โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    รูปแบบสมรรถนะพระวิปัสสนาจารย์แนวพุทธจิตวิทยา
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษA Competency Model of Insight Meditation Masters Based on Buddhist Psychology
  • ผู้วิจัยพระครูปลัดสัมพิพัฒนธรรมาจารย์ (นิรันดร์ ศิริรัตน์)
  • ที่ปรึกษา 1ผศ.ดร.สิริวัฒน์ ศรีเครือดง
  • ที่ปรึกษา 2รศ.ดร.เมธาวี อุดมธรรมานุภาพ
  • วันสำเร็จการศึกษา15/03/2019
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:บัณฑิตวิทยาลัย
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
  • ระดับปริญญาปริญญาเอก
  • สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/563
  • ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 198
  • จำนวนผู้เข้าชม 533

บทคัดย่อภาษาไทย

ดุษฎีนิพนธ์เรื่องรูปแบบสมรรถนะพระวิปัสสนาจารย์แนวพุทธจิตวิทยานี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ (1) เพื่อวิเคราะห์สมรรถนะพระวิปัสสนาจารย์แนวพุทธจิตวิทยา (2) เพื่อสร้างรูปแบบสมรรถนะพระวิปัสสนาจารย์แนวพุทธจิตวิทยา และ (3) เพื่อสังเคราะห์และนำเสนอรูปแบบสมรรถนะพระวิปัสสนาจารย์แนวพุทธจิตวิทยา การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการวิจัยจากเอกสาร (Document Research) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิค 6’Cs ลงภาคสนามโดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (Individual depth interview) พระวิปัสสนาจารย์  ผู้ปฏิบัติธรรมประจำสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัด พร้อมกับผู้เชี่ยวชาญด้านสมรรถนะพระวิปัสสนาจารย์จำนวน 17 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการยืนยันสามเส้า จากนั้นนำร่างรูปแบบสมรรถนะพระวิปัสสนาจารย์ที่ได้ไปสนทนากลุ่มย่อย (Focus group) จากผู้เชี่ยวชาญทางด้านพระวิปัสสนาจารย์ นักวิชาการ นักจิตวิทยาและผู้ปฏิบัติธรรม จำนวน 12 รูป/คน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิค (Logical Matrix) แล้วสังเคราะห์เพื่อสร้างรูปแบบสมรรถนะพระวิปัสสนาจารย์แนวพุทธจิตวิทยา นำไปให้ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน ได้ประเมินตรวจสอบความเหมาะสม

                     ผลการวิจัย สรุปดังนี้                                                                                                                               

                    1. สมรรถนะพระวิปัสสนาจารย์แนวพุทธจิตวิทยา ที่อยู่ในหลักกัลยาณมิตร 7 ประการ ซึ่งเป็นคุณลักษณะส่วนบุคคลที่แสดงออกทางพฤติกรรมแล้วมีผลต่อความสำเร็จของงาน  จากการศึกษาวิจัย พบว่า สมรรถนะพระวิปัสสนาจารย์แนวพุทธจิตวิทยาประกอบด้วย 5 สมรรถนะ คือ 1) ความรู้ พระวิปัสสนาจารย์ต้องมีความรู้ในการสอนปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานทั้งระบบ 2) สมรรถนะ พระวิปัสสนาจารย์ต้องรู้จักใช้กุศโลบายในการสอน 3) พระวิปัสสนาจารย์ต้องมีศีลที่บริสุทธิ์ มีความรอบรู้ 4) พระวิปัสส นาจารย์ต้องมีคุณลักษณะด้านบุคลิกภาพที่ดี และ 5) สมรรถนะด้านแรงจูงใจ พระวิปัสสนาจารย์ควรมีแรงจูงใจในการสอน 

