โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การพัฒนาวัดเพื่อเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ของชุมชนในจังหวัดชลบุรี
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษMonastery Development for Community Learning Centers in Cholburi Province
  • ผู้วิจัยพระครูปลัดสราวุธ ฐิตปญฺโญ
  • ที่ปรึกษา 1พระมหากฤษฎา กิตฺติโสภโณ, ดร.
  • ที่ปรึกษา 2รองศาสตราจารย์ ดร.สุรพล สุยะพรหม
  • วันสำเร็จการศึกษา31/03/2017
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:คณะสังคมศาสตร์
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
  • ระดับปริญญาปริญญาเอก
  • สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/56
  • ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 322
  • จำนวนผู้เข้าชม 847

บทคัดย่อภาษาไทย

การวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบในการพัฒนาวัดเพื่อเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ของชุมชน 2) ศึกษาสภาพทั่วไปในการพัฒนาวัดเพื่อเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ของชุมชนในจังหวัดชลบุรี 3) นำเสนอรูปแบบการพัฒนาวัดเพื่อเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ของชุมชนในจังหวัดชลบุรี
ระเบียบวิธีวิจัยเป็นแบบผสานวิธี ระหว่างวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ จากการวิเคราะห์เอกสาร และการสัมภาษณ์เชิงลึก จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ  จำนวน  20  รูปหรือคน  วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงอรรถาธิบายและพรรณนาความ  แล้วจึงสร้างรูปแบบเบื้องต้น ก่อนนำเสนอผู้เชี่ยวชาญจำนวน 12 รูปหรือคน ยืนยันรูปแบบอีกครั้งหนึ่งในการสนทนากลุ่มเฉพาะ และวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.981  จำนวน  371  ชุด กับกลุ่มตัวอย่างคือพระสงฆ์จังหวัดชลบุรี ซึ่งใช้วิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิ  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์ด้วยคอมพิวเตอร์  สถิติที่ใช้คือค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 
ผลการวิจัยพบว่า 
1. องค์ประกอบในการพัฒนาวัดเพื่อเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ของชุมชน พบว่า มี 6 องค์ประกอบ คือ (1) เป็นศูนย์การเรียนรู้ชุมชนซึ่งสนับสนุนการศึกษาตลอดชีวิตของบุคคลในชุมชน โดยการจัดการเรียนรู้และจัดกิจกรรมที่มีความยืดหยุ่นตามความต้องการของประชาชน (2) มีกิจกรรมที่นำไปสู่กระบวนการคิดเพื่อการแกไขปัญหา โดยการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมและสนับสนุนให้ชุมชนสามารถแกไขปัญหาความขัดแย้งและความเดือดร้อนโดยการเรียนรู้และร่วมกันแสวงหาคำ็ตอบของปัญหาที่เกิดขึ้น (3) มีการให้บริการที่ส่งเสริมและพัฒนาการเรียนรู้สารสนเทศให้แก่ประชาชน โดยการจัดกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมและพัฒนาการรูสารสนเทศให้แกประชาชนที่มารับบริการ (4) เป็นแหล่งการเรียนรู้เกี่ยวกับศิลปะจารีตประเพณีวัฒนธรรมและภูมิปัญญาของชุมชน โดยการจัดศูนย์การเรียนรู้ชุมชนที่มีเอกลักษณ์ประจำ็ท้องถิ่น (5) เป็นศูนย์การเรียนรู้ชุมชนที่มีความรื่นรมย์ โดยปรับภูมิทัศน์ให้สัปปายะ (6) เป็นเครือข่ายแห่งการเรียนรู้และศูนย์การเรียนรู้เสมือนจริง โดยจัดศูนย์การเรียนรู้ชุมชนที่ส่งเสริมเครือข่ายแห่งการเรียนรู้และพัฒนาเป็นศูนย์การเรียนรู้เสมือนจริงโดยใช้เทคโนโลยีดิจิตอล โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ารับบริการสืบค้นสารสนเทศโดยผ่านเครือ ข่ายอินเตอรเน็ต
2. สภาพทั่วไปในการพัฒนาวัดเพื่อเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ของชุมชนในจังหวัดชลบุรี พบว่า ในการบริหารจัดการวัด เจ้าอาวาสถือว่ามีบทบาทสำคัญในการพัฒนาวัด จะเห็นได้ว่าในปัจจุบันนั้นงานด้านต่างๆ ของคณะสงฆ์ประกอบด้วย งานด้านการปกครอง งานด้านการศาสนศึกษา งานด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนา งานด้านการสาธารณูปการ งานด้านการศึกษาสงเคราะห์ และงานด้านการสาธารณสงเคราะห์  เป็นต้น  เป็นงานที่เจ้าอาวาสทุกรูปจะต้องปฏิบัติ หรือส่งเสริมงานทุกด้านให้ประสบผลสำเร็จมีผลงานเป็นที่ประจักษ์สู่สาธารณชน ผลที่ได้จากการพัฒนาดังกล่าวก็จะเกิดประโยชน์ทั้งคณะสงฆ์ และประชาชนในชุมชนอย่างแท้จริง จากการสำรวจพบว่า พระสงฆ์ในจังหวัดชลบุรี มีความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการวัดในจังหวัดชลบุรี  6 ด้าน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.54 และเมื่อพิจารณาเป็นด้าน พบว่า ด้านการปกครอง ด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนา และด้านการสาธารณูปการ อยู่ในระดับมาก ส่วนด้านอื่น ๆ อยู่ในระดับปานกลาง
3. รูปแบบการพัฒนาวัดเพื่อเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ของชุมชนในจังหวัดชลบุรี ประกอบด้วย 6 รูปแบบ คือ รูปแบบที่ 1 ศูนย์ศึกษาตลอดชีวิต ได้แก่ ส่งเสริมให้พระภิกษุสามเณรมีการศึกษาที่สูง ส่งเสริมให้พระภิกษุสามเณรมีความประพฤติที่ดีงาม ส่งเสริมให้ปราชญ์ชาวบ้านได้แสดงศักยภาพ ส่งเสริมให้ปราชญ์ชาวบ้านมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน รูปแบบที่ 2 ศูนย์กิจกรรมสร้างเสริมปัญญา ได้แก่ ส่งเสริมให้พระภิกษุสามเณรและประชาชนพัฒนาตนเองตลอดเวลา พัฒนาตนเองตามหลักศีล สมาธิ และปัญญา จัดตั้งสำนักปฏิบัติธรรม จัดอบรมปฏิบัติธรรมสม่ำเสมอ ฝึกฝนตนเองเป็นประจำ อบรมจิตให้สงบ รูปแบบที่ 3 ศูนย์บริการสารสนเทศ ได้แก่ พัฒนาสื่อด้านพระพุทธศาสนาและชุมชนออกเผยแผ่ อบรมพระภิกษุสามเณรและประชาชนในการใช้สื่อที่ถูกต้อง นำองค์ความรู้ด้านพระพุทธศาสนาและองค์ความรู้ในชุมชนออกเผยแผ่ในรูปแบบที่หลากหลาย  รูปแบบที่ 4 ศูนย์เรียนรู้ศิลปวัฒนธรรม ได้แก่ ส่งเสริมให้พระภิกษุสามเณรและประชาชนเข้าใจและร่วมสืบสานศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น จัดกิจกรรมสืบสานศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น ร่วมกิจกรรมด้านพระพุทธศาสนา จัดกิจกรรมวันสำคัญทางด้านพระพุทธศาสนาเป็นประจำสม่ำเสมอ รูปแบบที่ 5 ศูนย์พัฒนาชีวิตจิตใจ ได้แก่ จัดห้องสมุดชุมชนภายในวัด รวบรวมหนังสือเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาและชุมชน จัดมุมอ่านหนังสือ / ห้องสมุดเคลื่อนที่ จัดพิพิธภัณฑ์ที่สะท้อนวิถีชีวิตของชุมชน รวบรวมสิ่งที่มีค่าของชุมชน อนุรักษ์/รักษาวิถีชีวิตของชุมชน รูปแบบที่ 6 พัฒนาเครือข่ายศูนย์กลางการเรียนรู้ในชุมชน ได้แก่ วัด ชุมชน ชาวบ้าน และหน่วยงานราชการประสานงานกันจัดแหล่งการเรียนรู้ภายในวัด ชุมชน วัด ชาวบ้าน และหน่วยงานราชการประสานงานกันจัดแหล่งการเรียนรู้ในชุมชน

