overall was at high level ( = 3.59). Each aspect indicated as: 1) Motivation factor, the success of the work aspect was at high level ( = 3.84), the nature of the work aspect was at high level (  = 3.65), the aspect to be respected was at high level (  = 3.60), responsibility aspect was at high level (  = 3.51), the progress in the job aspect was at high level (  = 3.43), and all aspects were at high level.                  2) Supporting factor: policy and administration aspect were ( = 3.59), working environment aspect was at high level ( =3.62) interpersonal relationship aspect was at high level ( = 3.59), governance and command aspect were at high level ( = 3.47) and salary and benefits aspect were at high level ( = 3.42), In conclusion, all aspects were at high levels.

2. The comparison of personnel’s performance motivation of Sakaew Municipality, Sakaew Province, classified by personal factors were found that personnel with different gender, age, educational background, position and salary by overall did not have different opinions, rejecting  the set  hypothesis.

3. Problems, guideline and motivation in the work performance of Sakaew Municipality personnel, Sakaew Province revealed that bosses and the colleagues were not sincere, did not pay attention to caring responsibility. Not helping solve the problems that occurred in the operation. Both supervisors and colleagues used emotions rather than thoughts. There were conflicts within the agency. The atmosphere in the work place was not pleasant. The work outputs were not satisfactory due to improper distribution. Employees were overworked and the tasks were not finished in due time. The salary is not appropriate for the job and responsibility, not suitable for economy era 4.0 

Guideline for developing motivation of the personnel’s work performance of Sakaew Municipality, Sakaew Province was that Supervisors and colleagues should pay attention to caring responsibility and solving problems when they arise, just like everyone in the organization is in the same family, encouraging all employees to work together with love, warmth and mutual understanding. Sympathy will make the performance effective. Authority should be managed properly. Responsibility, work distribution should be distributed to suit the capabilities of employees. Supervisors encourage employees to attend training meetings to increase their knowledge and skills. There should be organized training about Dharma. There should be well planned working procedure with appropriate time. Some working procedures could be reduced in accordance with the rules of operation. Employees’ salaries should be adjusted to suit their responsibilities. 

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
Full Text Full Text.pdf 14.54 MiB 9,602 7 มิ.ย. 2564 เวลา 18:46 น. ดาวน์โหลด