โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดนโยบายการพัฒนาชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลประสงค์ อำเภอท่าชนะ จังหวัด สุราษฎร์ธานี
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe People’s Participation in Policy Making for Community Development of Prasong Sub-district Administrative organization , Thachana District, Surat Thani Province.
  • ผู้วิจัยพระเกรียงศักดิ์ กิตฺปญฺโญ (รักสนิท)
  • ที่ปรึกษา 1พระครูอรุณสุตาลังการ, ผศ.ดร.
  • ที่ปรึกษา 2รศ.ดร.กันตภณ หนูทองแก้ว
  • วันสำเร็จการศึกษา01/04/2018
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:บัณฑิตวิทยาลัย
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาการพัฒนาสังคม
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/541
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 264
  • จำนวนผู้เข้าชม 783

บทคัดย่อภาษาไทย

                  วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดนโยบายการพัฒนาชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลประสงค์ อำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฏร์ธานี   2) เพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดนโยบายการพัฒนาชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลประสงค์ อำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฏร์ธานีที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อเดือนต่างกัน และ 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับปัญหาและแนวทางแก้ไขการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดนโยบายการพัฒนาชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลประสงค์ อำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฏร์ธานี ประชากร ได้แก่  ประชาชนที่อยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลประสงค์ อำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฏร์ธานีจำนวน 8,285  คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตร Krejcie and Morgan  ได้กลุ่มตัวอย่าง 369 คน เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสอบถามแบบปลายปิดและปลายเปิด และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วยการหาค่าสถิติ t-test   F-test และทดสอบเป็นรายคู่ด้วยวิธี LSD (Least Significant Difference)

                 ผลการวิจัยพบว่า    

                 1)  การมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดนโยบายการพัฒนาชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลประสงค์ อำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฏร์ธานีโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านเศรษฐกิจ  มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือด้านโครงสร้างพื้นฐาน  ด้านการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม  และด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของชุมชน  มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพและรายได้ต่อเดือน พบว่าโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง

               2)  ผลการเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดนโยบายการพัฒนาชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลประสงค์ อำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฏร์ธานี ที่มีอาชีพ และรายได้ต่อเดือนต่างกัน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 และเพศต่างกัน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนที่มี อายุ และระดับการศึกษาต่างกัน ไม่แตกต่างกันอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

              3) ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดนโยบายการพัฒนาชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลประสงค์ อำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฏร์ธานี ปัญหา พบว่า ด้านโครงสร้างพื้นฐาน มีความถี่สูงสุด ข้อที่ว่า เปิดโอกาสให้ร่วมแสดงความคิดเห็นในการแก้ไขปัญหาที่เกิดในชุมชน น้อย สำหรับแนวทางแก้ไข พบว่า ด้านโครงสร้างพื้นฐานมีความถี่สูงสุด  ข้อที่ว่า ควรอำนวยความสะดวกในการเข้าร่วมรับฟังการกำหนดนโยบายการพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานแก่ประชาชน

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

     The objectives of this thematic paper were as followers : 1) to study the local political participation of the people in the Prasong sub-district municipality of  Thachana District, Suratthani province. 2) to compare the people’s local political partaking with the differences of gender, age, level of education occupation, and monthly income; and 3) to examine the suggested and the ways to solve the problems focusing on the local political participation of the people in the Prasong sub - district municipality.  The people who have lived in the Prasong sub - district amounted 8,285 persons, and they were selected to study only 369 persons that were determined by using the square relationship between population and sample of the Krejcie and Morgan. The tools used in data collecting and data analysis were a set of questionnaire and the finished computer program in analyzing data.  Standard deviation, and testing the hypothesis by statistical values of Z-test and F-test and a pair test was done by the method of LSD (Least Significant Difference).
     The results of this study were as follows:
     1) The local political participation of the people in the Prasong sub-district as a whole was at a middle level, while considering in each aspect found that the perception of information was at the highest level, followed by the rights of election and the aspect of job management/project was at the lowest level.  The classifying by sex, age, level of education, occupation and monthly income totally occurred in the middle level.
     2) The comparison of local political participation of the people in the case of gender or differences of occupation and monthly income were at statistical significance at 0.001 level. The sex showed the difference of statistical significance at 0.05 level.  But in the case of age and level of education there were not different at statistical significance of 0.05 level.
     3) The suggestions on the problems and the ways for solution of the local political participation at the Prasong Sub-district Municipality were as follow: the problem of voters was in the highest mean because they did not have the information and the policy of the candidates in election and the public media had no freedom to provide the correct facts to the people. So the ways to solve this problem was that the public media should be free to give correct political information for the people and should create a political sense of democracy in the aspect of the political participation to the people in the future as much as possible.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
Full Text Full Text.pdf 2.94 MiB 264 7 มิ.ย. 2564 เวลา 23:05 น. ดาวน์โหลด