โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การอยู่ร่วมกันของเยาวชนสตรีกลุ่มชาติพันธุ์ ศูนย์พัฒนาศักยภาพเยาวชนสตรีแกนนำบนพื้นที่สูง วัดวิเวกวนาราม จังหวัดเชียงใหม่
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษA Coexistence of Ethnic Women Youths, Centre of Hill tribe Young Women Leader’s Potential Development, Wat Vivekawanaram, Chiang Mai Province
  • ผู้วิจัยนายบัณฑิต ศรีสมาน
  • ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.อุบลวรรณา ภวกานันท์
  • ที่ปรึกษา 2พระสุธีรัตนบัณฑิต, รศ. ดร.
  • วันสำเร็จการศึกษา01/10/2562
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:บัณฑิตวิทยาลัย
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาการพัฒนาสังคม
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/557
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 323
  • จำนวนผู้เข้าชม 247

บทคัดย่อภาษาไทย


 การวิจัยครั้งนนี้ โดยมีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ 1) เพื่อศึกษากระบวนการอยู่ร่วมกันของเยาวชนสตรีกลุ่มชาติพันธุ์ ศูนย์พัฒนาศักยภาพเยาวชนสตรีแกนนำบนพื้นที่สูง วัดวิเวกวนาราม จังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยเอื้อในการอยู่ร่วมกันของเยาวชนสตรีกลุ่มชาติพันธุ์ ศูนย์พัฒนาศักยภาพเยาวชนสตรีแกนนำบนพื้นที่สูง วัดวิเวกวนาราม จังหวัดเชียงใหม่ 3) เพื่อศึกษาแนวทางในการแก้ไขปัญหาในการอยู่ร่วมกันของเยาวชนสตรีกลุ่มชาติพันธุ์ ศูนย์พัฒนาศักยภาพเยาวชนสตรีแกนนำบนพื้นที่สูง วัดวิเวกวนาราม จังหวัดเชียงใหม่ โดยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ตามความมุ่งหมายของการวิจัยมีการนำเสนอ การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) จำนวน 19 คน ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาศักยภาพเยาวชนสตรีแกนนำบนพื้นที่สูง จำนวน 1 คน ครูผู้สอน จำนวน 2 คน เยาวชนสตรี จำนวน 16 คน 

ผลการศึกษาพบว่า

1. กระบวนการอยู่ร่วมกันของเยาวชนสตรีกลุ่มชาติพันธุ์ ศูนย์พัฒนาศักยภาพเยาวชนสตรีแกนนำบนพื้นที่สูง วัดวิเวกวนาราม จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า กระบวนการอยู่ร่วมกัน ที่ทำให้การดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพมีทั้งหมดอยู่ 5 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านการสร้างความสามัคคี เกิดจากการทำกิจกรรมร่วมกันภายในศูนย์ฯ 2) ด้านการสร้างความไว้เนื้อเชื้อใจ เกิดจากการทำกิจกรรมร่วมกันภายในศูนย์ฯ จนเกิดความเชื่อใจซึ่งกันและกัน 3) ด้านการสร้างความพึงพอใจร่วมกัน เกิดจากทำกิจกรรมร่วมกันจนเกิดความคุ้นเคยกัน 4) ด้านการสร้างมิตรไมตรีต่อกันกัน เกิดจาการพูดคุยกันและทำกิจกรรมร่วมกันเชื่อมโยงให้เกิดมิตรไมตรี 5) ด้านการอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข เกิดจากรู้จักเอื้อเฟื้อซึ่งกันและกัน จริงใจและซื้อสัตย์ต่อกัน กระบวนการในการอยู่ร่วมกันของเยาวชนสตรีกลุ่มชาติพันธุ์ สามารถทำให้เยาวชนสตรีที่มีความแตกต่างทางชาติพันธุ์ วัฒนธรรมความเชื่อ วิถีชีวิต อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข เกิดความปรองดองในหมู่คณะ โดยมีบุคลากรในการดูแลไม่กี่ท่าน 

2. ปัจจัยเอื้อในการอยู่ร่วมกันของเยาวชนสตรีกลุ่มชาติพันธุ์ ศูนย์พัฒนาศักยภาพเยาวชนสตรีแกนนำบนพื้นที่สูง วัดวิเวกวนาราม จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า ปัจจัยเอื้อในการอยู่ร่วมกัน ที่ทำให้การดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพมีทั้งหมดอยู่ 4 ด้าน 1) ด้านการสร้างปัจจัยในตัวบุคคล เกิดจากการปลูกฝังให้เยาวชนสตรีรู้จักมีเป้าหมายของตนเอง 2) ด้านการสร้างปัจจัยสภาพแวดล้อม เกิดจากการรู้จักปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยและเพื่อนต่างชนเผ่า 3) ด้านการสร้างปัจจัยผลักดันจากบุคคลอื่น ปลูกฝังให้เยาวชนสตรีมีเป้าหมายและมีรุ่นพี่เป็นแบบอย่างความสำเร็จ 4) ปัจจัยองค์กร ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพ  ปัจจัยเอื้อในการอยู่ร่วมกันของเยาวชนสตรีกลุ่มชาติพันธุ์ เป็นสิ่งสามารถทำให้เยาวชนสตรีเกิดแรงบันดาลใจที่ต้องการจะประสบความสำเร็จ ดึงศักยภาพที่ในตัวเองออกมาใช้ให้มีประสิทธิภาพ โดยมีศูนย์ฯ ที่คอยส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพ

3. แนวทางในการแก้ไขปัญหาในการอยู่ร่วมกันของเยาวชนสตรีกลุ่มชาติพันธุ์ แบ่งเป็น 2 ระดับ 1) ระดับตนเอง 2) ระดับองค์กร พบว่า ระดับตนเองก็มีการปฏิบัติกับเยาวชนอยู่กันแบบครอบครัว เยาวชนกล้าที่จะมาปรึกษาและกล้าที่จะพูดความจริงของปัญหาสามารถที่จะแก้ได้ตรงจุด เพราะเยาวชนมาจากต่างถิ่นชนเผ่ากันการปฏิบัติในแต่ละชนเผ่าก็จะแตกต่างกันไป การให้ใจเยาวชนถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการแก้ไขปัญหา ระดับองค์กรทางศูนย์ฯ มีกฎระเบียบในการปฏิบัติภายในศูนย์ฯ เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติไปในทิศทางเดียวกัน  

4. องค์ความรู้ใหม่ที่ได้จากการวิจัย ยังพบว่ากระบวนการในการอยู่ร่วมกันของเยาวชนสตรีกลุ่มชาติพันธุ์  ที่ทางศูนย์พัฒนาศักยภาพเยาวชนสตรีแกนนำบนพื้นที่สูงได้ยึดถือเป็นหลักปฏิบัติเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการดำเนินงานภายในศูนย์ฯ มี 4 ด้าน 1) การสร้างกิจกรรม และการสร้างกลุ่มทำงาน เพื่อให้เยาวชนสตรีเกิดความคุ้นเคยซึ่งกันและกัน ไม่ว่าจะเป็นต่างชนเผ่า 2) วิธีการเรียนรู้การอยู่ร่วมกันจากการอยู่ร่วมกันแบบพหุวัฒนธรรม เพื่อให้เยาวชนสตรีรู้จักเรียนรู้ความแตกต่างทางวัฒนธรรม ของเพื่อนต่างชนเผ่า 3) การนำหลักพุทธธรรมมาปรับใช้ในการอยู่ร่วมกัน และการแก้ไขปัญหา เพื่อให้เยาวชนสตรีมีสติ หลักธรรมจะช่วยประสานคนหมู่มากให้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข เป็นเครื่องมือช่วยขจัดความขัดแย้ง 4) ปัจจัยด้านองค์กร ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพ เพื่อให้เยาวชนสตรีมีแรงบานใจในการที่ต้องการพัฒนาตนเอง

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ


The main objectives of this study are: 1) to study the process of coexistence of ethnic women youths, Centre of Hill tribe Young Women Leader’s Potential Development, Wat Vivekawanaram, Chiang Mai Province, 2) to study the factors contributing to the coexistence of ethnic women youths, Centre of Hill tribe Young Women Leader’s Potential Development, Wat Vivekawanaram, Chiang Mai Province, and 3) to develop guidelines for solving problems relating to the coexistence of ethnic women youths, Centre of Hill tribe Young Women Leader’s Potential Development, Wat Vivekawanaram, Chiang Mai Province. In this research, the qualitative data were analyzed according to its objectives of the given research where the qualitative research method was employed through data gained from 19 Key Informants, a director of the centre, two instructors, and 16 ethnic women youths.

The research findings were found as follows:

1. In the process of coexistence of ethnic women youths, Centre of Hill tribe Young Women Leader’s Potential Development, Wat Vivekawanaram, Chiang Mai Province, it was found that five effective processes relating to such coexistence were considerably found: 1) harmony derived from various co-activities in the centre, 2) reliability gained from various co-activities leading to the strong reliability, 3) the satisfactoriness gained from familiarization based on assigned activities, 4) friendship gained from communication and activities, and 5) happy living together where mutual support and honesty are harmoniously observed. In this respect, the process of a happy coexistence of ethnic women youths could be actualized by a few guardians in spite of their differences in terms of ethnicity, culture, belief and ways of life.

2. In the factors contributing to coexistence of ethnic women youths, Centre of Hill tribe Young Women Leader’s Potential Development, Wat Vivekawanaram, Chiang Mai Province, it showed that the factors being conducive to such coexistence were made through four effective factors: 1)  the creation of a personal factor where the ethnic women youths’ self realization could be made, 2) The environmental factor where the adaptation of oneself with such environment could be done while living with different tribes, 3) the stimulant factor caused by others where the goal and role model could be positively cultivated by the ethnic women youths, and 4) the organizational support and development on the quality where the coexistence of the ethnic women youths could be made through the availability of stimulation. By these factors, they come to realize their potentiality and thereby utilizing such effectiveness by the help of the centre in terms of certain support and development of quality.

3. Regarding to the guidelines for solving the problems of coexistence of ethnic women youths, two levels of guidelines were proposed: 1) Individual level and 2) the organizational level. It showed that the first needs certain practices with youths as their family where they honestly dare to have a consultation with the guardians then the existing problems could be completely solved; since they have different background then understanding them is necessary, the second needs certain regulations where the same direction could be created.

4. For the new body of knowledge obtained from the research is concerned, it is found that the process of coexistence of ethnic women youths supported and created by the centre where the effectiveness of the project is expected necessitated four factors: 1) it should have certain activities and job-creation so that they are familiarized despite of different tribes, 2) it should have certain methods in learning for living together in plural society where the different cultures of other tribes could be studied, 3) the application of Buddhist teachings should be introduced to and used to solve whatever problem the centre could encounter. Based on thes, they could become mindful and live together happily without any violence, and 4) the support and development of quality of life of ethnic women youths should be consistently done through the organizational factor where they could be inspired to have a constant development of themselves.
 

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