-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการบริหารจัดการเพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของสำนักปฏิบัติธรรมจังหวัดระยอง
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Management towards Buddhism Propagation of the Meditation Practice Center in Rayong Province
- ผู้วิจัยพระครูปริยัติสุวัฒนาภรณ์ (ประภาส จนฺทวณฺโณ)
- ที่ปรึกษา 1พระมหาสุนันท์ สุนนฺโท
- ที่ปรึกษา 2พระครูสังฆรักษ์เกียรติศักดิ์ กิตฺติปญฺโญ
- วันสำเร็จการศึกษา31/03/2017
- ส่วนงานจัดการศึกษา:คณะสังคมศาสตร์
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
- ระดับปริญญาปริญญาเอก
- สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/53
- ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 677
- จำนวนผู้เข้าชม 513
บทคัดย่อภาษาไทย
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของสำนักปฏิบัติธรรมจังหวัดระยอง 2) เพื่อศึกษาแนวคิดหลักพุทธธรรมที่นำมาใช้ในการบริหารจัดการเพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของสำนักปฏิบัติธรรมจังหวัดระยอง 3) เพื่อนำเสนอแนวทางการบริหารจัดการเพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของสำนักปฏิบัติธรรมจังหวัดระยอง
ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods) คือวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ และเชิงปริมาณ ผู้วิจัยได้ศึกษาจากเอกสาร (Documentary research) และสัมภาษณ์บุคคลแบบเจาะลึก กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) ซึ่งเป็นเจ้าสำนักปฏิบัติธรรม พระวิปัสสนาจารย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนา และผู้ปฏิบัติธรรม จำนวน 17 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการจดบันทึกและการบันทึกเสียง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา และการสนทนากลุ่มเฉพาะ (Focus Group Discussion) กับพระภิกษุและผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารจัดการเพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนา จำนวน 11 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสนทนากลุ่มเฉพาะและรูปแบบเบื้องต้นสำหรับใช้ในการยืนยันข้อมูล เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการจัดประชุมกลุ่มย่อย บันทึกเสียง และจดบันทึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา ส่วนการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างจำนวน 316 คน ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้คือค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
ผลการวิจัยพบว่า
1. การเผยแผ่พระพุทธศาสนาของสำนักปฏิบัติธรรมในจังหวัดระยองมี 3 รูปแบบ คือ
1) การแสดงธรรมเทศนา เป็นการแสดงธรรมอย่างมีแบบแผน ต้องมีการวางแผนการเทศน์โดยพิจารณาจากประเภทของงาน ระยะเวลา เรื่องที่จะเทศน์ การจัดสถานที่ เป็นต้น 2) การบรรยายธรรมหรือปาฐกถาธรรม เป็นการแสดงธรรมด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย พิธีรีตองน้อยกว่าการแสดงธรรมเทศนา 3) การฝึกปฏิบัติธรรม มีวิธีการฝึกแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับแนวทางของสำนักปฏิบัติธรรม
2. แนวคิดหลักพุทธธรรมที่นำมาใช้ในการบริหารจัดการเพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของสำนักปฏิบัติธรรมจังหวัดระยอง ใช้หลักอิทธิบาท 4 ประกอบด้วย ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา โดยการนำมาใช้ในการ 1) พัฒนาผู้นำ อันได้แก่ เจ้าอาวาส และเจ้าสำนักปฏิบัติธรรม ในการบริหารจัดการสำนักปฏิบัติธรรม 3 ด้าน คือ ด้านสถานที่ ด้านวิทยากร และ ด้านการบริหารจัดการ
2) พัฒนาผู้เผยแผ่ศาสนา อันได้แก่ พระวิปัสสนาจารย์และวิทยากร ในการเป็นผู้เผยแผ่ศาสนา 3 รูปแบบ คือ การแสดงธรรมเทศนา การบรรยายธรรมหรือปาฐกถาธรรม และการฝึกปฏิบัติธรรม
3. แนวทางการบริหารจัดการเพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของสำนักปฏิบัติธรรมจังหวัดระยอง ประกอบด้วย 3 แนวทาง และ 8 การพัฒนา คือ แนวทางที่หนึ่ง การบริหารจัดการ ด้านสถานที่ โดยการจัดเตรียมสถานที่ให้เหมาะสมกับการเผยแผ่พระพุทธศาสนาแต่ละรูปแบบ แนวทางที่สอง การบริหารจัดการ ด้านวิทยากร โดยการเตรียมความพร้อมของวิทยากรให้เหมาะสมกับการเผยแผ่ศาสนาแต่ละรูป แนวทางที่สาม การบริหารจัดการ ด้านการบริหารจัดการ โดยการบริหารจัดการให้เหมาะสมกับการเผยแผ่ศาสนาแต่ละรูปแบบ การพัฒนาที่หนึ่ง คือพัฒนาเจ้าอาวาส หรือเจ้าสำนักปฏิบัติธรรม ตามหลัก ฉันทะ การพัฒนาที่สอง คือพัฒนาเจ้าอาวาส หรือเจ้าสำนักปฏิบัติธรรม ตามหลัก วิริยะ การพัฒนาที่สาม คือพัฒนาเจ้าอาวาส หรือเจ้าสำนักปฏิบัติธรรม ตามหลักจิตตะ การพัฒนาที่สี่ คือพัฒนาเจ้าอาวาส หรือเจ้าสำนักปฏิบัติธรรม ตามหลัก วิมังสา เพื่อให้มีคุณลักษณะของการเป็นผู้บริหารที่ดี และ การพัฒนาที่ห้า คือพัฒนาพระวิปัสสนาจารย์ หรือ วิทยากร ตามหลัก ฉันทะ การพัฒนาที่หก คือพัฒนาพระวิปัสสนาจารย์ หรือ วิทยากร ตามหลัก วิริยะ การพัฒนาที่เจ็ด คือพัฒนาพระวิปัสสนาจารย์ หรือ วิทยากร ตามหลัก จิตตะ การพัฒนาที่แปด คือพัฒนาพระวิปัสสนาจารย์ หรือ วิทยากร ตามหลัก วิมังสา เพื่อให้มีคุณลักษณะของการเป็นผู้เผยแผ่พระพุทธศาสนาที่ดีฃ
4. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ พบว่า 1) ระดับความคิดเห็นของบรรพชิตและคฤหัสถ์ที่มีต่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของสำนักปฏิบัติธรรมจังหวัดระยองโดยภาพรวม และรายด้านอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก 2) ระดับความคิดเห็นของบรรพชิตและคฤหัสถ์ที่มีต่อการบริหารจัดการเพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของสำนักปฏิบัติธรรมจังหวัดระยองโดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก 3) ระดับความคิดเห็นของบรรพชิตและคฤหัสถ์ที่มีต่อการบริหารจัดการเพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของสำนักปฏิบัติธรรมจังหวัดระยองตามหลักอิทธิบาท 4 โดยภาพรวม และรายด้านอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
