โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    บทบาทของพระธรรมทูตอาสาในการพัฒนาสังคมจังหวัดชายแดนภาคใต้
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Volunteer Dhammaduta Role in Social Development in the Southern Border Provinces
  • ผู้วิจัยพระนรุตม์ชัย อภินนฺโท (สอนคง)
  • ที่ปรึกษา 1พระครูวิรัตธรรมโชติ , ดร.
  • ที่ปรึกษา 2รศ.ดร.กันตภณ หนูทองแก้ว
  • วันสำเร็จการศึกษา13/03/2018
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:บัณฑิตวิทยาลัย
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาการพัฒนาสังคม
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/542
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 261
  • จำนวนผู้เข้าชม 269

บทคัดย่อภาษาไทย

การศึกษาวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบทบาทของพระธรรมทูตอาสาในการพัฒนา สังคมจังหวัดชายแดนภาคใต้ 2) เพื่อเปรียบเทียบบทบาทของพระธรรมทูตอาสาในการพัฒนาสังคม จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่มี อายุพรรษา อายุ ระดับการศึกษาทางธรรม ระดับการศึกษาทางโลก ภูมิลำเนา แตกต่างกัน และ 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะปัญหาและแนวทางแก้ไข บทบาทของพระธรรมทูตอาสาในการพัฒนาสังคมจังหวัดชายแดนใต้  วิธีการวิจัยเชิงปริมาณโดยศึกษาจากประชากรทั้งหมด คือ พระธรรมทูตอาสาที่ปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ( สตูล สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ) จำนวน 133 รูป เครื่องมือที่ใช้ในการทำวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามมีทั้งหมด 3 ตอน คือ  ตอนที่ 1) เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลสถานภาพทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ประกอบด้วย  อายุพรรษา , อายุ, ระดับการศึกษาทางธรรม ระดับการศึกษาทางโลก ภูมิลำเนาเดิมของพระธรรมทูตอาสา 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ตอนที่ 2) เป็นข้อคำถามเกี่ยวกับบทบาทของพระธรรมทูตอาสาในการพัฒนาสังคมจังหวัดชายแดนภาคใต้ แบ่งออกเป็น 4 ด้าน คือ  ตอนที่ 3)  เป็นแบบสอบถามลักษณะปลายเปิด (Open-ended) เกี่ยวกับ(วัตถุประสงค์ข้อ 3)  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการทดสอบค่าที และ การทดสอบความแปรปรวนแบบทางเดียว  

ระดับการปฏิบัติเกี่ยวกับบทบาทของพระธรรมทูตอาสาในการพัฒนาสังคมจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยภาพรวมทั้ง 4 ด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงจากค่าเฉลี่ยสูงสุดได้ดังนี้  ด้านโครงการพุทธบุตร รองลงมาคือ ด้านเยี่ยมพระ พบปะโยม ด้านสร้างขวัญกำลังใจผู้ประสบภัย  และด้านศาสนิกสัมพันธ์ตามลำดับ

ผลการเปรียบเทียบระดับของบทบาทพระธรรมทูตอาสาในการพัฒนาสังคมจังหวัดชายแดนภาคใต้  จำแนกตามสภาพผู้ตอบแบบสอบถามพบว่า 1) อายุพรรษา พบว่าอายุพรรษา  1-10  พรรษา และมากกว่า  10 มี  ระดับการปฏิบัติเกี่ยวกับบทบาทในการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุนชนโดยภาพรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.05  2) อายุ พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามที่มีอายุต่างกัน มีระดับการปฏิบัติเกี่ยวกับบทบาทในการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุนชนโดยภาพรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.05  3) การศึกษาทางธรรม พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามที่มีการศึกษาทางธรรมต่างกันมีระดับการปฏิบัติเกี่ยวกับ บทบาทในการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุนชน โดยภาพรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.05  4) การศึกษาทางโลก พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามที่มีการศึกษาทางโลก ต่างกัน มีระดับการปฏิบัติเกี่ยวกับบทบาทในการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุนชน โดยภาพรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.05 5) ภูมิลำเนาเดิม พบว่าในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ และนอกพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้มีระดับการปฏิบัติเกี่ยวกับบทบาทในการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุนชน โดยภาพรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.05 

ข้อเสนอแนะ เกี่ยวบทบาทของพระธรรมทูตอาสาในการพัฒนาสังคมจังหวัดชายแดนภาคใต้ จากผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด 133 รูป พบว่าจำนวนผู้ตอบแบบสอบถาม 35 รูป ได้เสนอแนะแนวทางเป็นโครงการที่ดีมากและสมควรได้ดำเนินการต่อไป เพราะเป็นขวัญกำลังใจแก่ชาวพุทธเป็นอย่างดี ข้อเสนอแนะเราควรทำอย่างไรให้การไปเยี่ยมโยมครอบคลุมทั้งไทยพุทธและไทยมุสลิมซึ่งบาง พื้นที่ยังไม่ค่อยได้ปรากฏภาพเหล่านี้ เพื่อสันติสุขและเข้าใจกันในทางที่ดี

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ


The objectives of this research were as follows : 1) to study the volunteer dhammaduta role in social development in southern border provinces, 2 ) to compare the volunteer dhammaduta role in social development in southern border provinces in terms of periods of monkhood, ages, dhamma education levels, general study levels and placers of birth as differently and, 3 ) to study the suggestion on problem and resolution on the volunteer dhammaduta role in social development in southern border provinces. This is a quantitative research with studying of all dhammaduta role in social development in southern border provinces (satoon, songkhla, pattani, yala and narathivas) for 133 persons. The instrument for data collection was questionnaire both closed and open and questions. The statistics were analysed as follows; frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test and one way ANOVA. The findings were as follows:

1) The volunteer dhammaduta role in social development in southern border provinces by overview was at more level for all aspects, from more to less as follows,- buddhaputtra project domain, and followed up visit monk and neet follower domain, motivative making to victims domain and religious relation domain respeehiely.

2) The comparative result on the volunteer of dhammaduta role in social development in southern border provinces found that in terms of periods of monkhood, ages, dhamma study levels, general study levels and places of birth there were different as statistically significance at .05.

3) The suggestion on the volunteer of dhammaduta in social development in southern border provinces. The problem found there should visit monksand his followers were mot coverage both Thai buddhists and muslims there was the highest. Frequency. The resolution found that there should visit monks and his followers in coverage both Thai buddhists and muslims for peacefulness and good understanding each other; there was the highest frequency. 

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
Full Text Full Text.pdf 1.58 MiB 261 8 มิ.ย. 2564 เวลา 00:18 น. ดาวน์โหลด