โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การพัฒนาจิตอาสาของพระสังฆาธิการ ในจังหวัดระยอง
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษSangha Volunteer Spirit Development in Rayong Province
  • ผู้วิจัยพระครูสังฆวิสุทธิคุณ (บุญยุทธ พุทฺธสโร)
  • ที่ปรึกษา 1พระสุธีวีรบัณฑิต
  • ที่ปรึกษา 2ธิติวุฒิ หมั่นมี
  • วันสำเร็จการศึกษา31/03/2017
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:คณะสังคมศาสตร์
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
  • ระดับปริญญาปริญญาเอก
  • สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/54
  • ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 819
  • จำนวนผู้เข้าชม 565

บทคัดย่อภาษาไทย

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาการพัฒนาจิตอาสาของพระสังฆาธิการ ในจังหวัดระยอง  2) ศึกษาแนวคิดและหลักพุทธธรรมที่นำมาใช้ในการพัฒนาจิตอาสาของพระสังฆาธิการ ในจังหวัดระยอง และ 3) นำเสนอรูปแบบการพัฒนาจิตอาสาของพระสังฆาธิการ ในจังหวัดระยอง

ระเบียบวิธีวิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาวิเคราะห์เอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ซึ่งเป็นพระสังฆาธิการที่เป็นจิตอาสาในจังหวัดระยองนักวิชาการ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จำนวน 25 รูปหรือคน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการจดบันทึกและการบันทึกเสียง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา และการสนทนากลุ่มเฉพาะ กับผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศาสนา และการจัดการเรียนการสอน จำนวน 10 รูปหรือคน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสนทนากลุ่มเฉพาะและรูปแบบเบื้องต้นสำหรับใช้ในการยืนยันข้อมูล เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการจัดประชุมกลุ่มย่อย บันทึกเสียง และจดบันทึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา  

  ผลการวิจัยพบว่า

1. สภาพปัญหาในการพัฒนาจิตอาสาของพระสังฆาธิการในจังหวัดระยอง ประกอบด้วย 1) ต้องพัฒนาความรู้ความเข้าใจ พบว่า พระสังฆาธิการ ในจังหวัดระยอง ขาดความรู้ความเข้าใจอย่างแท้จริง เกี่ยวกับ การพัฒนาจิตอาสา ทำให้ไม่สามารถนำมาดำเนินการในชุมชนของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล 2) ต้องพัฒนาตนเอง พบว่า พระสังฆาธิการ ขาดการพัฒนาตนเองให้เป็นจิตอาสาที่ดี อาจสืบเนื่องมาจากปัญหาในข้อแรกคือการขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาจิตอาสา 3) ต้องมีผู้นำที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกล พบว่า ในเขตพื้นที่ที่ทำการวิจัยยังขาดผู้นำที่ดีในการที่จะพัฒนาจิตอาสาในชุมชนให้เกิดขึ้น 4) ให้ความสำคัญกับประโยชน์ส่วนรวมเป็นประเด็นสำคัญ พบว่า ปัญหานี้ยังมีอยู่มากในชุมชน มีการแบ่งพรรคแบ่งพวก เห็นแก่ประโยชน์ของพวกตนเองก่อน ประโยชน์ส่วนรวม 5) พัฒนาความสามัคคีให้มีมากขึ้น เพื่อความเจริญและมั่นคงของหมู่สงฆ์         6) ปัญหาจากเทคโนโลยีและการสื่อสาร พบว่า ในปัจจุบัน ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเกิดขึ้นรวดเร็วอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้การติดต่อสื่อสารในปัจจุบันพัฒนาไปอย่างก้าวกระโดด การขาดความรู้ และการตามเทคโนโลยีไม่ทันของพระสังฆาธิการ ก็เป็นปัญหาหนึ่งสำหรับการพัฒนาจิตอาสาในชุมชน 7) ขาดการจัดกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา ทำให้ขาดการเชื่อมโยง ติดต่อระหว่างวัดกับชุมชน เมื่อวัดไม่เป็นศูนย์กลางของชุมชนก็ทำให้ไม่สามารถรวมกลุ่มเพื่อจัดกิจกรรมจิตอาสาเพื่อพัฒนาชุมชนได้ จะเห็นว่าสภาพปัญหาทั้ง 7 ข้อมีความเชื่อโยงต่อเนื่อง และสัมพันธ์กัน ซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญในการพัฒนาจิตอาสาของพระสังฆาธิการ หากสามารถแก้ปัญหาได้ตรงประเด็น ปัญหาทั้งหมดก็จะสามารถคลี่คลายได้อย่างต่อเนื่องและรวดเร็วอย่างเป็นระบบ