 2. สมรรถนะครูแนวจิตวิทยา คือสมรรถนะประจำสายงานครู พบว่าประกอบด้วย 3 สมรรถนะ คือ 1) ครูต้องมีความมุ่งมั่นในการปฏิบัติงานเพื่อมุ่งสู่ผลสัมฤทธิ์ มีความตั้งใจและเต็มใจให้บริการความรู้ พัฒนาตนเองอยู่เสมอ ทำงานเป็นทีมได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2) ครูต้องสามารถออกแบบการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียนเพื่อการพัฒนาผู้เรียน บริหารจัดการห้องเรียนให้เอื้อต่อการเรียนรู้ และ 3) ครูผู้ชำนาญการสอนต้องมีการอธิบายพร้อมสาธิตการเรียนรู้ ครูที่ปรึกษาคอยสังเกต สอบถาม ให้กำลังใจผู้เรียนเสมอ

 3.การสร้างรูปแบบสมรรถนะพระวิปัสสนาจารย์แนวพุทธจิตวิทยา โดยนำผลการวิเคราะห์เนื้อหาจากพระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา เอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับสาระสำคัญของสมรรถนะพระวิปัสสนาจารย์แนวพุทธจิตวิทยา และแนวคิดทฤษฎีสมรรถนะทางจิตวิทยา พร้อมผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสมรรถนะพระวิปัสสนาจารย์ พร้อมกับพระวิปัสสนาจารย์และผู้ปฏิบัติธรรม จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาสนทนากลุ่มจากผู้เชี่ยวชาญ จึงนำมาสังเคราะห์สร้างเป็นรูปแบบสมรรถนะพระวิปัสสนาจารย์แนวพุทธจิตวิทยา

 4. รูปแบบสมรรถนะพระวิปัสสนาจารย์แนวพุทธจิตวิทยา มี 9 องค์ประกอบ คือ 1) พระวิปัสสนาจารย์ต้องมีความรู้แตกฉานทั้งหลักการ ขั้นตอนและวิธีการปฏิบัติ ใส่ใจในกระบวนการเรียนการสอนด้วยจิตเมตตา ปรารถนาให้พ้นทุกข์ และปรับปรุงกระบวนการเรียนการสอนของตนเองเพื่อพัฒนา  ผู้ปฏิบัติธรรมให้มุ่งไปสู่มรรคผลพระนิพพานได้ 2) พระวิปัสสนาจารย์ต้องคอยกำกับดูแลช่วยเหลือหรือแนะ นำผู้ปฏิบัติธรรมตลอดระยะเวลาของการปฏิบัติธรรม  3) พระวิปัสสนาจารย์ต้องเพิ่มเติมความรู้ด้วยการศึกษาหาความรู้ ฝึกฝนการปฏิบัติธรรมทุกครั้งที่มีโอกาส สอนธรรมนำปฏิบัติสั่งสมประสบการณ์ 4) พระวิปัสสนาจารย์ต้องมีการแบ่งภาระงานให้กับทีมงานสอน โดยจัดให้เหมาะสมกับระดับสติปัญญา ความสามารถของแต่ละบุคคล มีการประชุมปรึกษาหารือกันเป็นประจำ 5) พระวิปัสสนาจารย์ต้องออกแบบการเรียนรู้พร้อมทั้งสามารถในการวัดผลประเมินผลในการปฏิบัติวิปัสสนาให้สอดคล้องกับการพัฒนาสติปัญญาของผู้ปฏิบัติธรรม 6) พระวิปัสสนาจารย์ต้องตรวจสอบการพัฒนาการของผู้ปฏิบัติธรรมโดยการสัง เกตพฤติกรรมต่างๆ 7) พระวิปัสสนาจารย์ต้องมีการจัดการบริหารห้องปฏิบัติธรรมให้มีความเป็นสัปปายะกับการปฏิบัติ มีความสะอาด มีความสงบ 8) พระวิปัสสนาจารย์ต้องอธิบายวิธีการปฏิบัติวิปัสสนาพร้อมกับสาธิตการปฏิบัติตามขั้นตอนต่างๆ ให้เข้าใจในกระบวนการปฏิบัติวิปัสสนา และ 9) พระวิปัสสนาจารย์ต้องมีการวัดผลประเมินผล และแนะนำผลของการปฏิบัตินำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

