-
ชื่อเรื่องภาษาไทยประสิทธิภาพการบริหารจัดการโครงการพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน ในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค 15
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษAdministrative efficiency of In-school morality teaching monks project in the sangha administrative area 15
- ผู้วิจัยพระครูอุเทศสุตาภรณ์ (บริบูรณ์ ปริปุณฺโณ พุฒศิริ)
- ที่ปรึกษา 1พระอุดมสิทธินายก
- ที่ปรึกษา 2พระมหากฤษฎา กิตฺติโสภโณ
- วันสำเร็จการศึกษา20/02/2017
- ส่วนงานจัดการศึกษา:คณะสังคมศาสตร์
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
- ระดับปริญญาปริญญาเอก
- สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/55
- ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 146
- จำนวนผู้เข้าชม 421
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปในการบริหารจัดการโครงการพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน ในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค 15 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารจัดการโครงการพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน ในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค 15 และ3) เพื่อนำเสนอกระบวนการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการโครงการพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน ในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค 15
การศึกษาครั้งนี้ เป็นการศึกษาแบบผสานวิธี โดยใช้ระเบียบการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการวิเคราะห์เอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ที่เป็นผู้บริหารโครงการพระสอนศีลธรรม และผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน 18 รูปหรือคน และการสนทนากลุ่มเฉพาะกับผู้เชี่ยวชาญจำนวน 12 รูปหรือคน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหาพรรณนา เรียบเรียงและจำแนกอย่างเป็นระบบ และใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ ด้วยการแจกแบบสอบถาม กับพระสอนศีลธรรมในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค 15 จำนวน 251 รูป สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพทั่วไปในการบริหารจัดการโครงการพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน ในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค 15 พบว่า (1) ด้านการบริหารงบประมาณ มีการบริหารจัดการอย่างโปร่งใส ตรวจสอบได้ แต่งบประมาณที่ได้รับการจัดสรรมีไม่เพียงพอต่อการจัดทำสื่อการเรียนการสอน การจ่ายค่าตอบแทนให้แก่พระสอนศีลธรรมไม่เหมาะสมกับสภาพปัจจุบัน (2) ด้านการพัฒนาพระสอนศีลธรรม ในปัจจุบันมีการฝึกอบรมเป็นประจำทุกปีพระสอนศีลธรรมเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับนักเรียน มีกระบวนการในถ่ายทอดความรู้การบูรณาการกับหลักพุทธธรรมได้อย่างเหมาะสม แต่พบปัญหาจำนวนพระสอนศีลธรรมมีไม่เพียงพอทุกสถานศึกษา จำนวนชั่วโมงเรียนมีจำกัด สื่อล้าสมัย ไม่เป็นที่สนใจของนักเรียน (3) ด้านการติดตามประเมินผล มีระบบและกลไกในการติดตามและประเมินผล แต่พระสอนศีลธรรมขาดการจัดทำทะเบียนผู้เข้าร่วมกิจกรรม ขาดความรู้และทักษะเกี่ยวกับวิธีในการประเมินผลงานจากแฟ้มสะสมงานของนักเรียน ขาดผู้นิเทศก์ในการให้คำแนะนำวิธีการสอนอย่างเหมาะสม พระสอนศีลธรรมมีความคิดเห็นต่อประสิทธิภาพการบริหารจัดการโครงการพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน ในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค 15 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (X bar =4.10, S.D. =0.42) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้านคือด้านการติดตามประเมินผล (X bar = 4.12, S.D. = 0.46) ด้านการพัฒนาพระสอนศีลธรรม (X bar = 4.11, S.D. = 0.46) ด้านการบริหารงบประมาณ (X bar = 4.08, S.D. =0.46)
2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารจัดการโครงการพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน ในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค 15 นั้น พบว่า ประสิทธิภาพในมิติของค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนการผลิต (Input) ได้แก่ การใช้ทรัพยากรการบริหาร คือ คน เงิน วัสดุ เทคโนโลยีที่มีอยู่อย่างประหยัด คุ้มค่า และเกิดการสูญเสียต่อโครงการพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนน้อยที่สุด ประสิทธิภาพในมิติของกระบวนการบริหาร (Process) ได้แก่ ผู้บริหารโครงการพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน มีการทำงานที่ถูกต้องได้มาตรฐาน รวดเร็ว และใช้เทคโนโลยีที่สะดวกกว่าเดิม และประสิทธิภาพในมิติของผลผลิต (Output) ได้แก่ ผู้บริหารโครงการพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน มีการทำงานที่มีคุณภาพเกิดประโยชน์ต่อสังคม และผลลัพธ์ (Outcome) ได้แก่ เกิดความพึงพอใจ ทันเวลา และหลักธรรมในทางพระพุทธศาสนาได้แก่หลักสัปปุริสธรรม 7 เป็นหลักพุทธธรรมที่เหมาะสม เพื่อนำมาบูรณาการสนับสนุนให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างราบรื่น สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ และนโยบายของโครงการพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนนั้นอย่างมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น
3. กระบวนการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการโครงการพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน ในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค 15 พบว่ามี 4 ด้าน คือ (1) ด้านการบริหารงบประมาณ ได้แก่ มีงบประมาณเพียงพอ การได้รับผลตอบแทนที่เหมาะสม การจัดหาผ้าป่าการกุศลสนับสนุนมีงบประมาณโรงเรียนสนับสนุน มีการวางแผนงบประมาณที่ดี มีการตรวจสอบจากสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (2) ด้านการพัฒนาพระสอนศีลธรรม ได้แก่ เปิดศูนย์ให้ความรู้เข้าถึงข้อมูลข่าวสาร มีการจัดบุคคลและสรรหาบุคลากรที่มีคุณภาพ ให้มีพระสอนศีลธรรมประจำทุกโรงเรียน มีการฝึกอบรม จัดประชุมสัมมนาให้ความรู้บุคลากร มีการเปิดหลักสูตรประกาศนียบัตรการสอนศีลธรรมในโรงเรียน มีการเขียนแผน (3) ด้านการติดตามประเมินผล ได้แก่ จัดอบรมเพิ่มประสิทธิภาพในการวัดผลและประเมินผล จัดทำเอกสารหรือคู่มือเกี่ยวกับวิธีการประเมินผล จัดให้มีการวัดและประเมินผล สร้างความตระหนักให้ผู้บริหารสถานศึกษาในการวัดผลและประเมินผล จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ ในการสร้างเครื่องมือวัดผลและประเมินผล (4)ด้านการพัฒนาเครือข่าย ได้แก่ร่วมกับคณะสงฆ์ ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ สำนักพุทธศาสนาประจำจังหวัดทุกจังหวัด วัฒนธรรมจังหวัดทุกจังหวัด สถานศึกษาทุกสถานศึกษา ศึกษานิเทศก์ทุกศึกษานิเทศก์ วิทยาลัยสงฆ์ทุกวิทยาลัยสงฆ์เพื่อพัฒนาโครงการพระสอนศีลธรรมให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
Objectives of this research were 1. to study general management condition of the In-School Morality Teaching Monk Project at school in the Sangha Administrative Area 15, 2. to study factors affecting the management efficiency of the In-School Morality Teaching Monk Project at school in the Sangha Administrative Area 15 and 3. to propose the approach to the management efficiency of the In-School Morality Teaching Monk Project at school in the Sangha Administrative Area 15
Research methodology was the mixed methods. The qualitative research collected data from document and in-depth-interviewing 18 key informants and 12 participants in focus group discussion. The quantitative research collected data with questionnaires with 251
Findings were as follows:
1. general management condition of the In-School Morality Teaching Monk Project at school in the Sangha Administrative Area 15 was that (1) budget management was clear and transparent and checkable. Only that the budget for morality teaching monks project was not sufficient, not appropriate for the present situation.(2) morality teaching monk development at present, there was training every year the delivery techniques with the appropriate Buddhadhamma integration. The problem was that morality teaching monks were limited, not enough for every school, teaching media were obsolete, not interesting to students,(3) evaluation process was appropriate but the morality teaching monks did not have records of activity participants. Morality teaching monks lacked evaluating skill from students’ workbooks, lacking of the mentors to guide the appropriate teaching methods. The morality teaching monks’ opinions towards the teaching efficiency of Sangha administration Area 15 at the high level with the everage of (X bar=4.10, S.D. =0.42) and each aspect was also at high level; evaluation level was at (X bar =4.12, SD. =0.46, morality teaching monk development was at(X bar =4.11.SD. =0.46, budget management was at (X bar =4.08, SD. =0.46.
2. Factors affecting the management efficiency of the In-School Morality Teaching Monk Project at school in the Sangha Administrative Area 15 was that the efficiency of input, to use the managerial resources; man, money, materials and technology economically and with less waste. The efficiency of process; the morality teaching monks project administrators performed their tasks with one standard, promptly and use new technology for management effectively. The efficiency of output; the morality teaching monks project administrators performed their duties for the benefits of the society yielding outcomes that were satisfactions, in-time and Buddhadhamma that was Suppurisadhamma7, the appropriate Dhamma to be integrated with the in- school morality teaching monks project for more effectively objective attainment according to the policies of in-school morality teaching monks project.
3. The process of the efficiency development of the in-school morality teaching monks project management in the Sangha administrative Area 15 comprised 4 aspects; (1) budget management: budget for the project was sufficient, the result was also appropriate. There were supportive Pahpa donation and school supportive budget, good budgetary planning and inspection for Internal Audition, (2) Morality teaching monks development; there should be training center for morality teaching monks, the center for information access, staffing and appropriate personnel placement, morality teaching monks at every school, training and seminar and curriculum for the morality teaching monks with plans, (3) evaluation process; there should be additional training for evaluation and measurement to create evaluation handbooks more comprehension on evaluation for administrators to see the importance of evaluation. Additional practical training for evaluation tools preparation, (4) the development of the network. There was coordination to create network among Sangha Oder in the area of responsibility, Office of the Provincial Buddhist Affairs, provincial Cultural Offices, educational institutions, all educational supervisors and Sangha Educational Institutes to develop the in-school morality teaching monk project administration more effectively.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
Full Text | Full Text.pdf | 8.32 MiB | 146 | 18 ก.พ. 2564 เวลา 17:25 น. | ดาวน์โหลด |