โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงพุทธของวัดและชุมชน ในอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Promotion of Buddhist Tourism of Temples and Communities in Sampran District, Nakhon Pathom Province
  • ผู้วิจัยนางสาวแพรวิลัย ไพประพันธ์
  • ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.โยตะ ชัยวรมันกุล
  • ที่ปรึกษา 2ดร.กฤติยา ถ้ำทอง
  • วันสำเร็จการศึกษา08/05/2021
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:บัณฑิตวิยาลัย
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/544
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 3
  • จำนวนผู้เข้าชม 7

บทคัดย่อภาษาไทย

                   งานวิจัยเรื่องการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงพุทธของวัดและชุมชน ในอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐมวัตถุประสงค์ดังนี้ เพื่อศึกษาการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงพุทธของวัดและชุมชนในอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม, เพื่อวิเคราะห์การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงพุทธของวัดและชุมชน ในอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ตามปัจจัยส่วนบุคคล และ เพื่อเสนอแนะแนวทางในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงพุทธของวัดและชุมชน ในอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม  

             ศึกษาการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method) โดยใช้ระเบียบการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ที่เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) โดยผู้วิจัยได้จัดกลุ่มข้อมูลตามสาระสำคัญของประเด็นการสัมภาษณ์ที่กำหนดไว้ (Data Grouping) และวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) เก็บแบบสอบถามประชากรที่อาศัยอยู่ในชุมชน และมาเที่ยววัดในอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างเป็นแบบทาโร่ ยามาเน่ (Taro Yamane) จากประชากรที่อาศัยอยู่ในชุมชน และมาเที่ยววัดไร่ขิง และวัดดอนหวาย จำนวน 400 คน ได้กลุ่มตัวอย่าง 200 คน แล้วนำมาหาค่าความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) การทดสอบค่าที (t-test) และการทดสอบค่าเอฟ (f-test) โดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference: LSD)

                  ผลการศึกษาพบว่า

                   1) ผลการสัมภาษณ์ พบว่า การส่งเสริมวัฒนธรรมนั้น จะต้องแสดงรายละเอียดและการจะสร้างความมั่นคงได้ต้องเป็นศูนย์รวมของจิตใจคนและผ่อนคลายจากนักท่องเที่ยว รวมไปถึงสามารถยกระดับจิตใจได้ด้วยกิจกรรมทางพระพุทธศาสนานั้นมีส่วนช่วยในการทำให้เป็นจุดสนใจต่อนักท่องเที่ยวมาก ซึ่งทางวัดต้องให้ความสำคัญ เช่น การจัดสถานที่ การหาที่พักผ่อนหย่อนใจ  การบริการที่จอดรถเพื่อรองรับคน

                   2) ระดับการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงพุทธของวัด และชุมชนในอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ย 4.56 และเมื่อจำแนกเป็นด้าน พบว่า ด้านที่มากที่สุด คือ ด้านการส่งเสริมเชิงศาสนาพุทธ มีค่าเฉลี่ย 4.61 รองลงมา คือ ด้านการส่งเสริมกิจกรรมเชิงพุทธ มีค่าเฉลี่ย 4.59 และน้อยที่สุด คือ ด้านการส่งเสริมเชิงวัฒนธรรม มีค่าเฉลี่ย 4.47 ตามลำดับ

             3) การเปรียบเทียบความคิดเห็นของ การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงพุทธของวัดและชุมชนในอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม พบว่า นักเรียนที่มีอายุและอาชีพต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงพุทธของวัด และชุมชน ในอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ยกเว้น ยกเว้น นักเรียนที่มี เพศ และระดับการศึกษา ที่มีความคิด ไม่แตกต่างกัน เป็นการปฏิเสธสมมติฐาน

             4) สภาพปัญหาเกี่ยวกับการส่งเสริมการสร้างจิตสำนึกเพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมเชิงพุทธของประชาชนในวัดไร่ขิง พระอารามหลวง จังหวัดนครปฐม พบว่า สภาพปัญหาแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ บรรยากาศบางครั้งยังไม่อำนวยเท่าที่ควร การส่งเสริมความสำคัญทางศาสนายังไม่เป็นจุดสนใจและเข้าถึงเด็กวัยรุ่น กับทั้งไม่มีการให้ความรู้และส่งเสริมการใช้สมุนไพรมีจำนวนน้อย

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

The study entitled The Promotion of Buddhist Tourism of Temples and Communities in Sampran District, Nakhon Pathom Provinceconsisted of the following objectives: 1) to study the promotion of Buddhist tourism of temples and communities in Sampran District, Nakhon Pathom Province; 2) to analyze the promotion of Buddhist tourism of temples and communities in Sampran District, Nakhon Pathom Province classified by means of personal factors; and 3) to propose suggestions for the promotion of Buddhist tourism of temples and communities in Sampran District, Nakhon Pathom Province.

The study applied mixed-method research of qualitative and quantitative methods. For qualitative data, it was collected by means of an in-depth interview in which the researcher grouped the data according to the issues of the interview. While quantitative data, a questionnaire was made with population who lived in the communities or those who travelled in Sampran District, Nakhon Pathom Province. A sampling method applied Taro Yamane formula and 200 persons were selected out of the 400 population of those who lived in the communities, who travelled to Wat Rai Khing and Wat Don Wai. The acquired data were used to find a frequency, percentage, mean, standard deviation (S.D.), t-test, f-test, one-way ANOVA, and the least significant difference (LSD).

        The results of the research are found as follows:

        1) From the interview, it is found that the cultural promotion must show details, be the refuge for the mind of people in order to build stability, make the tourists who visit feel relaxed, and able to uplift the mind. Buddhist activities also help in attracting the tourists, which the temple has to pay attention to such as venue arrangement, place to spend leisure time, parking lot service to accommodate the tourists, etc.

        2) The level of the promotion of Buddhist tourism of temples and communities in Sampran District, Nakhon Pathom Province overall is found to be at a high level with a mean () of 4.56. When classifying in each aspect, it is found the promotion of Buddhism has the highest mean () that is equal to 4.61. Followed by the promotion of Buddhist activities that has a mean () of 4.59. The cultural promotion has the least mean () which is equal to 4.47.

        3) From comparing the opinions towards the promotion of Buddhist tourism of temples and communities in Sampran District, Nakhon Pathom Province, it is found that students with different ages and occupations have differences in opinions with a difference in statistical significance at 0.05 level, except students with the same gender and level of education that do not have differences in opinions, therefore, rejecting the hypothesis set.

       4) From studying the problems of the promotion in raising awareness for people to promote the Buddhist cultures in Wat Rai Khing, Nakhon Pathom Province, the following problems are found: the important tourist attractions do not have a favorable environment, the promotion of the importance of religion does not interest or reach out to teenagers, the lack of knowledge provided and the promotion of using herbs.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
Full Text Full Text.pdf 6.97 MiB 3 8 มิ.ย. 2564 เวลา 01:01 น. ดาวน์โหลด