โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการน้ำเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ: กรณีศึกษาเขื่อนวชิราลงกรณ
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe People’s Participation in Water Management to Cope with Climate Change : A Case Study of Vajiralongkorn Dam
  • ผู้วิจัยพระสมุห์ธนกฤต ขนฺติพโล (สมบูรณ์)
  • ที่ปรึกษา 1ดร. เดชา กัปโก
  • ที่ปรึกษา 2พระสุธีรัตนบัณฑิต, รศ.ดร.
  • วันสำเร็จการศึกษา10/03/2561
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:บัณฑิตวิทยาลัย
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาการพัฒนาสังคม
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/553
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 595

บทคัดย่อภาษาไทย

การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้กำหนดวัตถุประสงค์ของการวิจัยไว้ 2 ประการ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนวชิราลงกรณภายหลังประเทศไทยประสบกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 2) เพื่อศึกษารูปแบบการมีส่วนร่วมในจัดการน้ำเขื่อนวชิราลงกรณ เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงปริมาณน้ำที่เกิดขึ้น ได้ทำการการวิจัยแบบเซิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสาร ควบคู่กับการสัมภาษณ์ (In-depth Interview) ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนวชิราลงกรณและรูปแบบการมีส่วนร่วมในการจัดการน้ำเขื่อนวชิราลงกรณ แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์และสังเคราะห์เชื่อมโยง เพื่อให้เห็นข้อมูลปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำและรูปแบบของการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการน้ำของเจ้าหน้าที่เขื่อนวชิราลงกรณกับประชาชน 

ผลการวิจัยพบว่า
1. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะทำให้ปริมาณน้ำฝนและน้ำท่าในลุ่มน้ำแม่กลองมีความเปลี่ยนแปลง ซึ่งทำให้เกิดความแห้งแล้งทำให้ฝนตกน้อย มีปริมาณน้ำฝนและน้ำท่าไหลลงสู่ระบบเขื่อนวชิราลงกรณและลุ่มน้ำแม่กลองน้อยลง แต่ก็ไม่ทำให้ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำน้อยจนเป็นอุปสรรคต่อการเดินเครื่องปั่นกระแสไฟฟ้า กล่าวคือไม่มีปีใดที่มีน้ำต่ำกว่าเกณฑ์ควบคุมระดับน้ำตัวล่าง ขณะเดียวกันในปีที่ต้องประสบกับภาวะลานีญ่าที่ทำให้เกิดพายุฝนมากกว่าปกติ ปริมาณน้ำฝนและน้ำท่าในลุ่มน้ำแม่กลองมากเกิน แต่ก็ยังอยู่ในความสามารถการบริหารจัดการของเขื่อนฯ  ทั้งนี้เมื่อศึกษาย้อนกลับไปประมาณ 20 ปีพบว่ามีเพียง 3 ปีเท่านั้นที่เขื่อนต้องเปิดประตูระบายน้ำล้นเพื่อระบายน้ำออกจากเขื่อนไม่ให้มีปริมาณน้ำสูงเกินเกณฑ์ควบคุมระดับน้ำตัวบน คือปี 2537, 2540 และ 2545 ทั้งนี้พบว่าเขื่อนวชิราลงกรณเป็นเพียงส่วนหนึ่งของโครงการบริหารจัดการน้ำในลุ่มน้ำแม่กลอง ทำงานร่วมกับเขื่อนอื่น ๆ ได้แก่ เขื่อนศรีนครินทร์ เขื่อนท่าทุ่งนา ซึ่งเป็นของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และเขื่อนแม่กลอง ซึ่งเป็นของกรมชลประทาน เขื่อนทุกเขื่อนมีการบริหารจัดการที่เชื่อมต่อแบบบูรณาการทำให้สามารถบริหารจัดการน้ำในลุ่มน้ำแม่กลองได้อย่างมีประสิทธิภาพ
          2. ในด้านการมีส่วนร่วมของประชาชนนั้นพบว่ามีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการบริหารจัดการน้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนวชิราลงกรณรวม 4 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มเกษตรกรและชุมชนท้ายอ่างเก็บน้ำ พึ่งพิงน้ำจากอ่างเก็บน้ำเพื่อการเกษตรและอุปโภคบริโภค  2) ชุมชนหัวเขื่อน ไม่ได้ใช้น้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคแต่ใช้น้ำเพื่อกิจการอื่นเช่น การท่องเที่ยว และการประกอบประเพณีต่าง ๆ เช่น งานลอยกระทง 3) กลุ่มผู้ประกอบการรีสอร์ตและร้านอาหาร ริมแม่น้ำแควน้อย 4) องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น พบว่ามีเพียงกลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 3 เท่านั้น ที่มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการน้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนวชิราลงกรณ โดยเป็นการมีส่วนร่วมในระดับต่ำสุดคือระดับของการได้รับข้อมูลเท่านั้น สำหรับกลุ่มที่ 2 มีการทำกิจกรรมร่วมกับเขื่อนในลักษณะของงานมวลชนสัมพันธ์เพื่อกระชับความสัมพันธ์อันดีระหว่างเขื่อนกับชุมชนโดยรอบเท่านั้น และกลุ่มที่ 4 เป็นลักษณะของความสัมพันธ์ในเชิงการของความร่วมมือ ทั้งนี้ผู้แทนเขื่อนให้เหตุผลว่าไม่สามารถให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการน้ำในระดับที่สูงกว่าได้ด้วย 2 เหตุผล คือ เขื่อนไม่มีอำนาจในการบริหารจัดการน้ำในเขื่อนโดยตรง เป็นอำนาจของชลประทาน และระบบการบริหารจัดการน้ำในส่วนของเขื่อนมีความซับซ้อนและเป็นเรื่องของการพิจารณาในทางวิศวกรรมเพื่อรักษาระดับน้ำให้สอดคล้องกับประสิทธิภาพในการผลิตกระแสไฟฟ้าของเขื่อน
          3. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลกระทบต่อการพัฒนาสังคมในมิติต่าง ๆ ดังนั้นหากมีการจัดการระบบนิเวศและการมีส่วนร่วมของประชาชนที่เหมาะสมย่อมทำให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนได้

