โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษPersonnel’s Quality of Life Development for Work Performance of Mahachulalongkongrajavidyalaya University.
  • ผู้วิจัยนางสาวกมลวรรณ ปั้นขาว
  • ที่ปรึกษา 1ผศ.ดร.ธิติวุฒิ หมั่นมี
  • ที่ปรึกษา 2ผศ.ดร.เกียรติศักดิ์ สุขเหลือง
  • วันสำเร็จการศึกษา14/03/2019
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:บัณฑิตวิทยาลัย
  • ชื่อปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/532
  • ปรากฏในหมวดหมู่สารนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 1,948
  • จำนวนผู้เข้าชม 936

บทคัดย่อภาษาไทย

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตในการทำงานของบุคลากร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 2. เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตในการทำงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3. เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ระเบียบวิธีวิจัยเป็นแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้การวิจัยเชิงสำรวจ จากกลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรสายปฏิบัติการของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (ส่วนกลาง) จำนวน 162 รูป/คน จากประชากร 280 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานการทดสอบค่าเอฟ ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว เมื่อพบว่ามีความแตกต่างจะทำการเปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบตัวต่อตัวกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 12 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา                                               

ผลการวิจัยพบว่า

1. คุณภาพชีวิตในการทำงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.49, S.D.= 0.594) เมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่อยู่ในระดับมากคือ ด้านลักษณะงานที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม ( = 3.75, S.D.= 0.594)  ด้านประชาธิปไตยในองค์การ ( =3.64, S.D.= 0.742) ด้านการบูรณาการทางสังคมหรือการทำงานร่วมกัน ( = 3.62, S.D.= 0.678) และด้านความสมดุลระหว่างชีวิตงานและชีวิตด้านอื่นๆ ( = 3.60, S.D.= 0.669) ตามลำดับ และอยู่ในระดับปานกลางคือ ด้านสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ปลอดภัย และส่งเสริม สุขภาพ ( = 3.43, S.D.= 0.676) ด้านความมั่นคงและความก้าวหน้าในงาน ( = 3.43, S.D. 0.764) ด้านโอกาสในการพัฒนาความสามารถของบุคลากร ( = 3.39, S.D.= 0.773) และด้านค่าตอบแทนที่เพียงพอและยุติธรรม ( =3.05, S.D.= 0.821) ตามลำดับ

2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคลากรต่อคุณภาพชีวิตในการทำงาน โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า บุคลากรที่มีอายุ ระดับการศึกษา เงินเดือน และตำแหน่งในการทำงานต่างกัน มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย ส่วนบุคลากรที่มี เพศ สถานภาพ และระยะเวลาในการทำงานต่างกัน มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย                                               

3. แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้แก่ 1) ควรมีการปรับเพิ่มฐานเงินเดือนของบุคลากรให้สูงขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ เพื่อความสมดุลกับค่าครองชีพในปัจจุบัน และการแบ่งภาระงานยังไม่ชัดเจน 2) ควรมีการทำเรื่องเบิกค่ารักษาพยาบาลโดยการเบิกตรงกับกรมบัญชีกลาง ควรให้มีสร้างสถานที่ออกกำลังกายให้กับบุคลากร และควรให้มีการตรวจตรา รถเข้า-ออก เพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 3) ควรเพิ่มงบประมาณในการสนับสนุนการพัฒนาความสามารถซึ่งไม่เพียงพอ ในบางส่วนงาน และควรจัดหลักสูตรฝึกอบรมให้ตรงกับตำแหน่งงาน 4) ผู้บริหารมหาวิทยาลัยควรบรรจุลูกจ้างทุกคนที่มีอยู่ให้หมด หรือผู้ที่มีประสบการณ์การทำงานมากกว่า 3 ปีก่อน 5) ควรเพิ่มช่องทางในการให้บุคลากรแสดงศักยภาพและเปิดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันให้มากขึ้น 6) ผู้บังคับบัญชาและเพื่อนร่วมงานควรให้ความสนใจในการดูแลเอาใจใส่ และช่วยแก้ไขปัญหาเมื่อมีปัญหาในการปฏิบัติงาน 7) ควรปรับวันหยุดของมหาวิทยาลัย ให้ตรงตามวันหยุดของหน่วยงานราชการทั่วไป เพื่อไม่ให้เกิดความสับสนเกี่ยวกับวันปฏิบัติงาน และวันหยุดของบุคลากรของมหาวิทยาลัย 8) ผู้บริหารควรใส่ใจ สนับสนุน และยอมรับแนวทางความคิดเห็นของบุคลากร ในการปฏิบัติงานอันก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม และควรมีระบบธรรมภิบาลเข้ามาสร้างความสมดุลในการอยู่ร่วมกัน และมีมาตรการเสมอกันทุกส่วนงานในการปฏิบัติที่เป็นการประหยัดทรัพยากร เช่น การเปิด ปิด อาคารต่างๆ เพื่อเป็นการประหยัดน้ำ ประหยัดไฟ ของมหาวิทยาลัย

