-
ชื่อเรื่องภาษาไทยผลของโปรแกรมการดูแลสุขภาพผู้ป่วยด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ตามแนวพุทธจิตวิทยา
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษAn Effect of Buddhist Psychology-based Humanized Healthcare Program
- ผู้วิจัยนางสาวนิศากร บุญอาจ
- ที่ปรึกษา 1รศ.ดร.สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต
- ที่ปรึกษา 2ผศ.ดร.สิริวัฒน์ ศรีเครือดง
- วันสำเร็จการศึกษา02/03/2019
- ส่วนงานจัดการศึกษา:บัณฑิตวิทยาลัย
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
- ระดับปริญญาปริญญาเอก
- สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/562
- ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 236
- จำนวนผู้เข้าชม 564
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยเรื่อง “ผลของโปรแกรมการดูแลสุขภาพผู้ป่วยด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ตามแนวพุทธจิตวิทยา” มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและวิเคราะห์แนวคิดการดูแลสุขภาพผู้ป่วยด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ 2) สังเคราะห์หลักพุทธธรรมและจิตวิทยาบูรณาการการดูแลผู้ป่วยด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ 3) นำเสนอโปรแกรมการดูแลสุขภาพผู้ป่วยด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ตามแนวพุทธจิตวิทยา 4) นำเสนอผลของโปรแกรมการดูแลสุขภาพผู้ป่วยด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ ตามแนวพุทธจิตวิทยา ผู้วิจัยกำหนดรูปแบบวิธีวิจัยออกเป็น 2 ระยะ คือระยะแรก เป็นการดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยเอกสาร และการสัมภาษณ์เชิงลึก เพื่อนำผลการวิจัยเชิงคุณภาพมาใช้เป็นข้อมูลในการพัฒนาโปรแกรมสำหรับใช้ทดลอง ระยะที่สอง เป็นการดำเนินการวิจัยกึ่งทดลอง ผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการสัมภาษณ์เชิงลึก ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 18 รูป/คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองเป็นแบบเจาะจงเลือกจากผู้มารับบริการในคลินิกผู้ป่วยโรคเบาหวาน ของโรงพยาบาลห้วยกระเจาเฉลิมพระ เกียรติ 80 พรรษา จ.กาญจนบุรี ที่สมัครใจเข้าร่วมทดลอง กำหนดตัวอย่างโดยใช้โปรแกรม G*Power ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 74 คน แบ่งเป็น กลุ่มทดลอง 37 คน กลุ่มควบคุม 37 คน โดยทำการวัดผลทั้งก่อนทดลอง และหลังทดลอง โดยใช้แบบวัด DASS21 การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา การวิเคราะห์ตามหลักยืนยันสามเส้า และเทคนิค 6 Cs การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติ ประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน พิสูจน์สมมุติฐานด้วย t-test
ผลการวิจัยมีดังนี้
1. การศึกษาและวิเคราะห์แนวคิดการดูแลสุขภาพผู้ป่วยด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ พบว่า การดูแลผู้ป่วยด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ หมายถึงการที่มนุษย์ดูแลมนุษย์ด้วยกันเองอย่างเข้าใจความเป็นมนุษย์ ด้วย 1) มีแนวคิดการดูแลผู้ป่วยด้วยหัวใจมนุษย์ ประกอบด้วย (1) แนวคิดความเป็นมนุษย์มนุษย์ (Humanism) (2) แนวคิดการดูแลเสมือนญาติ (Kinship) (3) แนวคิดการเข้าใจความทุกข์ (Suffering) ของผู้ป่วย (4) แนวคิดการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม (Holistic) (5) แนวคิดการตระหนักรู้ในตนเอง (Self-awareness) และเข้าใจผู้อื่น (Empathy) และ (๖) แนวคิดมโนธรรม (Conscience) 2) ปัจจัยและองค์ประกอบที่สำคัญในการช่วยดูแลผู้ป่วยให้คลายทุกข์กายทุกข์ใจ ประกอบด้วย (1) ปัจจัยองค์รวม (2) ปัจจัยทางพุทธศาสนา (3) ปัจจัยด้านความรักความเมตตา (4) ปัจจัยผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง (5) ปัจจัยการให้คำปรึกษา และ (6) ปัจจัยด้านความสามารถ และ 3) มีคุณลักษณะของผู้ให้การดูแลผู้ป่วยด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ ประกอบด้วย (1) ผู้มีใจประดุจพรหม (2) ผู้มีความเป็นกัลยาณมิตร (3) ผู้ให้การสงเคราะห์ผู้อื่น (4) ผู้มีความมุ่งมั่น พยายามในงาน (5) ผู้ผู้มีสมาธิและสติในชีวิต และ (6) ผู้มีความคิดดี มีปัญญากำกับ คิดแบบแยบคาย การพัฒนาตนเองจนมีความงอกงามภายใน
2. ผลการสังเคราะห์หลักพุทธธรรมและจิตวิทยาบูรณาการการดูแลผู้ป่วยด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ พบว่า การนำหลักพุทธธรรมมาประยุกต์ใช้ในการแลผู้ป่วยด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ประ กอบด้วย หลักอริยสัจ 4 หลักสมาธิ สติ ปัญญา และที่สำคัญหลักพรหมวิหารธรรม 4 ไปพัฒนาทักษะการดูแลสุขภาพผู้ป่วยอย่างมีสติ รู้ตัวตลอดเวลาและสามารถจัดการกับความทุกข์ได้ ร่วมกับทฤษฎีให้คำปรึกษาที่ให้ผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง (Client-centered) ของ Carl Rogers กลุ่มแนวคิดมนุษย์นิยม ที่เห็นความสำคัญในคุณค่า (Worth) และศักดิ์ศรี (Dignity) ของมนุษย์
3. การพัฒนาโปรแกรมการดูแลสุขภาพผู้ป่วยด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ตามแนวพุทธจิตวิท ยา พบว่า มีชุดกิจกรรม จำนวน 11 กิจกรรม คือ 1) รู้จักทักทาย 2) เห็นคุณค่าในตน 3) หัวใจแห่งความสงบ 4) หัวใจแห่งสติ 5) หัวใจแห่งการปล่อยวางความรู้สึก 6) หัวใจแห่งการปล่อยวางความคิด 7) การสื่อสารด้วยหัวใจ 8) หัวใจแห่งสัมพันธภาพ 9) หัวใจแห่งความเมตตาและให้อภัย 10) เรื่องเล่าจากหัว ใจ และ 11) ก้าวต่อไปด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ ใช้กระบวนการให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม ใช้ระยะเวลาในการทดลอง จำนวน 8 สับดาห์ๆ 1 ครั้งๆ ละ 2 ชั่วโมง รวม 8 ครั้ง