This research has objectives which are 1) to study the Buddhism propagation of the Meditation Practice Center in Rayong Province, 2) to study the concept of Buddha-Dhamma applied in the management towards Buddhism propagation of the Meditation Practice Center in Rayong Province and 3) to present the way of the management towards Buddhism propagation of the Meditation Practice Center in Rayong Province.
The research methodology in this study was the Mixed Methods combining the qualitative research with the quantitative research. The researcher studied by means of documentary research and the In-depth Interview with 17 key informants who were the abbot of the meditation practice center, insight meditation masters, Buddhism propagation experts and practitioners. The tool used in this research was the interview question form and the data was collected by means of note taking and tape recording. After gathering the data from the interview, it had been analyzed by using the descriptive content analysis and verified by the Focus Group Discussion of 11 key informants who were monks and savants in the management towards Buddhism propagation. The research tool was the question form of Focus Group Interview and primary model for verifying the data. The researcher gathered all the data by arranging a small group meeting, voice recording and note taking. Then the researcher analyzed the data from these two steps by using the descriptive analysis method in quantitative research. In terms of the quantitative method, the research tool was questionnaire for the sampling group of 316 people. The researcher analyzed the data by using the instant program of social science.The statistics used were the frequency values, percentage, mean and standard deviation.
The research findings were:
1. The Buddhism propagation of the Meditation Practice Center in Rayong Province consisted of 3 models which were 1) Dhamma Preaching was the dhamma preaching with format which required the preaching plan by considering from occasional type, time duration, sermon content, venue arrangement, etc. 2) Dhamma Narration or Dhamma Sermon was the dhamma preaching with a language that was easy to understand with less formality than the Dhamma Preaching and 3) Dhamma Practice Training had different trainings depending on the way of the Meditation Practice Center.
2. The concept of Buddha-Dhamma applied in the management towards Buddhism propagation of the Meditation Practice Center in Rayong Province was the Four Means of Accomplishment (Iddhipāda) consisting of Chanda (Will), Viriya (Effort), Citta (Thoughfulness) and Vīmaṁsā (Investigation). This concept was adopted to 1) develop the leaders such as abbots and heads of the meditation practice center in its management of 3 aspects which were retreat, lecturer and management; 2) develop the Buddhism propagators who were insight meditation masters and lecturers in propagating through 3 models which were dhamma preaching, dhamma narration or dhamma sermon and dhamma practice training.
3. The way in the management towards Buddhism Propagation of the Meditation Practice Center in Rayong Province consisted of 3 ways and 8 developments. The first way was the management in terms of the retreat aspect by providing the suitable place for Buddhism propagation for each model; the second way was the management in terms of the lecturers by providing them with appropriate preparation for Buddhism propagation in each model; the third way was the management in terms of the management suitable for Buddhism propagation in each model. The first development was to develop abbots and heads of the meditation practice center by means of Chanda; the second development was to develop abbots and heads of the meditation practice center by means of Viriya; the third development was to develop abbots and heads of the meditation practice center by means of Citta; the forth development was to develop abbots and heads of the meditation practice center by means of Vīmaṁsā in order to acquire the characteristic of good administrator; the fifth development was to develop insight meditation masters and lecturers by means of Chanda; the sixth development was to develop insight meditation masters and lecturers by means of Viriya; the seventh development was to develop insight meditation masters and lecturers by means of Citta; and the eighth development was to develop insight meditation masters and lecturers by means of Vīmaṁsā in order to acquire the characteristic of good Buddhism propagator.
4. The outcomes of quantitative data analysis were 1) the level of opinion of monks and laypeople towards the Buddhism propagation of the Meditation Practice Center in Rayong Province in overall and the income ranked strongly agreed; 2) the level of opinion of monks and laypeople about the management towards the Buddhism propagation of the Meditation Practice Center in Rayong Province in overall and the income ranked strongly agreed; and 3) the level of opinion of monks and laypeople about the management towards the Buddhism propagation of the Meditation Practice Center in Rayong Province following the Four Means of Accomplishment (Iddhipāda) in overall and the income ranked strongly agreed.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
Full Text | Full Text.pdf | 12.62 MiB | 677 | 18 ก.พ. 2564 เวลา 17:04 น. | ดาวน์โหลด |