2.  แนวคิดและหลักพุทธธรรมที่นำมาใช้ในการพัฒนาจิตอาสาของพระสังฆาธิการ ในจังหวัดระยอง พบว่า แบ่งการพัฒนาจิตอาสาออกเป็น 3 ด้าน ได้แก่ 1) การสงเคราะห์ ประกอบด้วย เงินและทุนการศึกษา, การศึกษา, เครื่องอุปโภคบริโภคและอุปกรณ์การศึกษา, สถานที่และสถานศึกษา และการทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดี 2) การไม่เบียดเบียน ประกอบด้วย การไม่เบียดเบียนทางกาย, การไม่เบียดเบียนทางใจ และ การไม่เบียดเบียนทางวาจา 3) การมุ่งประโยชน์ส่วนรวม ประกอบด้วย การเสียสละประโยชน์ส่วนตัว เช่น เวลา เงิน แรงกาย แรงสติปัญญาเพื่อประโยชน์ส่วนรวม, การทำด้วยความเต็มใจ และ การทำโดยไม่หวังสิ่งตอบแทนใดๆ ส่วนหลักพุทธธรรมที่นำมาใช้ในการพัฒนาจิตอาสาของพระสังฆาธิการ ในจังหวัดระยอง คือ หลักอริยวัฑฒิ 5 ได้แก่ ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญา

3. รูปแบบการพัฒนาจิตอาสาของพระสังฆาธิการ ในจังหวัดระยอง ประกอบด้วย 2 รูปแบบ กับ 5 วิธีการ คือ รูปแบบที่หนึ่ง การฝึกอบรม รูปแบบที่สอง การศึกษา โดยทั้งสองรูปแบบมุ่งเน้นลักษณะของจิตอาสา 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการสงเคราะห์  พระสังฆาธิการต้อง ฝึกอบรม/ศึกษาเพื่อพัฒนาการเป็นผู้นำในการสงเคราะห์ผู้อื่น, ฝึกอบรม/ศึกษาโดยการฝึกปฏิบัติการเป็นผู้สงเคราะห์ผู้อื่น, ฝึกอบรม/ศึกษาการเป็นนักถ่ายทอดที่ดี และฝึกอบรม/ศึกษาการบริหารจัดการเพื่อการสงเคราะห์อย่างเหมาะสม 2) ด้านการไม่เบียดเบียน พระสังฆาธิการต้องอบรม/ศึกษาทั้งทางโลกและทางธรรมที่สนับสนุนการแบ่งปัน การไม่เบียดเบียนผู้อื่น เช่น พรหมวิหาร 4 สังคหวัตถุ 4 และอริยวัฑฺฒิ 5 เป็นต้น 3) ด้านการมุ่งผลประโยชน์ส่วนรวม พระสังฆาธิการต้อง จัดกิจกรรม/โครงการจิตอาสาภายในและภายนอกวัดเพื่อสร้างบรรยากาศการทำประโยชน์เพื่อส่วนรวมทั้งโครงการระยะสั้นและระยะยาว, ฝึกอบรม/ศึกษาเพื่อปรับเปลี่ยนทัศนคติและมุมมองการทำประโยชน์เพื่อผู้อื่น วิธีการที่หนึ่ง คือ การพัฒนาจิตอาสา โดยใช้หลักศรัทธา ทำให้เกิดคุณลักษณะ 3 ประการ คือ ศรัทธาในตัวพระสังฆาธิการ (ผู้นำ), ศรัทธาในหลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนา และ ศรัทธาในกฎแห่งกรรม วิธีการที่สอง การพัฒนาจิตอาสา โดยใช้หลักศีล ทำให้เกิดคุณลักษณะ 4 ประการ คือ การประพฤติตามกฎระเบียบ รู้หน้าที่ ทำภาวะปกติให้สมบูรณ์,  การไม่เบียดเบียนตนเอง/ผู้อื่น ทั้งทางกาย วาจา ใจ,  การฝึกฝน พัฒนาตนเอง และ การตระหนักถึงการมีส่วนร่วมช่วยเหลือสังคม วิธีการที่สาม การพัฒนาจิตอาสา โดยใช้หลักสุตะ ทำให้เกิดคุณลักษณะ 3 ประการ คือ ความรอบรู้ ทันโลก ทันเหตุการณ์, การคิดวิเคราะห์แยกแยะอย่างมีเหตุผล และการแก้ปัญหา และทำให้เกิดประโยชน์กับตนเองและผู้อื่นวิธีการที่สี่ การพัฒนาจิตอาสา โดยใช้หลักจาคะ ทำให้เกิดคุณลักษณะ 3 ประการ คือ การเสียสละแบ่งปันทางด้านสิ่งของ เงินทอง, การเสียสละแบ่งปันทางด้านสติปัญญา และ การเสียสละแบ่งปันทางด้านแรงกาย วิธีการที่ห้า การพัฒนาจิตอาสา โดยใช้หลักปัญญา ทำให้เกิดคุณลักษณะ 3 ประการ คือ การใช้ปัญญาเรียนรู้ เข้าใจสิ่งต่างๆ ตามความเป็นจริง การใช้ปัญญาในการคิด วิเคราะห์อย่างมีเหตุผล และ การใช้ปัญญาในการแก้ปัญหา

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

The objectives of this research were 1) to study the problem conditions in developing the volunteer spirit of Buddhist ecclesiastical official monks in Rayong province, 2) to study the concept and appropriate principle of Buddha-Dhamma for developing the volunteer spirit of Buddhist ecclesiastical official monks in Rayong province and 3) to present a model of the development of Sangha volunteer spirit of Buddhist ecclesiastical official monks in Rayong province.