อย่างไรตาม รูปแบบสมรรถนะพระวิปัสสนาจารย์แนวพุทธจิตวิทยาสามารถประยุกต์ใช้ “9  C MODEL” หรือ 3  9  24  ซึ่งมีผลการประเมินความเหมาะสมในระดับมากที่สุด (4.86) ซึ่งถือว่าเป็นรูปแบบที่สามารถให้พระวิปัสสนาจารย์หรือผู้ที่มีความเกี่ยวข้องในกระบวนการเรียนการสอนวิปัสสนากรรมฐานได้นำไปใช้ในการเรียนการสอน จักเป็นประโยชน์ต่อไป

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

                 The study entitled “A  Competency  Model  of  Insight  Meditation  Master  Based on Buddhist  Psychology” consists of three objectives as follows, (1) to analysis the competency of Insight meditation masters based on Buddhist  psychology;  (2) to create the competency models   of Insight meditation masters based on Buddhist psychology; and (3) to synthesize and present the competency models of Insight meditation masters based on Buddhist psychology. This qualitative study had collected information by using Document Research and In-depth interview with 6’Cs Technique from 17 key informants, in addition with 12 specialists by using group discussion. Afterward, all collecting information were synthesized and analyzed by Logical Matrix Technique to deliver the competency models of Insight meditation masters based on Buddhist psychology, subsequently, appropriately assessed by 5 specialists. 

                 The following are the study results,

                 1. The competency of insight meditation masters  based on  Buddhist  psychology; consists of 5 components, namely : 1) the Insight Meditation Master  should know teaching meditations process 2) the Insight Meditation Master should  be able to use stratagem on teaching meditation 3) the Insight Meditation Master should  have pure conduct and knowledge 4) the Insight Meditation Master should have good characteristics and 5) the Insight Meditation Master  should  have motive on teaching insight meditation. 

                  2. The competency of teachers based on psychology consists of 3 components, namely : 1) the teacher should have  develop oneself continuously and work as team effectively 2) teachers must be able to design learning lessons that appropriate for students and manage classroom facilitated to students’ learning. 3) teacher must be capable to demon street in easy way, deserve, question, and support students.

                 3. The creation of A Model of Competency of Insight Meditation Masters based on Buddhist Psychology using the content analytical results from Tripitaka, commentary, sub-commentaries, documents, and other relevant researches with the core concept of the competency of insight meditation masters based on Buddhist psychology; and also the concept and theory about the competency in psychology, with the analytical results from an in-depth interview of experts in the competency of insight meditation masters, insight meditation masters, and practitioners.  Then, the researcher used data from the focus group to synthesize and create A Model of Competency of Insight Meditation Masters based on Buddhist Psychology.

                 4. The competency model of Insight meditation master based on Buddhist psychology consists of 9 components, namely : 1) the Insight Meditation Master should  know steps and method of practice meditation that teach with kindness, in addition develop ; teaching for leading students to achievement 2) the Insight Meditation Master should be able to take care and help insight meditation practitioners 3) the Insight Meditation Master always should seek for knowledge by reading, practice meditation and teaching 4) the Insight Meditation Master should share the work and mitting everyday 5) the Insight Meditation Master must be able to design learning and evaluation 6) the Insight Meditation Master must be able to examine survey to the meditation practitioners’ development, 7) the Insight Meditation Master should be able to manage the meditation rooms’ development  to make it Peaceful to Meditation practitioners, convenient  and clean  8) the Insight Meditation Master should to be able to teach expertly the method and step of Insight Meditation skillfully to clearly and 9) the Insight Meditation Master should be able to give to counseling and encourage to practitioners.

                  Moreover, the study results also shown that the “9 C MODEL” is the highest appropriate competency model of Insight meditation master based on Buddhist psychology. Therefore,  the “9 C MODEL” or 3 9 24 might be the respected competency model which will be used in the meditation learning process in the future.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
Full Text Full Text.pdf 16.27 MiB 198 8 มิ.ย. 2564 เวลา 17:59 น. ดาวน์โหลด