-
ชื่อเรื่องภาษาไทยพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของพระสงฆ์ในอำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษBuddhist Monks’ Healthcare Behavior in Tha Chana District Surat Thani
- ผู้วิจัยพระอภิรมย์ วาทโร (บุญทอง)
- ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.ดิเรก นุ่นกล่ำ
- ที่ปรึกษา 2รศ. ดร.กันตภณ หนูทองแก้ว
- วันสำเร็จการศึกษา01/04/2018
- ส่วนงานจัดการศึกษา:บัณฑิตวิทยาลัย
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาการพัฒนาสังคม
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/529
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 389
- จำนวนผู้เข้าชม 386
บทคัดย่อภาษาไทย
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ (1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของพระสงฆ์ในเขตอำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี (2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของพระสงฆ์ในเขตอำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยจำแนกตามอายุ พรรษา ระดับการศึกษา ตำแหน่งคณะสงฆ์เป็นอย่างไร (3) เพื่อทราบข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางในการดูแลสุขภาพของพระสงฆ์ในเขตอำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี การดำเนินการวิจัยใช้วิธีการวิจัยเชิงเชิงปริมาณ (Quntitative Research) กลุ่ม ตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ พระสงฆ์ในเขตอำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 210 รูป กลุ่มตัวอย่าง 136 รูป 14 วัด 10 ที่พักสงฆ์ กำหนดขนาดตัวอย่างโดยการเปิดตารางสำเร็จรูปของแครจซี่และมอร์แกน (Krejcie and Morgan) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบบสอบถาม ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency), ค่าร้อยละ (Mean), ค่าเฉลี่ย, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation), ค่าสถิติทดสอบ (t-test), ค่าสถิติทดสอบเอฟ (F-test) และทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยรายคู่ด้วยวิธีLSD (Least Significant Difference)
ผลการวิจัยพบว่า
1. พฤติกรรมการดูแลสุขภาพของพระสงฆ์ในอำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานีโดยภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง (x̅ = 3.20) มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (x̅ = 3.52) รองลงมา ได้แก่ ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม (x̅ = 3.46) และด้านอาหาร (x̅ = 3.40) ส่วนด้านอากาศ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด (x̅ = 2.55)
2. ผลการเปรียบเทียบพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของพระสงฆ์ในเขตอำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานีโดยจำแนกตามอายุที่ต่างกัน พบว่าพระสงฆ์มีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพไม่ต่างกัน ซึ้งไม่สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ เมื่อจำแนกตามพรรษาที่ต่างกัน พบว่าพระสงฆ์มีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพไม่ต่างกัน ซึ้งไม่สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ เมื่อจำแนกตามระดับการศึกษาที่ต่างกันมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพไม่ต่างกัน ซึ้งไม่สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ เมื่อจำแนกตามระดับตำแหน่งทางคณะสงฆ์ที่ต่างกันพบว่ามีพฤติกรรมในการปฏิบัติตัวในการดูแลสุขภาพไม่ต่างกัน ซึ้งไม่สอดคล้องกับ สมมติฐานที่ตั้งไว้
3. ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหาพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของพระสงฆ์ในอำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานีพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามได้เสนอแนะแนวทางไว้ว่า ควรให้ความสำคัญกับการให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพอย่างเหมาะสมและควรจัดสภาพแวดล้อมในบริเวณวัดให้มีสภาพแวดล้อมที่สะอาด บริสุทธิ์ เป็นเขตปลอดบุหรี่ของพระสงฆ์และอบายมุขทั้งปวง ควรจัดให้มีการถวายความรู้เรื่องพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองในวิถีทางที่เหมาะสมอันจะนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกต้องโดยเฉพาะพฤติกรรมการสูบบุหรี่การออกกำลังกาย และการเลือกฉันภัตตาหารที่ดีมีประโยชน์ต่อร่างกายควรจัดตั้งศูนย์สุขภาพพระสงฆ์ภายในวัดของเจ้าคณะผู้ปกครองในแต่ละจังหวัด โดยทำข้อข้อตกลงร่วมกันระหว่าง คณะสงฆ์กับกระทรวงสาธารณสุขเพื่อให้ได้แนวทางในการวางแผนพัฒนาเรื่องพฤติกรรมสุขภาพของพระสงฆ์ที่ชัดเจนและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
Objectives of the study were threefold: (1) to study the healthcarebehavior of monks in Tha Chana district,Surat Thani, (2) to compare the healthcare behavior of monks in Tha Chana district, Surat Thani classified by age, year (ordination) educational level and Sangha position, and (3) to know the suggestions on the healthcare of the monks in Tha Chana district, Surat Thani.
The research was conducted by using Quantitative Researchmethod with a population consisting of 210 monks in Tha Chana, Surat Thaniand 136 Buddhist monks, 14 temples and 10 Sanghaabodes determined by Krejcie & Morgan Table.
The research instrument used in the research was a questionnaire constructed by the researcher created. The statistics used in the data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test, F- test and paired difference test byLSD (Least Significant Difference).
Findings were as follows:
1.Overall, Buddhist monks’ healthcare behavior in Tha Chana district is average ( (x̅ = 3.20) with the highest mean ((x̅ = 3.52), followed by the environmental health ( (x̅ = 3.46) and the food ( (x̅ = 3.40) whereas climate is the lowest mean ( (x̅ = 2.55).
2.Result in comparison on Buddhist monks’ healthcare behavior in Tha Chana district, Surat Thani classified by different age showed that their healthcarebehavior did not differ which does not correspond to assumptions set.When they were classified according to the different year (ordination), it was found that theirhealthcare behavior was not different and it was consistent with the set hypothesis. When they were classified by different education levels,there is no difference in healthcare behavior that was not consistent with the set hypothesis set assumptions. There was no difference in behaviors in healthcare when they werecategorized by rank which does not correspond to the set hypothesis.
3.With regard to suggestions on the ways to prevent and solve the problems of Buddhist monks’ healthcare behavior, the respondents suggested that knowledge of healthcare, appropriate understanding on healthcarebehavior should be focused and the environment in temples should be clean, fresh and withthe non-smokingarea withoutallurements. Also, Buddhist monks should be provided with an appropriate guideline for healthcare behavior that leads to proper behavior, especiallysmoking behavior, exercises and healthy food.The monks' healthcare centers should be established within temples of ecclesiastical monk dean in each province with mutual agreement between the Sangha and the Ministry of Public Health to find a clear and effective guideline to plan for the development of monks' healthcare behavior.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
Full Text | Full Text.pdf | 2.96 MiB | 389 | 7 มิ.ย. 2564 เวลา 18:58 น. | ดาวน์โหลด |