โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การพัฒนาองค์กรแห่งความสุขเชิงพุทธบูรณาการของสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดตาก
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษHappy Workplace Development by Buddhist Integration of Tak Provincial Culture Office
  • ผู้วิจัยนายกมลาสน์ รุ่งเรือง
  • ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.เสน่ห์ ใจสิทธิ์
  • ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.ไกรสร แสนวงค์
  • วันสำเร็จการศึกษา24/05/2023
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/5408
  • ปรากฏในหมวดหมู่สารนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 66
  • จำนวนผู้เข้าชม 61

บทคัดย่อภาษาไทย

การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1.เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปของการพัฒนาองค์กรแห่งความสุขของสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดตาก 2.เพื่อศึกษาวิธีการพัฒนาองค์กรแห่งความสุขของสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดตาก 3.เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาองค์กรแห่งความสุขเชิงพุทธบูรณาการของสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดตาก เป็นการศึกษาวิจัยโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 19 รูปหรือคน

ผลการวิจัยพบว่า

1.สภาพทั่วไปการพัฒนาองค์กรแห่งความสุขของสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดตาก เป็นการพัฒนาอยู่บนพื้นฐานของความสุข 3 ส่วน ได้แก่ 1) ความสุขระดับบุคคล ส่งเสริมให้บุคลากรมีสุขภาพที่ดีทั้งกายและใจ ส่งเสริมด้านคุณธรรมจริยธรรม พัฒนาองค์ความรู้และทักษะที่ใช้ในการปฏิบัติงาน และสร้างบรรยากาศที่ทำให้รู้สึกผ่อนคลาย 2) ความสุขระดับครอบครัว สร้างสมดุลระหว่างการทำงานและชีวิตครอบครัว ให้ความสำคัญในเรื่องค่าตอบแทนและสวัสดิการ และ 3) ความสุขระดับสังคม ส่งเสริมวัฒนธรรมองค์กรที่เน้นการมีน้ำใจและทำงานเป็นทีม ให้ความสำคัญกับเครือข่ายการทำงานด้านวัฒนธรรม

2.วิธีการพัฒนาองค์กรแห่งความสุขของสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดตาก ประกอบไปด้วย 1) สุขด้วยการจัดการ มีการกำหนดเป้าหมายและวางแผนการทำงาน การบริหารทรัพยากรมนุษย์ การบริหารงบประมาณ การจัดการวัสดุอุปกรณ์ การมีผู้นำที่พร้อมด้วยศาสตร์และศิลป์  2) สุขด้วยบรรยากาศในที่ทำงาน โดยมีผู้นำที่ดี มีสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่เหมาะสม อยู่กันแบบครอบครัว มีวัฒนธรรมองค์กรที่เข้มแข็ง และเน้นในเรื่องคุณธรรมจริยธรรม 3) สุขด้วยกระบวนการสร้างสุข มีการกำหนดผู้รับผิดชอบงานสร้างสุข มีการสื่อสารแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีการสร้างสุขผ่านการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในองค์กร ผู้นำให้การสนับสนุนทรัพยากรในการดำเนินงาน มีการประเมินผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนา 4) สุขด้วยสุขภาพกายใจ ส่งเสริมให้บุคลากรมีสุขภาพร่างกายและสุขภาพใจที่แข็งแรงสดใสร่าเริง และ 5) สุขด้วยผลลัพธ์องค์กร ทำให้บุคลากรผูกพันกับองค์กร เกิดความสามัคคีรักใคร่ผูกพันกัน และเกิดผลการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ

3.แนวทางการบูรณาการหลักสัปปายธรรมทั้ง 7 ประการ เป็นการสร้างสภาวะที่เกื้อกูลต่อการทำงานของบุคลากรที่อยู่ในองค์กรให้ทำงานได้อย่างมีความสุข และช่วยหนุนเสริมวิธีการพัฒนาองค์กรแห่งความสุขทั้ง 5 มิติ ให้เกิดขึ้นได้ภายใต้สภาวะเกื้อกูลทั้งภายนอกและภายใน ดังนี้ 1) สภาวะเกื้อกูลภายนอก ได้แก่ สภาพที่ทำงานมีความเหมาะสม การเดินทางและทำเลที่ตั้งมีความสะดวก การมีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการทำงาน และ การมีสิ่งอำนวยความสะดวกในการทำงานที่ดี 2) สภาวะเกื้อกูลภายใน ได้แก่ มีการปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกันของคนในองค์กร การมีบุคคลต้นแบบหรือที่ปรึกษาที่ดี และ การมีสุขภาพกายและสุขภาพใจที่ดี

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

           The objectives of this thesis are 1. to study the general background of the happy workplace development of Tak Provincial Culture Office. 2. to study the development methods for the happy workplace of Tak Provincial Culture Office. 3. to present the guidelines for the development of the happy workplace by Buddhist integration of Tak Provincial Culture Office. This research study used a qualitative research methodology in which the researcher collected data from in-depth interviews with 19 key informants.

The findings of this research as follows:

1. The general background of the happy workplace development of Tak Provincial Culture Office based on three parts of happiness: 1) Personal happiness : encourage personnel to have good physical and mental health, promote morality and ethics, develop knowledge and skills used in work and create a relaxing atmosphere. 2) Family happiness : balancing work and family life, give importance to compensation and welfare and 3) Social happiness : promote a corporate culture that emphasizes kindness and teamwork, give importance to cultural working networks.

 2. The development methods for the happy workplace of Tak Provincial Culture Office include: 1) Happiness through management : set goals and work plans, human resource management, budget management, material handling, having leaders with science and art. 2) Happiness through the atmosphere at work : by having a good leader, have the right environment, live together as a family, have a strong corporate culture and focusing on morality and ethics. 3) Happiness through the process of creating happiness : there is a person responsible for creating happiness. There is communication, exchange, learning how to create happiness through the participation of all sectors in the organization. Leaders provide operational resource support. There is an evaluation for improvement and development. 4) Happiness through physical and mental health : encourage personnel to have good physical and mental health that is bright and cheerful and 5) Happiness through organizational results : make personnel bond with the organization unity, love, bonding and effective performance.

 3.  The guidelines for integrating the seven Sappaya dhamma principles creates conditions that support the work of personnel in the organization to work happily and help support the development of the organization of happiness in all 5 dimensions to occur under conditions of both external and internal support as follows: 1) external supportive conditions, i.e. appropriate working conditions, convenient travel and location, having a conducive working environment and having good working facilities. 2) internal supportive conditions, i.e. having good interactions with each other in the organization, having a good role model or mentor and having good physical and mental health.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
6414245031 6414245031 5.08 MiB 66 17 ก.ค. 2566 เวลา 14:35 น. ดาวน์โหลด