4. ผลของโปรแกรมพุทธจิตวิทยาการดูแลสุขภาพผู้ป่วยด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ตามแนวพุทธจิตวิทยา พบว่า
1) ผู้ป่วยโรคเบาหวานกลุ่มทดลองที่เข้าร่วมโปรแกรมการดูแลสุขภาพผู้ป่วยด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ตามแนวพุทธจิตวิทยามีระดับความซึมเศร้า ความวิตกกังวลและความเครียดหลังเข้าร่วมกิจกรรมต่ำกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01
1) ผู้ป่วยโรคเบาหวานกลุ่มทดลองที่เข้าร่วมโปรแกรมการดูแลสุขภาพผู้ป่วยด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ตามแนวพุทธจิตวิทยามีระดับความซึมเศร้า ความวิตกกังวลและความเครียดหลังเข้าร่วมกิจกรรมต่ำกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01
2) ผู้ป่วยโรคเบาหวานกลุ่มทดลองที่เข้าร่วมโปรแกรมการดูแลสุขภาพผู้ป่วยด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ตามแนวพุทธจิตวิทยามีระดับความซึมเศร้า ความวิตกกังวลและความเครียดหลังเข้าร่วมกิจกรรมต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The study entitled “An Effect of Buddhist Psychology-based Humanized Healthcare Program” aimed 1) to study and analyze concepts of the Humanized Healthcare; 2) to synthesize the Buddhadhamma and Psychological principles integrated for the Humanized Healthcare; 3) to propose the Buddhist Psychology-based Humanized Healthcare Program; and 4) to present an effect of the Buddhist Psychology-based Humanized Healthcare Program. The research designs were divided into two steps: Firstly, it was a qualitative research studying documents and in-depth interview for developing the experimental program; and secondly, it was a quasi-experimental research. Key informants included 18 specialists/technicians. The sample for an experiment was selected by a purposive sampling method from diabetes patients of Huai Krachao Community Hospital Commemorating His Majesty the King’s 80th Birthday Anniversary at Kanchanaburi province by G*Power program having got 74 samples divided into the experimental group and control group 37 each, operating pre-test and post-test measurements by DASS21. A content analysis, triangulation analysis and the 6Cs technique were used for analysing qualitative data. For the analysis of quantitative data statistics including Percentage, Mean, Standard Deviation (S.D.) was used and hypotheses of the study were proved by t-test.
Results of the study were as follows:
1. From a study and analysis of concepts of the Humanized Healthcare it revealed that the Humanized Healthcare referred to that human beings looked after human beings with the understanding of humanism based on 1) the concepts of which included (1) humanism, (2) kinship, (3) suffering of patients, (4) holistic healthcare,(5) self-awareness and empathy, and (6) conscience; 2) Important factors and elements in the Humanized Healthcare to get rid of physical and mental sufferings included (1) Holistic healthcare, (2) Buddhism,(3) Compassion, (4) Client-centered, (5) Counseling, and (6) Competence; and 3) qualities of healthcare takers of patients with the hear of humanism included (1) Good heart, (2) Good friend, (3) Good almoner, (4) Good effort, (5) Good concentration and mindfulness, and (6) Good wisdom to control a systematic thinking and internal self-development.
2. Regarding effects of the synthesis of Buddhadhamma and psychological principles integrated for the Humanized Healthcare it found that an application of Buddhadhamma for the Humanized Healthcare included the Four Noble Truths, Mindfulness, Wisdom and basically Sublime states of mind applied for developing the skill of patient healthcare with full awareness and resourcefulness and Client-centered counseling theory of Carl Rogers emphasizing the worth and dignity of human beings.
3. From the developing of the Buddhist Psychology-based Humanized Healthcare Program it found that the set of 11 activities comprised 1) Greeting, 2) self-esteem, 3) heart of peace, 4) heart of mindfulness, 5) heart of detachment of feelings, 6) heart of freedom form thinking, 7) communication by heart, 8) heart of friendship, 9) heart of loving-kindness and forgiveness, 10) story from heart, and 11) Move forward with the heart of humanism, the group counseling process of which had taken for 8 weeks of experiment 2 hours each that was totally 8 times.
4. Regarding an effect Buddhist Psychology-based Humanized Healthcare Program it found as follows:
1) The degree of depression, anxiety and stress of the experimental group of diabetes patients participated in this program after participation in activities was significantly lower than before participation in at .01.
2) The degree of depression, anxiety and stress of the experimental group of diabetes patients participated in this program after participation in activities was significantly lower than that of the control group at .01.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
Full Text | Full Text.pdf | 11.81 MiB | 236 | 8 มิ.ย. 2564 เวลา 17:30 น. | ดาวน์โหลด |