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

Objectives of this research were to; 1. Study the components of monastery development for community learning center, 2. Study general conditions of monastery development for community learning centers in Cholburi Province and 3. Propose  models to develop monasteries for community learning centers in Cholburi Province
Methodology was the mixed methods. The qualitative method collected data from document and in-depth-interviewing 20 key informants and analyzed data by content analysis and descriptive interpretation and then used the findings to form a basic model for monastery development and then submitted the basic model to 12 participants in focus group discussion to confirm the model. The quantitative method collected data from stratified 371 samples who were monks in Cholburi Province by using questionnaires with reliability score at 0.981, analyzed data with descriptive statistics; frequency, percentile, mean and standard deviation.
Findings were as follows:
1. Components of monastery development for community learning center were 1) community learning center supporting lifelong and flexible education in ;line with people’s needs, 2) activities leading to critical and systematic thinking for problem solving, promoting community with activities for joint learning and thinking together to solve any conflicts occurring in the community, 3) services promoting information learning for people who came for the services,  4) center for tradition, culture and folk wisdom learning and community identity, 5) community learning center that is pleasant with green, clean and comfortable environment, 6) virtual learning network by promoting virtual community learning center with digital technology, opening opportunity for people to access information through internet.
2. General conditions of monastery development for community learning center in Cholburi Province were that abbots had big roles in monastery administration in all areas; administration, religion education, Buddhism propagation, construction and renovation, education promotion and public welfares. The abbots must perform these duties to the fullest effectiveness for the benefits of Sangha Oder as well as laity and people in the community. The survey indicated that  monks in Cholburi Province had opinions towards the six areas of Sangha administration at high level with the mean of 3.44. Classifying by each areas; the administration, Buddhism propagation and construction and renovation were at high level and another areas were at average level.
3. Models for monastery development for community learning center in Cholburi Province consisted of 6 models; Model 1: community wisdom center promoting novices and monks to have high education with good conduct, promoting villager wise men to share their tacit knowledge in community development. Model 2: problem solving activities by promoting novices and monks and people for self development according to Sila, Samadhi and Panya  principles. Dhamma practice center should be set up for morality training so that people will have chances to train themselves regularly for the peace of minds. Model 3: technological learning center for supporting Buddhist media publication, for training monks and laity to use the proper media and Buddhism knowledge dissemination through various media. Model 4: art and culture learning center promoting monks and lay people to understand, appreciate and publicize local art and culture. Local art and culture as well as Buddhism promotion activities should be set up regularly, especially on the important days in Buddhism. Model 5: folk way learning center by setting up community libraries in monasteries with Buddhism-based knowledge textbooks, mobile libraries, local folk wisdom museum to collect and display the valueless property of the community. Model 6: learning center network connecting monasteries, communities, villagers and government agencies to form community learning centers in monasteries. 

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
Full Text Full Text.pdf 7.35 MiB 322 18 ก.พ. 2564 เวลา 17:28 น. ดาวน์โหลด