โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    ปัญหา และอุปสรรคในการบำรุงรักษาระบบโซล่าเซลล์ ของโรงเรียน ในเขตทุรกันดาร : โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านปิล๊อคคี่
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษProblems and Obstacles for Solar Cell Maintenance at A School in Remote Area: Ban Pilok Khi Border Patrol Police School
  • ผู้วิจัยพระวิศิษฏ์ ธมฺมรํสี (รัศมี)
  • ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.อุบลวรรณา ภวกานันท์
  • ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.นที ทองอุ่น
  • วันสำเร็จการศึกษา10/03/2561
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:บัณฑิตวิทยาลัย
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาการพัฒนาสังคม
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/555
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 4,575
  • จำนวนผู้เข้าชม 2,110

บทคัดย่อภาษาไทย

                วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และแนวทางในการแก้ไขในการบำรุงรักษาระบบโซล่าเซลล์ ของโรงเรียนในเขตทุรกันดาร : โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านปิล๊อคคี่ ตำบลปิล๊อค อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญในงานวิจัยครั้งนี้คือ ครู 5 คน เจ้าหน้าที่ 6 คน นักเรียน 20 คน เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบในการติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ที่โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านปิล๊อคคี่ 1 คน และเจ้าหน้าที่จากกรมการพัฒนาพลังงานทดแทนจังหวัดกาญจนบุรี 1 คน รวมทั้งสิ้น 33 คน เครื่องมือในการเก็บข้อมูลคือ แบบสัมภาษณ์เชิงโครงสร้างปลายเปิด และใช้การวิเคราะห์ผลร่วมที่ตรงกันจากทุกกลุ่มในการสรุปและอภิปรายผลเป็นความเรียง 
การลุงทุนพลังงานแสงอาทิตย์ในพื้นที่ทุรกันดาร ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนดีขึ้น การติดตั้งโซล่าเซลล์ในพื้นที่ห่างไกลถือเป็นการพัฒนาด้านพลังงานที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และมีความยั่งยืน แต่หากผู้นำปฏิบัติทำอย่างไม่มีประสิทธิภาพก็จะทำให้เกิดความล้มเหลวได้ ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงพยายามหาวิธีการปฏิบัติ เพื่อให้เกิดความยั่งยืนอย่างแท้จริง
                   ผลการวิจัยพบว่า ระบบโซล่าเซลล์ในโรงเรียนมีการชำรุดทั้งที่เกิดจากการใช้งานปกติและความผิดพลาดในการบำรุงรักษา อุปกรณ์ที่เสียหายบ่อยที่สุด คือ อินเวอเตอร์ที่ชำรุดจากการถูกฟ้าผ่า รองลงมาคือแบตเตอรี่ และปัญหาเรื่องแผงโซล่าเซลล์เสียหายพบว่ามีน้อยที่สุดตามลำดับ สภาพอากาศ ฝุ่นละออง ส่งผลต่อประสิทธิภาพของระบบ การทำความสะอาดแผง ๒ เดือนต่อครั้งจะช่วยยืดอายุการใช้งานของแผง และประสิทธิภาพของระบบดีขึ้น การขาดทักษะและความรู้ในการบำรุงรักษาระบบของบุคลากร ทำให้ไม่สามารถที่จะวิเคราะห์วางแผนในการการดูแล ตรวจสอบ และการบำรุงรักษาระบบที่เหมาะสม ส่งผลให้เกิดความความเสียหายหรือเสื่อมสภาพแก่อุปกรณ์ต่าง ๆ เร็วขึ้นเช่นแบตเตอรี่ และผลการทดลองยังพบว่าบุคลากรที่ความรู้ในระบบมากกว่า จะให้ความร่วมมือในการบำรุงรักษาระบบมากกว่า การที่บุคลากรขาดความใส่ใจ และไม่มีส่วนร่วมในการบำรุงรักษาระบบ เพราะมองว่าหน้าที่ในการบำรุงรักษาระบบ เป็นหน้าที่ของคนใดคนหนึ่งเท่านั้น หรือมองว่าตนเองไม่มีความรู้ความสามารถเพียงพอ และงานประจำที่ตนเองต้องรับผิดชอบนั้นก็มีเยอะอยู่แล้ว จึงหวังพึ่งพาการดูแลบำรุงรักษาระบบจากช่างผู้มาติดตั้งจะมาตรวจสอบให้เป็นประจำทุกปีในส่วนนี้จัดว่าเป็น การขาดจิตสำนึกสาธารณะที่บุคลากรควรจะมี 
                    สำหรับแนวทางในการแก้ไขปัญหาคือ ควรพัฒนาบุคลากรให้มีศักยภาพ เพราะคนเป็นหัวใจที่สำคัญในการพัฒนาในด้านต่าง ๆ เช่น ควรมีการจัดอบรมเกี่ยวกับการบำรุงรักษาระบบโซล่าเซลล์ ในแต่ละระบบแต่ละโซนให้มีความชัดเจนถึง อุปกรณ์ต่าง ๆ ว่ามีหน้าที่อย่างไร และแต่ละตัวต้องบำรุงรักษาอย่างไรบ้าง เพื่อให้ระบบมีประสิทธิภาพมากที่สุด และยืดอายุการใช้งานของอุปกรณ์ และควรจัดทำตารางในการบำรุงรักษาระบบโซล่าเซลล์ที่มีความกระชับ และครอบคลุม เพื่อเป็นการสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการดูแลรักษาระบบ จากนั้นควรมีการการจัดแบ่งกลุ่มครู และนักเรียนให้มีหน้าที่เป็นเวรคอยดูแลระบบโซล่าเซลล์ในแต่ละอาคารเพื่อเป็นการสร้างทักษะ และทบทวนความเข้าใจในการบำรุงรักษาระบบ เช่น การล้างทำความสะอาดแผงโซล่าเซลล์ทุก 2 เดือน การตรวจสอบน้ำกลั่น ดูแลทำความสะอาดส่วนอื่นทุก 1 เดือน เป็นต้น ท้ายที่สุดผู้นำควรปลูกฝังจิตสำนึก ชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ที่ได้จากระบบโซล่าเซลล์ เพื่อสร้างจิตสำนึกสาธารณะให้ครู และนักเรียนเกิดความรู้สึกถึงความเป็นเจ้าของ และเต็มใจให้ความร่วมมือในการบำรุงรักษาระบบโซล่าเซลล์.
 