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

Objectives of this research paper were to: 1. study the personnel’s quality of life of Mahachulalongkornrajavidyalaya University, 2. compare the personnel’s quality life of Mahachulalongkornrajavidyalaya University dividing by the type of the personnel and 3. study the method to develop the personnel’s quality of life of Mahachulalongkornrajavidyalaya University     

   Methodology was the mixed methods: The quantitative method collected data from 162 samples derived from 280 personnel with questionnaires and analyzed data with frequency, percentage, means and base standard deviation and F-Test and One-Way ANOVA. When and Least Significant Difference (LSD) The Qualitative Research collected  data from 12 key informants by face-to-face-in-depth-interviewing and analyzed data by descriptive interpretation.

                 Findings of the research were as follows:

                 1. The quality of personnel’s life of Mahachulalongkornrajavidyalaya University was at the medium  level ( = 3.49, S.D.= 0.594). When dividing in various parts of work, the ones that was at maximized level was the useful work for society ( = 3.75, S.D.= 0.594), Democracy in organization was at ( = 3.64, S.D.= 0.742),social integration and social cooperation were at (= 3.62, S.D.= 0.678) and the balance of working life and other ways of life were at (= 3.60, S.D.= 0.669)  respectively. The ones that were at medium level were safe working environment and good health promotion at ( = 3.43, S.D.= 0.676), work security and work advancement were at ( = 3.43, S.D.= 0.764), the opportunity for personnel’s competency  development were at ( = 3.39, S.D.= 0.773), and appropriate and fair compensation were at ( = 3.05, S.D.= 0.821) respectively.  

                 2. The comparison of the personnel’s opinions in accordance with the working quality of life by personal factors was found that the personnel with different age, education, income and position did not have different opinions, rejecting the set hypothesis.  In the other hand, the personnel with different sex, marital status and periods of work had different opinions at significant level at 0.01. Therefore, the hypothesis of the research was accepted. 

                 3. The methods to develop quality of working life of the personnel of Mahachulalongkornrajavidyalaya University are 1) To improve the standard of incomes to match the present cost of living and share the responsibilities suitably 2) The medical fee should be claimed directly from the Comptroller General’s Department, building the Sport Center for all the personnel and investigating in-out cars for the security of lives and property of the personnel. 3) allocating more budget for personnel training to make them have more working ability and suitable to  their positions. 4) The personnel who have more than 3 year working experience should be employed permanently 5) There should be more channels for personnel to express and exchange ideas among personnel, 6) The chief of officers and the colleagues should help each other and solve problems together when working 7) The holidays of working should be adjusted to match with the national official holidays to avoid  confusion. 8) The Boards of the university should support and accept the opinions of the personnel that are useful for society and should administer with good governance for equalization in living together and there is the same standard of any divisions and should be more resources reserving minded such as turning off the electricity and water supply after using them.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
Full Text Full Text.pdf 10.63 MiB 1,948 7 มิ.ย. 2564 เวลา 19:08 น. ดาวน์โหลด