-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการศึกษาความต้องการได้รับสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลหัวไทร อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษA Study on the Needs for Social Benefits Receiving of Elderly Persons in Tambol Huasai Municipality, Huasai District, Nakhon Si Thammarat Province
- ผู้วิจัยพระครูภัทรปัญญาคุณ (เวียง แซ่อุ้ย)
- ที่ปรึกษา 1พระครูอรุณสุตาลังการ, ผศ.ดร.
- ที่ปรึกษา 2รศ.ดร.กันตภณ หนูทองแก้ว
- วันสำเร็จการศึกษา08/03/2018
- ส่วนงานจัดการศึกษา:บัณฑิตวิทยาลัย
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาการพัฒนาสังคม
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/531
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 2,086
- จำนวนผู้เข้าชม 738
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาความต้องการได้รับสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลหัวไทร อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช 2) เพื่อเปรียบเทียบความต้องการได้รับสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลหัวไทร อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช ที่มีเพศ อายุ สถานภาพสมรส สถานภาพการอยู่อาศัย ระดับการศึกษา รายได้ต่อเดือน และภาวการณ์มีโรคประจำตัว แตกต่างกัน และ 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางการจัดสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลหัวไทร อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลหัวไทร อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 822 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของทาโร ยามาเน่ ที่ระดับความคลาดเคลื่อน 0.05 ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 274 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การทดสอบค่าเอฟ และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีการ LSD (Least Significant Difference)
ผลการวิจัยพบว่า
1) ผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลหัวไทร อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช มีระดับความต้องการได้รับสวัสดิการสังคม โดยรวมทั้ง 7 ด้าน อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ย พบว่า ด้านความมั่นคงทางสังคม มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (x̅ = 4.07) รองลงมา ได้แก่ ด้านสุขภาพอนามัย (x̅ = 4.06) ด้านการศึกษา (x̅ = 3.99) ด้านนันทนาการ (x̅ = 3.73) ด้านบริการสังคม (x̅ = 3.65) และด้านการมีงานทำและการมีรายได้ (x̅ = 3.62) ส่วนสวัสดิการสังคมด้านที่อยู่อาศัย มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด (x̅ = 3.51) เมื่อจำแนกตามเพศ อายุ สถานภาพสมรส สถานภาพการอยู่อาศัย ระดับการศึกษา รายได้ต่อเดือน และภาวการณ์มีโรคประจำตัว พบว่า มีระดับความต้องการได้รับสวัสดิการสังคม โดยรวมทั้ง 7 ด้าน อยู่ในระดับมาก
2) ผลการเปรียบเทียบระดับความต้องการได้รับสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลหัวไทร อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช พบว่า ผู้สูงอายุที่มีเพศ อายุ สถานภาพการสมรส สถานภาพการอยู่อาศัย ระดับการศึกษา รายได้ต่อเดือน และภาวการณ์มีโรคประจำตัว ต่างกัน มีระดับความต้องการได้รับสวัสดิการสังคมไม่แตกต่างกัน
3) ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางการจัดสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลหัวไทร อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช พบว่า เทศบาลตำบลหัวไทรควรจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ขึ้นภายในชุมชน และให้การสนับสนุนด้านบุคลากรที่จะมาให้ความรู้ด้านต่างๆ ที่เป็นประโยชน์และเหมาะสมกับผู้สูงอายุ และควรจัดให้มีสถานที่ออกกำลังกายที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ มีบริการตรวจสุขภาพประจำปีฟรี อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง นอกจากนี้เทศบาลควรจัดหาที่อยู่อาศัยให้กับผู้สูงอายุไม่มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง และให้การช่วยเหลือซ่อมแซมที่อยู่อาศัยของผู้สูงอายุที่ด้อยโอกาส รวมทั้งควรส่งเสริมและพัฒนาอาชีพที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ ควรนำเทคโนโลยี เช่น โทรศัพท์ กล้องวงจรปิด มาใช้ติดตามดูแลความปลอดภัยให้ผู้สูงอายุและออกตรวจเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุ และควรส่งเสริมและสนับสนุนการจัดกิจกรรมประจำเดือน เพื่อให้ผู้สูงอายุได้มาพบปะพูดคุย แลกเปลี่ยน เรียนรู้ซึ่งกันและกัน
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The objectives of this research were: 1) to study on the needs for social benefits receiving of elderly persons in Tambol Huasai municipality, Huasai district, Nakhon Si Thammarat province, 2) to compare the needs for social benefits receiving of elderly persons in Tambol Huasai municipality, Huasai district, Nakhon Si Thammarat province in terms of sexes, ages, marital statuses, living statuses, degrees of education, monthly incomes and congenital disease being as differently, and 3) to study suggestion for guideline in social benefits management of elderly persons in Tambol Huasai municipality, Huasai district, Nakhon Si Thammarat province. This is the quantitative research; the population were composed of elderly persons in Tambol Huasai municipality, Huasai district, Nakhon Si Thammarat province for 822 persons, sample sizes by Taro Yamane’s formula at the error of 0.05, the samples were about 274 persons. The instrument for data collection was questionnaire, data analysis by package computer program, the statistics were analysed as follows; frequency, percentage, arithmetic mean, standard deviation, t-test, F-test and to compare the mean in each pair by LSD method.
The findings were found as follows:
1) The needs on social benefits receiving of elderly persons in Tambol Huasai municipality, Huasai district, Nakhon Si Thammarat province by overview for seven domains were at more level when considered in each domains from more to less found that social stability domain was the most mean (x̅ = 4.07) and followed up healthy domain (x̅ = 4.06), education domain ( (x̅ = 3.99), entertainment domain (x̅ = 3.73) , social mind domain (x̅ = 3.65) and employed domain (x̅ = 3.62) but dwelling domain was the lowest mean (x̅ = 3.51)
2) The comparative result on the needs of elderly persons in Tambol Huasai municipality, Huasai district, Nakhon Si Thammarat province in terms of sexes, ages, marital statuses, living statuses being, degrees of education, monthly incomes and congenital disease being found that all were not difference in social benefits receiving.
3) The suggestions on guideline for social benefits management of elderly persons in Tambol Huasai municipality, Huasai district, Nakhon Si Thammarat province found that there should set a learning centre in community and support the scholars to train on learning which are benefit and proper to elderly, there should have gymnasium for elderly person, free medical check-up in a year, moreover there should promote and develop careers which are properly to them and there should bring new technology for following all elderly persons i.e. Mobile phone or CCTV for safety to them, there should visit them at home, there should promote activities in monthly for elderly persons can meet each others and changing idea with each others.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
Full Text | Full Text.pdf | 3.77 MiB | 2,086 | 7 มิ.ย. 2564 เวลา 19:05 น. | ดาวน์โหลด |