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

                  This study aims to investigate problems, obstacles, and solutions of solar cell maintenance at a school in remote area. The Ban Pilok Khi Border Patrol Police School is used as case study. The 33 key informants were 5 teachers, 6 staff, 20 students, a person who install solar system at Pilok Khi Border Patrol Police School, and an officer from the Department of Alternative Energy Development in Kanchanaburi. Open-ended structural interview is used and data were analyzed using content analysis from all groups.
Solar energy investment allows people in remote areas access to energy that improves their quality of life. It is recognized as clean and sustainable energy.  However, it requires sufficient maintenance. Inadequate care for solar panels can reduce the amount of energy it can generate. This is why the investigation on problems and obstacles for solar cell maintenance needs to be done. 
                     The results showed that solar system of the school contains defected parts which is caused by both too long usage times and mismanagement of the system. Inverter is reported as out of order most frequency due to the lightning which often occurs. Batteries and solar panels are also damaged sometimes.  Weather patterns and high volume of dust are main problem as it causes the system cannot work properly. The school staff do not arm with proper knowledge in maintenance the system.  They do not aware on the importance of maintenance system. Thus many parts of the system including solar panels are left with dust. It would be better if they clean the system, particularly the panel, every two weeks.  However, it is understandable that the school have limited numbers of staff and they all are full with routine assignments. They lie the maintenance responsibility on the shoulders on the installers.  
                     To solve the problems, training course about solar system maintenance should be provided to the school’s staff. And they must provide a compact and comprehensive solar system maintenance schedule for help everybody can understand in the solar system maintenance. Then should be set a group of teachers and students for take care of the system in each building, it can improve their skills about solar system maintenance. For example, cleaning the solar panel every two months, cleaning the other part every 1 month. Finally, the leader should cultivate consciousness with all teachers and students, feeling ownership and willing to cooperate in the maintenance of solar cells.
 
 

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
Full Text Full Text.pdf 5.12 MiB 4,575 8 มิ.ย. 2564 เวลา 07:42 น. ดาวน์โหลด