The research findings were:

1.           The problem conditions in developing the volunteer spirit of Buddhist ecclesiastical official monks in Rayong province consisted of 1) Necessity for the knowledge and understanding development as it was found out that Buddhist ecclesiastical official monks in Rayong province lacked of real knowledge and understanding about the development of the volunteer spirit resulting in an inability to carry on in their own community effectively and efficiently; 2) Necessity for the self-development as it was found out that Buddhist ecclesiastical official monks lacked of self-development to become good volunteer spirits.  This might be due to the first problem that was the lack of knowledge and understanding development for the volunteer spirit; 3) Necessity for the vision as leaders as it was found out that in the research area there was still the lack of good leaders in the development of volunteer spirit in the community to happen; 4) Necessity to give importance on the public interest as it was found out that this problem still existed in the community.  There was also separation among groups and viewed their own personal interest was more important than the public interest; 5) Necessity to enhance the harmony in order to gain the prosperity and wealthy in Sangha Order; 6) Problem raised from the communication and technology as it was found out that nowadays there was a rapid growth in the technology continuously.  This resulted in the unexpectedly sudden current communication condition along with the lack of knowledge and incapability to keep pace with the technology of Buddhist ecclesiastical official monks, which was one of the issue in the volunteer spirit development; 7) Lack of the activities in Buddhism causing the disconnection between temples and community.  When the temple was no longer the community center so it was unable to reunion for carrying the volunteer spirit activities to develop the community.  As mentioned, it could be seen that all these 7 problem conditions were connected and related to each other which was the major obstacle in the volunteer spirit development of Buddhist ecclesiastical official monks.  If these problems had been unsolved directly to the point, all problems would be systematically improved continuously and rapidly.

2.          The researcher found out about the concept and appropriate principle of Buddha-Dhamma for developing the volunteer spirit of Buddhist ecclesiastical official monks in Rayong province that the volunteer spirit development could be divided into 3 aspects which were 1) The welfare assistance consisted of money and scholarship, education, facility and school stationery, place and establishment for education, and role model; 2) No exploitation consisted of physical harmless, mental harmless, and verbal harmless; 3) Focus on the public interest consisted of personal interest dedication such as time, money, manpower, intellect for the public interest, willingness action and unexpected for returns action.  In terms of Buddha-Dhamma appropriately applied in the volunteer spirit development of Buddhist ecclesiastical official monks in Rayong province was the Five Development of Righteous Man (Ariyā Vaóóhi 5) which was faith, morality, learning, liberality, and wisdom.

3.          A model of the volunteer spirit development of Buddhist ecclesiastical official monks in Rayong province consisted of 2 models and 5 methods which were The First ModelTraining and The Second ModelEducation, of which focused on the characteristics of the volunteer spirit in 3 aspects which were 1) The welfare assistance Buddhist ecclesiastical official monks should be in the training/education to develop their own leadership in assisting others, the training/education by practicing to be the helper, the training/education to be good knowledge teacher, and the training/education for the welfare assistance management; 2) No exploitation Buddhist ecclesiastical official monks should be trained/educated in both worldly and religiously knowledge which supported the sharing, harmless to others such as  the Four Sublime States of Mind (Brahmavihāras 4), the Four Bases of Social Solidarity (Saïgahavatthu 4) and the Five Development of Righteous Man (Ariyā Vaóóhi 5), for instance; 3) Focus on the public interest Buddhist ecclesiastical official monks should arrange activity/project of volunteer spirit inside and outside temples in order to create the atmosphere in doing merits for the public interest including the short period and long period projects, the training/education for transforming attitude and perspective in doing good actions for others. The First Method was the volunteer spirit development by applying the concept of faith.  This would create 3 attributes in the Buddhist ecclesiastical official monks (Leader), faith in the Dhamma teachings in Buddhism and faith in the law of karma.  The Second Method was the volunteer spirit development by applying the concept of morality. This would create 4 attributes which were behave following the rules and regulations, know own duties, act to the perfection of normal condition, and harmless to oneself and another in physical, mental and verbal aspects, train and develop oneself, and realize to be part of the social assistance.The Third Method was the volunteer spirit development by applying the concept of learning. This would create 3 attributes which were being well-versed to the world and situations, able to analyze and differentiate reasonably, solve the problem, and create benefits to own-self and the others. The Forth Method was the volunteer spirit development by applying the concept of liberality. This would create 3 attributes which were sacrifice of materials and money, sacrifice on intellect and sacrifice on physical action. The Fifth Method was the volunteer spirit development by applying the concept of wisdom. This would create 3 attributes which were the use of wisdom in learning and understanding things as they really were, the use of wisdom in an analytical thinking and the use of wisdom in problem solving.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
Full Text Full Text.pdf 12.76 MiB 819 18 ก.พ. 2564 เวลา 17:15 น. ดาวน์โหลด