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

          This research documentary.The researcher indicated 2 main points proposals. These are following : 1.Observation water level changed in The Vachiralongkorn’s dam after Thailand had been affected by wheather atmosphere criticals. 2.Operation research of education khowledgement patterns and could be participation manage water level of The Vachiralongkorn’s dam to be solving the problem the critical in the future. This study analyses public participation by communities and beneficiaries in water management of the Electricity Generating Authority of Thailand (Egat)’s Vajiralongkorn Dam under pressure from climate change. This qualitative research includes both literature review and in-depth stakeholder interviews.
The findings are:
1. The research starts by investigating the impacts of climate change on water levels in the reservoir of Vajiralongkorn Dam on Kwai Noi River in Kanchanaburi province. From literature review, the study finds that climate change has not resulted in significant changes to the water levels such that it requires extraordinary measure in reservoir management. Statistics from the dam’s management shows that since climate change was first recorded in Thailand when the fluctuation of water levels in the reservoir has not exceeded the management ability of Egat official. For example, during the rainfall variation in the El Niño and La Niña years, water volume in the dam’s reservoir is still within the maximum and minimum curves. However, there are three occasions that the water was released downstream through the dam’s spillway, Egat’s official insisted that this is simply a normal practice in the years of heavy rainfall.
2. On the public participation side this study finds the public has limited roles in the reservoir management despite Egat’s assertion that it has given high priority of inclusive water management by stakeholders. From interviews with four stakeholder groups from communities surrounding the dam site – downstream farmers in the dam’s irrigation system, indirect water users, resort and tourism operators, and representatives from local administrative organizations, only the farmers and tourism business operators reported having participated in the reservoir management. But their so-called participation level is at minimum; that is, only to be told about date, time and volume of water to be released from the dam. Indirect water users who do not rely on the water for farming and consumption said they occasionally received gift package and participated in Egat’s CSR activities while local administrative officials said they only have organizational relationship with Egat.  
Egat’s officials explained that they could not allow greater participation by water users for two reasons. First the water management authority is with the Royal Irrigation Department. Egat’s responsibility is mainly power generation from the dam, which requires technical engineering skills. 
3. The weather changing effectiveness for social development in any dimension ,Then environment administration tools and also including people's participating in suitable ways could make  the resistance development.
 

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